ศ.คลินิก นพ.ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร – ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
“คุณหมอคะ ที่ศิริราชอนุญาตให้สามีเข้าไปในห้องคลอดด้วยได้ไหมคะ” คําถามทํานองนี้หลายคน คงถูกถามกันมาบ้างไม่มากก็น้อย… “ไม่ได้หรอกครับ” “ไม่มีนโยบายครับ” “อยากให้ทําได้เหมือนกัน แต่คงยากค่ะ” มักเป็นคําตอบที่ให้กับคนไข้ไป แต่พร้อมกันนั้นหลายคนก็ยังมีความคิดในใจเพิ่มเติมอีกว่า… “คงไม่ไหวหรอกมั้ง แค่นี้ก็วุ่นวายมากแล้ว” “ถ้ามีญาติเข้ามาจะโกลาหลขนาดไหนนี่” “มันจะเป็นไปได้เหรอ นึกภาพไม่ออกเลยว่า จะเป็นยังไง” “โรงพยาบาลเราใหญ่และซับซ้อนขนาดนี้ ไม่น่าเป็นไปได้หรอก”
ไม่ว่าจะกี่ปีผ่านไป คําถาม คําตอบ และความคิดเหล่านี้ ก็ยังวนเวียนอยู่กับเราชาวศิริราชมาโดยตลอด…..
องค์การอนามัยโลกได้ให้ความสําคัญกับคุณภาพและ มาตรฐานการให้การดูแลสตรีตั้งครรภ์ตลอดช่วงการตั้งครรภ์ และการคลอดเสมอมา เพื่อสนับสนุนให้เกิดประสบการณ์ที่ดี ต่อการตั้งครรภ์และคลอด รวมทั้งเป็นการสร้างเสริมสุขภาพของมารดาและทารกอีกด้วย หนึ่งในปัจจัยที่สําคัญที่เป็น ส่วนประกอบของการดูแลที่มีคุณภาพนั้น ได้แก่ การมี “เพื่อนผู้คลอด” (Companion of choice during labor) ซึ่งองค์การอนามัยโลกให้ความเห็นว่าการมี “เพื่อนผู้คลอด” นั้น เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของสตรีตั้งครรภ์ทุกคนที่ควรได้รับ โดยสตรี ตั้งครรภ์สามารถเลือกใครก็ได้ที่ไว้วางใจ ไม่ว่าจะเป็น สามี แม่ พี่น้อง หรือเพื่อน เพื่อเป็นเพื่อนในระหว่างการเจ็บครรภ์และ คลอด
ซึ่งจากงานวิจัยและข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ผ่านมาพบว่า การมี “เพื่อนผู้คลอด” สามารถช่วยให้ผลลัพธ์ของการคลอดดีขึ้น ทั้งในมารดาและทารก เช่น ช่วยให้กระบวนการคลอดเป็นไปได้ อย่างราบรื่น ลดการใช้ยาแก้ปวด ลดความกลัวและวิตกกังวล ลดการผ่าตัดคลอด และเพิ่มความพึงพอใจในการรับบริการ เป็นต้น
และในที่สุด ในปี 2566 ศิริราชก็สามารถเริ่มให้บริการในโครงการ “เพื่อนผู้คลอด” ได้แล้ว
แล้วโครงการ “เพื่อนผู้คลอด” เกิดขึ้นได้อย่างไรในโรงพยาบาล ที่เก่าแก่กว่า 135 ปี ใหญ่โตที่สุดในประเทศ และมีระบบการบริการ ที่ซับซ้อนอย่างนี้ คําตอบคือ เกิดได้จากความมุ่งมั่น ความร่วมมือ ของทีมงานจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทีมแพทย์ แพทย์ประจําบ้าน ทีมพยาบาลหน่วยฝากครรภ์ และทีมพยาบาล
ห้องคลอด โดยการสนับสนุนของทีมบริหารของภาควิชาและ งานการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา นั่นเองครับ
เริ่มต้นจากการนําเสนอแนวความคิดเรื่อง “เพื่อนผู้คลอด” ที่ได้จากการทบทวนองค์ความรู้และประสบการณ์ แก่ทีมบริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกันในหลากหลายมิติ มุมมอง และความคิดเห็นรวมทั้งร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้และอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในเบื้องต้นตามบริบทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากนั้นก็มีการดำเนินการประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินการและติดตามความก้าวหน้าอย่างสม่ำเสมอโดยพิจารณาประเด็นที่สําคัญ โดยคํานึงถึงข้อกังวลต่าง ๆ ของแต่ละหน่วยงานเพื่อให้ได้แผนการดําเนินงานที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
เนื่องจากการดำเนินงาน “เพื่อนผู้คลอด” นั้นเป็นเรื่องใหม่ และจะมีความเกี่ยวข้องกับบุคลากร ในหลายระดับเป็นจํานวนมาก จึงได้ดำเนินการให้มีการสื่อสารความสำคัญและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงผ่านทางการประชุมภายในหน่วยงานทีมนําทางคลินิก การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นอย่างกว้างขวางทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากบุคลากรทุกกลุ่มและปรับให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน จากนั้นจึงดําเนินการพัฒนาปรับปรุงแผนการดําเนินงานจนพร้อมลงมือปฏิบัติจริง อย่างไรก็ตาม ทีมงานได้จัดการประชุมชี้แจงกับหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอีกครั้ง เพื่อทําความเข้าใจและปรับปรุงแผนการดําเนินงานให้มีความเหมาะสมมากที่สุดก่อนเริ่มโครงการ นอกจากนั้นยังได้มีการวางแผนเตรียมความพร้อมในเรื่องของการประสานงานและการส่งต่อระหว่างหน่วยงาน และการเก็บข้อมูลและการติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะด้วย
วันที่ 9 มกราคม 2566… วันแรกที่เริ่มเชิญชวนสตรีตั้งครรภ์ แต่ต่อไปนี้ คําตอบจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป… เข้าร่วมโครงการ “เพื่อนผู้คลอด”
ทุกคนรู้สึกแปลกใหม่กับการดําเนินงานดังกล่าว ทั้งบุคลากร สตรีตั้งครรภ์และญาติ แต่ก็เป็นความรู้สึกที่ดีที่เกิดขึ้นกับโครงการนี้ ทีมงานมีความตื่นเต้นและภูมิใจเสมอที่ได้เฝ้าดูจํานวนสตรีตั้งครรภ์ ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ได้เห็นการคลอดโดยมี “เพื่อนผู้คลอด” เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ได้เห็นการพัฒนา การแบ่งปันประสบการณ์และการเรียนรู้ร่วมกันของทีมงานในแต่ละหน่วยงาน ได้เห็นความเข้มแข็งและมุ่งมั่นของทีมที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ได้เห็นความพยายามในการพัฒนาการดําเนินงานให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้เห็นความแปลกใจของโรงพยาบาลอื่นในระดับเดียวกันกับความสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้ และที่น่าชื่นใจที่สุด คือการได้เห็นภาพของครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ เต็มไปด้วยรอยยิ้มทั้งคุณพ่อ คุณแม่ และลูกน้อยที่ผ่านการคลอดอย่างปลอดภัย…
ถึงแม้เรื่องนี้จะไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย ถึงแม้จะไม่ได้เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่ดําเนินการโครงการในลักษณะนี้ ถึงแม้จะยังมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นบ้าง แต่ทุกคนก็ภูมิใจที่สามารถนําเนินการให้เกิดโครงการ “เพื่อนผู้คลอด” ขึ้นได้ ซึ่งช่วยยกระดับการบริการในโรงพยาบาลที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดของประเทศอันเป็นที่รักของเราแห่งนี้ให้ดีขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถนําประสบการณ์ที่เกิดขึ้นไปแลกเปลี่ยน เรียนรู้ แบ่งปันให้กับสถานบริการอื่น ๆ ได้อีกด้วย และทุกคนมีความหวังร่วมกันว่าจะขยายการดําเนินงานให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของงานประจําในอนาคตได้ตามที่ทีมงานและทีมผู้บริหารตั้งเป้าหมายร่วมกันไว้
“คุณหมอคะ ที่ศิริราชอนุญาตให้สามีเข้าในห้องคลอดด้วยได้ไหมคะ” จากคําถามเติมที่คําตอบไม่เคยเปลี่ยนมาหลายสิบปี…แต่ต่อไปนี้คำตอบจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ หน่วยฝากครรภ์ โรงพยาบาลศิริราช โทร. 02 419 8815, 02 419 7367 ในวันเวลาราชการ