ทำไมจึงจำเป็นต้องลดการผ่าตัดคลอดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
18 พฤศจิกายน 2567
รายการตรงประเด็น โดย ThaiPBS ออกอากาศวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567
วิเคราะห์ประเด็นการผ่าตัดคลอดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ในมุมมองจากบุคลากรทางการแพทย์ และสตรีตั้งครรภ์
ทำไมคุณแม่ชาวญี่ปุ่นนิยมคลอดธรรมชาติมากกว่าผ่าคลอด
26 กันยายน 2567
ทำไมคุณแม่ชาวญี่ปุ่นนิยมคลอดธรรมชาติ
อัตราการผ่าตัดคลอดที่ประเทศญี่ปุ่นยังคงอยู่ที่ประมาณ 20% ในขณะที่ประเทศอื่นกลับพุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำไมประเทศญี่ปุ่นซึ่งก็เป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีองค์ความรู้ทางการแพทย์ทันสมัยและก้าวหน้า จึงยังคงมีอัตราการผ่าตัดคลอดที่ต่ำ และสตรีตั้งครรภ์ชาวญี่ปุ่นยังคงมีความต้องการคลอดธรรมชาติทางช่องคลอดมากกว่าผ่าตัดคลอด
มาดูปัจจัยที่ส่งผลให้การคลอดธรรมชาติทางช่องคลอดยังเป็นที่นิยมมากกว่าการผ่าตัดคลอดในประเทศญี่ปุ่นกันค่ะ
ที่มา: Source: “Childbirth in Japan”, Childbirth Across Cultures: Ideas and Practices of Pregnancy, Childbirth and the Postpartum, 2009
และ “The influence of women’s fear, attitudes and beliefs of childbirth on mode and experience of birth” ( https://bmcpregnancychildbirth.biomedcentral.com/…/1471… )
เด็กผ่าคลอดเสี่ยงโรคอ้วนเพิ่มขึ้น 34%
24 กันยายน 2567
งานวิจัยที่เก็บข้อมูลจำนวนมาก เรื่อง “Association between caesarean section and childhoodobesity: a systematic review and meta-analysis” (2015) เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่ชี้ถึงผลที่ตามมาของการผ่าตัดคลอด ว่ามีความเสี่ยงที่เด็กจะโตขึ้นมาเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นถึง 34% เมื่อเทียบกับเด็กที่เกิดโดยการคลอดทางช่องคลอด
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นอีกด้วยว่าน้ำหนักของแม่ก่อนการตั้งครรภ์ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเสี่ยงนี้ รวมถึงสภาพชีวิตและการเลี้ยงดูในช่วงต้นของเด็กด้วย
ที่มา: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/epdf/10.1111/obr.12267 (Association between caesarean section and childhoodobesity: a systematic review and meta-analysis)
คลอดเอง – ผ่าคลอด แบบไหนเสี่ยง
27 สิงหาคม 2567
มาฟัง ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ หัวหน้าโครงการวิจัย Quali-Dec (คลอดปลอดภัย) และอดีตประธานราชวิทยาลัยสูตินรแพทย์แห่งประเทศไทย พูดถึงการคลอดทั้งสองแบบในทุกแง่มุม
– ปัจจัยที่ทำให้การผ่าตัดคลอดสูงขึ้น
– ผลกระทบทางสุขภาพที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดขึ้นทั้งกับแม่และทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอด
– ความสำคัญของการมีเพื่อนผู้คลอดเข้าไปช่วยเหลือและให้กำลังใจคุณแม่ในห้องคลอด
ขอขอบพระคุณ #ThaiPBS ที่ร่วมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการคลอดที่ปลอดภัย เพื่อที่คุณแม่และครอบครัวจะได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยงกับการคลอดทั้งสองแบบค่ะ
คุณแม่มือใหม่รับ “ด่านยาก” คือ “การคลอด”
23 สิงหาคม 2567
มาฟังความรู้สึกของคุณแม่มือใหม่กับการเตรียมตัวรับมือกับ “ด่านยาก” ของการตั้งครรภ์คือการคลอด โดยเฉพาะการคลอดธรรมชาติ
คุณแม่รุ่นใหม่หลายท่านมีการเตรียมความพร้อมและศึกษาข้อมูลมาแล้วเป็นอย่างดี ทราบว่าการคลอดธรรมชาติจะมีผลดีต่อการฟื้นตัวของคุณแม่ และสุขภาพในระยะยาวของลูกน้อยมากกว่า
แต่ถึงกระนั้นก็อาจจะต้องมองหาคุณหมอที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือให้คุณแม่สามารถคลอดธรรมชาติได้อย่างราบรื่น เพราะในปัจจุบันก็มีคุณหมออีกหลายท่านที่สะดวกที่จะเลือกผ่าตัดคลอดมากกว่าเพราะสามารถจัดการเวลาส่วนตัวได้ง่ายกว่า
ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก #ThaiPBS ด้วยค่ะ
ที่มา: สกู๊ปข่าว ไทยพีบีเอส “คุณแม่มือใหม่รับ “ด่านยาก” คือ “การคลอด”
ไทยพีบีเอสเผยแพร่องค์ความรู้เรื่อง “เพื่อนผู้คลอด”
21 สิงหาคม 2567
“เพื่อนผู้คลอด” เป็นอีกหนึ่งนโยบายที่โครงการวิจัยคลอดปลอดภัย (Quali-Dec) รวมไปถึงองค์การอนามัยโลกให้การสนับสนุน
การคลอดเป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่ง และเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการกำลังใจมากที่สุด การมีเพื่อนผู้คลอด (Labour Companion หรือ Birth Partner) ผู้ซึ่งคุณแม่ไว้วางใจเข้าไปคอยให้กำลังใจระหว่างที่รอคลอด จะช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้คุณแม่ได้อย่างมาก
การมีเพื่อนผู้คลอด ที่คุณแม่ได้เลือกเองนี้ ยังส่งผลให้การคลอดธรรมชาติเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้นด้วย
ขอบพระคุณ #ThaiPBS สำหรับสกู๊ปข่าวเรื่องเพื่อนผู้คลอดค่ะ
คลอดธรรมชาติทำให้ได้จุลินทรีย์ดีมาตั้งแต่เกิด
17 สิงหาคม 2567
จุลินทรีย์ดีจากการคลอดธรรมชาติ
การคลอดผ่านทางช่องคลอดของแม่ตามธรรมชาติ ทำให้ทารกได้รับจุลินทรีย์ที่ดี ที่ช่วยปกป้องและสร้างภูมิคุ้มกันให้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ทารกที่เกิดจากการคลอดธรรมชาติจึงมักจะมีสุขภาพในระยะยาวดีกว่าทารกที่เกิดจากการผ่าตัดคลอด
จากรายการ On the Way with Chom Ep. 5 (ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=qJY2VsGiYRM&t=358s)
ดาราสาว คุณมิว นิษฐา กับประสบการณ์ประทับใจจากการคลอดธรรมชาติ
16 สิงหาคม 2567
คุณมิว นิษฐา ดาราสาวสวยคุณแม่ลูกสอง แชร์ประสบการณ์และความประทับใจของการให้กำเนิดลูกน้อยทั้งสองคนด้วยวิธีการคลอดธรรมชาติค่ะ
สำหรับคุณมิวแล้วการคลอดธรรมชาติไม่ได้น่ากลัว แต่ความเป็นธรรมชาติกลับสร้างความประทับใจที่น่ามหัศจรรย์ให้กับคุณแม่และทารกน้อยอย่างไม่คาดคิด
ที่มา: รายการแฉ วันที่ 14 ส.ค. 67 “มิว นิษฐา” คุณแม่ลูก 2 ที่มีความสุขที่สุด เผยคลอดธรรมชาติทุกคน
ถึงจะเกิดน้อย แต่ต้องเปี่ยมด้วยคุณภาพ
15 สิงหาคม 2567
เมื่ออัตราการเกิดน้อยอยู่แล้ว เราก็ควรต้องเพิ่มคุณภาพให้ประชากรตั้งแต่แรกเกิด
การคลอดธรรมชาติ ช่วยเอื้อให้การตั้งครรภ์หลายครั้งปลอดภัยมากขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงของผลกระทบที่จะอาจตามมาจากการผ่าตัดคลอด
ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ตรงข้ามกับอัตราเด็กเกิดใหม่ที่ต่ำลง คุณแม่ยุคใหม่ช่วยอะไรได้บ้าง?
จากการสำรวจ สถานะขึ้นทะเบียนราษฎร์ของสำนักบริหารทะเบียนกรมการปกครองของคนไทย และผลการวิเคราะห์ที่ประมวลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2556 – 2566) พบว่า จาก 11.6 คนต่อประชากรหนึ่งพันคนในปีพ.ศ. 2556 เป็น 7.4 คนต่อประชากรหนึ่งพันคนในปีพ.ศ. 2565 โดยกราฟดังรูป แสดงจำนวนการเกิดของเด็กที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
จำนวนการเกิดของประชากรที่ลดลงส่งผลให้สัดส่วนของประชากรในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น (กลุ่มอายุไม่เกิน 19 ปี) มีจำนวนลดลงจากร้อยละ 26 เป็นร้อยละ 22 ซึ่งสวนทางกับจำนวนผู้สูงอายุในไทยที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14 เป็นร้อยละ 20 ในปีพ.ศ. 2556 และ 2566 ตามลำดับ ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่วิกฤตเด็กเกิดใหม่น้อยลง
ในขณะที่เด็กเกิดใหม่มีจำนวนลดลง แต่ไทยเรากลับมีอัตราการคลอดลูกด้วยวิธีการผ่าคลอดโดยไม่จำเป็นมากขึ้น ซึ่งนับเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของลูกน้อยในระยะยาว เพราะการผ่าคลอด ทำให้ลูกน้อยไม่มีโอกาสได้รับภูมิคุ้มกันจากแบคทีเรียบริเวณช่องคลอดแม่ เด็กมีโอกาสเติบโตได้อย่างไม่แข็งแรง อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กทั้งในระยะสั้นและระยะยาว นั่นหมายถึงคุณภาพของประชากรและเศรษฐกิจของประเทศ
เมื่อคุณแม่ยุคใหม่หันมาเลือกคลอดตามธรรมชาติให้เป็นเรื่องปกติ มั่นใจได้เลยว่าลูกน้อยจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดอย่างภูมิคุ้มกันจากแม่ และลดโอกาส ลดความเสี่ยงเรื่องสุขภาพในระยะยาวของลูกได้อย่างแน่นอน หากเป็นเช่นนี้ แม้อัตราการเกิดของเด็กไทยอาจไม่พุ่งขึ้นสูงจนเป็นที่น่าพอใจ แต่เชื่อมั่นได้ว่าสังคมไทยจะมีประชากรรุ่นใหม่ที่ได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ เพียงเริ่มต้นจากการเลือกคลอดธรรมชาติจากคุณแม่ยุคใหม่นั่นเอง
ผลกระทบต่อแม่และลูกจากการผ่าตัดคลอด
13 สิงหาคม 2567
ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ อดีตประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ให้สัมภาษณ์กับ ThaiPBS เรื่องผลกระทบจากการผ่าตัดคลอด
การคลอดบุตรมีทางเลือกทั้งการคลอดเองหรือผ่าตัดคลอด ซึ่งปัจจุบัน เกือบครึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์เลือกที่จะ “ผ่าคลอด” แม้ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีแพทย์จะพยายามให้ข้อมูลว่า ส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็น รวมถึงยังเกิดความเสี่ยงต่อแม่และลูกมากกว่าคลอดธรรมชาติ
ผลต่อแม่: ภาวะแทรกซ้อนมากกว่าเมื่อเทียบกับการคลอดทางช่องคลอด เพิ่มภาวะรกฝั่งแน่นในท้องถัดไปถึง 8 เท่า ซึ่งอาจทำให้มารดาตกเลือดภึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังอาจพบผังผืดในช่องท้องเพิ่มมากขึ้นทำให้หากต้องได้รับการผ่าตัดในช่องท้องจะพบภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขี้นได้
ผลต่อลูก: เพิ่มอุบัติการณ์การเกิดภาวะหายใจลำบากในทารกแรกเกิด ทารกอาจต้องเข้า NICU แม่ไม่ได้แนบชิดกับลูกและให้นมทันทีหลังคลอดทำให้ลดโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการให้นมแม่ ระยะยาวมีการศึกษาพบว่าพบอุบัติการณ์โรคอ้วนและเบาหวานเพิ่มขี้นด้วย
ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แม่ ๆ จะอยากคลอดทางช่องคลอดกันมาก เพราะทราบถึงข้อดีของการคลอดทางช่องคลอด และ ถ้าผ่าคลอดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ประกันสุขภาพอาจไม่จ่าย ดาราในไทยหลายท่าน ก็มีที่เป็นตัวอย่างที่เลือกการคลอดทางช่องคลอดให้เราเห็น
คุณแม่หลายท่านอาจจะกลัวความเจ็บปวดในการคลอดธรรมชาติ ลองปรึกษาสูติแพทย์ผู้ดูแลในเรื่องทางเลือกของการใช้ยาระงับปวดระหว่างการคลอดธรรมชาติ (ซึ่งมีทางเลือกมากขึ้น) ได้ด้วย
ของขวัญที่แม่สามารถมอบให้ลูกน้อยได้ตั้งแต่แรกเกิด
12 สิงหาคม 2567
มอบของขวัญที่ดีที่สุดให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก ด้วยการคลอดธรรมชาติ
การคลอดธรรมชาติเป็นการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณแม่ฟื้นตัวเร็วขึ้น พร้อมดูแลลูกน้อยได้อย่างเต็มที่แล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัดที่ไม่จำเป็น และเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปได้ดีกว่าอีกด้วย
ฤกษ์เกิดส่งผลกับชีวิตจริงหรือ?
10 สิงหาคม 2567
เวลาเกิดส่งผลกับชีวิตลูกได้ จริงหรือ
.
ครั้งเมื่อถึงเหตุการณ์สำคัญของชีวิต คนไทยเรามักเลือกที่จะหาฤกษ์หรือสิ่งมงคลต่าง ๆ นำทาง เพื่อหวังให้เป็นการเริ่มต้นที่ดี ทั้งเสื้อสีมงคล เบอร์มงคล แต่งงานในฤกษ์มงคล จนครั้งมีลูก ก็อยากเลือกคลอดตาม “ฤกษ์คลอดมงคล” เพราะเชื่อว่า “หากลูกได้เกิดในวันฤกษ์ดีฤกษ์มงคล ลูกจะมีชีวิตที่ดีที่สุด”
.
“ไม่มีฤกษ์คลอดไหนที่ดีที่สุด ถ้าไม่ใช่ฤกษ์คลอดตามธรรมชาติ” ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างที่สุด ยังคง “ไม่มีงานวิจัยใดบนโลกรับรองว่า ฤกษ์เกิดที่ดีจะส่งผลให้เด็กมีชีวิตที่ดีด้วย” ทั้งการผ่าคลอด ยังมีข้อแนะนำจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ของอเมริกา (ACOG Committee) แนะนำไว้ว่า หากผ่าคลอดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ หรือเลือกคลอดตามฤกษ์ (cesarean delivery on maternal request) ควรทำหลัง 39 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์เท่านั้น
.
หากมีการผ่าคลอดก่อน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของทารก เช่น ความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ, การเกิดภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด (transient tachypnea of the newborn; TTN) หรือที่เรียกว่าภาวะน้ำท่วมปอดในทารกแรกเกิด ซึ่งสามารถมีความรุนแรงถึงชีวิตได้ ทั้งยังมีความเสี่ยงต่อภาวะตัวเย็น (Hypothermia) และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ที่สามารถส่งผลต่อชีวิต หรือสุขภาพของทารกในอนาคตได้เช่นกัน
.
ดังนั้น จึงมีข้อแนะนำว่า หากแม่ที่ตั้งครรภ์แสดงความประสงค์ผ่าคลอดตามฤกษ์ที่ต้องการ แพทย์ควรพิจารณาปัจจัยความเสี่ยงทางสุขภาพของคุณแม่รายนั้น และถ้าหากไม่มีข้อบ่งชี้ แพทย์ควรแนะนำให้คลอดธรรมชาติเป็นอันดับแรก พร้อมชี้แจงข้อดี-ข้อเสียของการผ่าคลอด ก่อนที่จะเกิดการผ่าคลอดโดยไม่จำเป็น
.
“หยุดแลกชีวิตลูก ด้วยฤกษ์คลอดมงคล” เห็นได้ชัดว่า การผ่าคลอดตามฤกษ์มงคลที่ต้องการ โดยเฉพาะฤกษ์ที่เกิดก่อนอายุครรภ์ 39 สัปดาห์ นอกจากจะไม่มีหลักฐานรับรองว่าจะช่วยให้ลูกมีชีวิตที่ดีในอนาคต เว้นแต่ความสบายใจของแม่และครอบครัว ยังเพิ่มความเสี่ยง
ทบทวนข้อดีข้อเสียของการคลอดทั้งสองแบบ
8 สิงหาคม 2567
เพราะสิ่งที่ดีที่สุดของลูกน้อย เริ่มต้นวันแรกที่เขาลืมตา
รู้หรือไม่? ว่าเพียงการเลือกวิธีการคลอดลูกให้ดี และเหมาะสม คือสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดชิ้นแรกที่ลูกจะได้รับจากมือคุณแม่ แล้วระหว่างการคลอดธรรมชาติ กับการผ่าคลอด วิธีการคลอดแบบไหนจะดีกว่ากัน? มาดูความแตกต่างทั้งในแง่ข้อดีและข้อเสียของการคลอดทั้ง 2 แบบกันเลย
ข้อดีของการคลอดธรรมชาติ
เสียเลือดน้อย มีแผลแค่เฉพาะภายนอก ฟื้นตัวได้เร็ว หลังคลอดเจ็บแผลน้อยกว่า สามารถดูแลและให้นมบุตรหลังคลอดได้เลย
เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย ความเสี่ยงในการติดเชื้อในมดลูก (endometritis) ต่ำ ไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ การตกเลือดภายใน และการเกิดแผลเป็น
ไม่ทำให้เกิดพังผืดในช่องท้อง
เป็นวิธีที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งออกซิโทซิน (oxytocin) ที่ซึ่งส่งเสริมการผลิตน้ำนมให้แก่บุตร
ทารกเจ็บป่วยน้อยกว่า เพราะได้รับภูมิคุ้มกันจากแบคทีเรียที่อยู่บริเวณช่องคลอด อีกทั้งยังได้รับการออกซิเจนที่ดีกว่าทั้งในด้าน สมองและด้านร่างกาย
ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากเมื่อเทียบกับการผ่าคลอด
ข้อเสียของการคลอดธรรมชาติ
กำหนดระยะเวลาคลอดล่วงหน้าไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของทารก และใช้เวลานานราวหนึ่งชั่วโมง
เจ็บครรภ์ระหว่างรอคลอดนาน และเกิดความเจ็บปวดในขณะการคลอด
หากทารกมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือเชิงกรานมารดาแคบอาจทำให้การคลอดติดขัดได้ ทารกอาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากไหล่ติดหรือการคลอดด้วยเครื่องช่วย มีโอกาสใช้เครื่องดูดสุญญากาศ หรือคีม หากมารดาหมดแรงเบ่ง
อาจเกิดการฉีกขาดในฝีเย็บ โดยแพทย์อาจทำการกรีดเปิดเพื่อช่วยในการคลอดทารก
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่คาดคิดได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกายมารดา
มีความเสี่ยงต่อภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่และปัญหาการมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด เนื่องจากการอาจเกิดการฉีกขาดของฝีเย็บลึก
ข้อดีของการผ่าคลอด
คุณแม่ไม่ต้องเจ็บปวดขณะคลอด
สามารถกำหนดวันคลอดได้ตามความเหมาะสมของอายุครรภ์
มีความปลอดภัยสูง
ลดความเสี่ยงสายสะดือถูกกดทับระหว่างทำคลอด
ลดการยืดหย่อนของเชิงกราน เนื่องจากไม่ต้องใช้แรงเบ่ง
ลดความเสี่ยงต่อภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
สามารถทำหมันหลังคลอดได้เลย
ข้อเสียของการผ่าคลอด
ค่าใช้จ่ายสูง เพราะเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องอาศัยความพร้อมของบุคลากรและอุปกรณ์ที่มีค่าใช้จ่ายสูง
เพิ่มความเสี่ยงต่อการตายและภาวะทุพพลภาพต่อมารดา ซึ่งมีอัตราการตายโดยรวมสูงกว่าการทำคลอดทางช่องคลอด
มีความเสี่ยงต่อการเสียเลือด และเสี่ยงต่อการดมยาสลบมากกว่า
ไม่สามารถให้นมบุตรได้ทันทีหลังคลอด ทำให้เริ่มต้นให้นมบุตรได้ล่าช้า
การนัดวันผ่า เพิ่มโอกาสทารกคลอดก่อนกำหนด และเพิ่มภาวะหายใจลำบาก RDS (Respiratory Distress Syndrome)
มีอาการปวดหลัง เจ็บปวดหลังคลอดนาน มีรอยแผลเป็นที่หน้าท้องมากกว่าแผลฝีเย็บ
เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัดสูงกว่า เช่น ไข้ ติดเชื้อ ลิ่มเลือดอุดตัน เป็นต้น
การผ่าตัดในท้องต่อไปสูงกว่า และยากกว่า เสี่ยงต่อมดลูกแตกในครรภ์ต่อไป โดยเฉพาะการผ่าท้องคลอดก่อน 2 ครั้ง
มีความเสี่ยงต่อการมีมดลูกแตกเป็น 5 เท่าของการผ่าตัดมาเพียงครั้งเดียว
เพิ่มภาวะแทรกซ้อนต่อครรภ์ต่อไปหลายประการ เช่น รกเกาะต่ำ รกติด ตกเลือดหลังคลอด
แม้การเลือกผ่าคลอดอาจมีแนวโน้มเจ็บปวดน้อยกว่า แถมยังสะดวกกว่าเพราะสามารถเลือกวางแผนวันที่ต้องการได้ เป็นเหตุของการดู “ฤกษ์งามยามดี”
แต่รู้ไหม? การเลือกคลอดโดยวิธีธรรมชาติ โดยไม่สนใจฤกษ์ดังกล่าว เป็นสิ่งที่ดีที่สุดทั้งต่อคุณแม่และคุณลูก ดังงานวิจัยที่พิสูจน์ไว้ให้แล้ว แต่จะพิสูจน์ในแง่มุมไหนบ้าง คลิกเพื่อหาคำตอบได้เลย >> https://www.hitap.net/documents/184063 และ https://www.hitap.net/188311
ทั้งนี้การคลอดแบบธรรมชาติ หรือการผ่าคลอด ต่างก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป การจะเลือกคลอดแบบใดนั้น ควรพึงพิจารณาตามสูตินารีแพทย์ประเมินและให้แนะนำ จึงจะเหมาะสมและดีที่สุด
งานวิจัยเผย แทรกแซงมากไปเหนื่อยใจแม่ผู้คลอด
1 สิงหาคม 2567
ประสบการณ์การคลอดมีบทบาทสำคัญต่อจิตใจของแม่ผู้คลอด และมีผลกระทบที่สำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกน้อย
การแทรกแซงทางการแพทย์หลายอย่างระหว่างการคลอด เช่น การกดบริเวณยอดมดลูก การตัดฝีเย็บ หรือการผ่าคลอดฉุกเฉิน อาจส่งผลกระทบต่อประสบการณ์การคลอดของคุณแม่ได้
งานวิจัยชิ้นล่าสุดจากประเทศเยอรมนีได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการประเมินประสบการณ์การคลอดที่ลดลงจากการแทรกแซงทางการแพทย์ โดยได้สอบถามคุณแม่กว่าพันคน เกี่ยวกับประสบการณ์การคลอดของพวกเธอ
โดยทั่วไป คุณแม่ผู้เข้าร่วมวิจัยได้ประเมินประสบการณ์การคลอดของพวกเธอในเชิงบวก โดยให้คะแนนเฉลี่ย 3.09 เต็ม 4 จากคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติโดยมีการแทรกแซงทางการแพทย์น้อย
ในขณะที่แม่ที่มีประสบการณ์การถูกกดยอดมดลูก การคลอดธรรมชาติทางช่องคลอดโดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์ช่วย หรือการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินที่ไม่ได้วางแผนไว้ ได้ให้คะแนนประสบการณ์การคลอดของพวกเธอต่ำกว่าคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติโดยไม่มีการแทรกแซงทางการแพทย์อย่างมีนัยสำคัญ
การผ่าคลอดที่ไม่ได้วางแผนนั้นได้รับคะแนนต่ำที่สุดเนื่องจากก่อให้เกิดความรู้สึกเชิงลบต่อตนเองสำหรับคุณแม่และก่อให้เกิดความกังวลด้านความปลอดภัย
โดยสรุป การแทรกแซงทางการแพทย์ระหว่างการคลอดนั้น มีผลสำคัญในมิติต่าง ๆ ต่อประสบการณ์การคลอดของคุณแม่ หากต้องการให้เกิดความพึงพอใจในระดับสูงในการคลอด จำเป็นต้องทราบว่ามิติใดของความพึงพอใจที่ได้รับผลกระทบจากการแทรกแซง เพื่อให้สามารถดำเนินมาตรการที่ชัดเจน เช่น การส่งเสริมในเรื่องการสื่อสารระหว่างผู้คลอดและบุคลากรทางการแพทย์ การมีส่วนร่วม และความปลอดภัย เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คุณแม่ผู้คลอดได้รับประสบการณ์การคลอดที่น่าพึงพอใจมากขึ้น
ที่มางานวิจัย: Anna Volkert, Lisa Bach, Carsten Hagenbeck, Jan Kössendrup, Charlotte Oberröhrmann, Mi-Ran Okumu, Nadine Scholten. Obstetric interventions’ effects on the birthing experience. BMC Pregnancy and Childbirth, 2024; 24 (1) DOI: 10.1186/s12884-024-06626-5
‘ผ่าคลอด’ อันตรายกว่า คลอดเองโดยธรรมชาติ (ช่องคลอด) มากถึง 2-3 เท่า
16 กรกฎาคม 2567
ที่มา: The Coverage.info (https://www.thecoverage.info/news/content/5255?fbclid=IwY2xjawE42gdleHRuA2FlbQIxMAABHbSt6u42ivLpMMfWL2bPHpixYEK6ph4uJZA2fbcRY98sJY2MKK67NLQJUQ_aem_p7qv1KIOPSQYVZc3xJkqwQ)
ทำความเข้าใจใหม่กันเสียหน่อย
‘การผ่าคลอด’ ไม่ใช่เรื่องของความสวยความงาม (รูฟิต) หรือความพึงพอใจเสมอไป ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ได้เตือนออกมาเสียงดังๆ แล้วว่า ‘อันตราย’ มาก (กว่า) เมื่อเทียบกับการคลอดตามธรรมชาติ (ช่องคลอด)
งานวิจัยภายใต้การสนับสนุนของ WHO ที่เก็บรวบรวมข้อมูลจาก 9 ประเทศในเอเชีย พบว่า การผ่าคลอด สร้างความเสี่ยง-อันตราย ต่อทารกและมารดา มากกว่าการคลอดตามธรรมชาติ มากถึง 2-3 เท่า
ว่าด้วยความเป็นแม่และการคลอด เพศหญิงจึงมีความเสี่ยงด้านสุขภาพมากกว่าเพศชาย และหากเทียบเคียง 2 วิธีการคลอด ระหว่างการคลอดทางช่องคลอด กับการคลอดด้วยการผ่าตัด พบว่าวิธีหลัง อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต
WHO จึงส่งเสียงซ้ำแล้วซ้ำเล่าถึงทั่วโลกว่า ‘ช่วยลดปริมาณการผ่าคลอด’ หน่อยเถอะ ซึ่งจนถึงขณะนี้ดูเหมือนว่าก็ไม่ได้ผลสักเท่าใดนัก
สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย พบว่า อัตราการผ่าคลอดในสถานพยาบาลของรัฐในปัจจุบัน อยู่ในเกณฑ์สูงประมาณ 30-50% และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากอันตรายแล้ว การผ่าคลอดยังนำไปสู่ค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง และสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ
บรรทัดถัดจากนี้คือ FACT จากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ได้แสดงจุดยืนอย่างชัดเจน และ The Coverage อยากชักชวนทุกท่านทำความเข้าใจในเรื่องนี้กันใหม่
จากสาระสำคัญในประกาศราชวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นประกาศจุดยืน เรื่อง ‘การผ่าตัดคลอด (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2556)’ ซึ่งลงนามโดย ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย จำแนกออกมาเป็น 8 ประเด็นสำคัญ
1. การผ่าตัดคลอด ควรทำในรายที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ คือเมื่อทารกไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้อย่างปลอดภัย หรือมารดามีภาวะแทรกซ้อนขั้นรุนแรงที่จะทำให้การคลอดทางช่องคลอดมีความเสี่ยง
2. ประชาชนควรทราบว่า การผ่าตัดคลอดมีความเสี่ยงต่อทั้งมารดาและทารกมากกว่าการคลอดทางช่องคลอด ซึ่งอาจจะเป็นผลที่เกิดจากการผ่าตัดหรือการให้ยาระงับความรู้สึก
3. ก่อนการผ่าตัดคลอด สตรีตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเหมาะสมเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของการผ่าตัดคลอดจากบุคลากรทางการแพทย์จนเข้าใจดี และลงนามยินยอมเข้ารับการผ่าตัด
4. การผ่าตัดคลอดตามคำร้องขอของมารดา (maternal request) เป็นการผ่าตัดคลอดที่เกิดจากความต้องการของสตรีตั้งครรภ์หรือญาติ โดยไม่มีข้อบ่งขี้ทางการแพทย์ สูตินรีแพทย์ควรสอบถามเหตุผล รับฟังความต้องการ อภิปรายความเสี่ยงและประโยชน์ของการผ่าตัดคลอดให้สตรีตั้งครรภ์รับทราบจนเข้าใจดีแล้ว หากยังยืนยันที่จะทำผ่าตัดคลอด ให้ลงนามในเอกสารแสดงความจำนงและใบยินยอมรับการผ่าตัด กรณีที่สูตินรีแพทย์ไม่เห็นด้วยที่จะทำผ่าตัดคลอด ให้แนะนำหรือส่งต่อสตรีตั้งครรภ์ไปพบสูตินรีแพทย์ท่านอื่น
5. การผ่าตัดคลอดแบบวางแผนล่วงหน้า (scheduled elective cesarean section) เป็นการทำผ่าตัดที่มีการเตรียมการและระบุวัน เวลาไว้ชัดเจน แนะนำให้ทำผ่าตัดที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 39 สัปดาห์เป็นต้นไป
6. การที่แพทย์แนะนำหรือชักจูงให้สตรีตั้งครรภ์มาผ่าตัดคลอดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดถือเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรมทางการแพทย์
7. อัตราการผ่าตัดคลอดที่เหมาะสมของแต่ละสถานพยาบาลอาจแตกต่างกัน ขึ้นกับบริบทและสถานการณ์ที่รับผิดชอบ
8. สถานพยาบาล หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องควรเก็บข้อมูลการคลอดแบบ Robson classification เพื่อประโยชน์ในการประเมินและติดตามข้อมูลสำหรับการวางแผนการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานเพื่อลดการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็น
“เพื่อนผู้คลอด” กำลังใจที่สำคัญของคุณแม่
10 กรกฎาคม 2567
“เพื่อนผู้คลอด มีบทบาทสำคัญมากครับ เพราะจะคอยอยู่ใกล้ ๆ ให้แม่รู้สึกอบอุ่นใจ และคอยช่วยเหลือ หยิบ จับ ทำ ในสิ่งที่แม่ต้องการ เช่น คอยปลอบประโลมใจ คอยเช็ดเหงื่อ หาน้ำให้ดื่ม บีบนวดยามปวด ช่วยเอาผ้าร้อนประคบบริเวณที่ปวด คอยพยุงเมื่ออยู่ในท่าลำตัวตั้งตรงตลอดการคลอด คอยพัดโบกยามร้อน คอยเปิดเพลงเย็น ๆ ให้ฟัง
หน้าที่เหล่านี้ หากเป็นหมอหรือพยาบาลคงทำได้ไม่เต็มที่เหมือนเพื่อนผู้คลอด เพราะบางทีแม่อาจเกรงใจไม่กล้าบอกความต้องการ ซึ่งเมื่อมีเพื่อนผู้คลอดแล้ว หมอและพยาบาลจะเหนื่อยน้อยลง”
ที่มา: รศ. นพ. เอกชัย โควาวิสารัช
จากหนังสือ “คลอดแบบไหนดี คลอดเองหรือผ่าคลอด”
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียสนับสนุนการให้อิสระในการตัดสินใจเรื่องการคลอดกับคุณแม่
2 กรกฎาคม 2567
เปลี่ยนแนวความคิดเรื่องการคลอดจาก “คุณจัดการเองไม่ได้ เดี่ยวฉันจัดการให้” มาเป็น “คุณจัดการเองไม่ได้ เดี๋ยวเราจะช่วยสนับสนุนคุณเพื่อให้คุณกลับมาจัดการเองได้….”
ศูนย์ Judith Lumley ของมหาวิทยาลัย La Trobe ประเทศออสเตรเลีย ได้เสนอกรอบการรับมือกับการคลอดแบบใหม่ที่เน้นการให้อิสระในการตัดสินใจกับแม่ผู้คลอดมากขึ้น โดยเปลี่ยนจากวิธีการใช้ยาไปผนวกกับแนวทางอื่น ๆ ที่ครอบคลุมมากขึ้น
โดยได้แบ่งกลยุทธ์เป็นแบบภายใน (สร้างขึ้นเอง) และแบบภายนอก (ต้องใช้อุปกรณ์หรือการสนับสนุน)
กลยุทธ์เป็นแบบภายใน (ที่แม่ผู้คลอดสร้างขึ้นเอง) เช่น การใช้เทคนิคการหายใจ การสร้างมุมมองเชิงบวกต่อการคลอด การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้คุณแม่สร้างแนวคิดเชิงบวก เตือนตัวเองว่าคุณแม่ไม่ได้อยู่ลำพังในประสบการณ์นี้ สงบสติอารมณ์ การเข้าใจว่ามันเป็นกระบวนการธรรมชาติที่ปกติ และคุณแม่แค่ต้องปล่อยให้ร่างกายดำเนินไปตามกลไกธรรมชาติเท่านั้น
ส่วนของกลยุทธ์ภายนอกนั้น ได้แก่ การใช้อุปกรณ์และวิธีการต่าง ๆ เช่น การแช่น้ำหรืออาบน้ำฝักบัว และการมีเพื่อนผู้คลอดที่คุ้นเคยเข้าไปให้กำลังใจในระหว่างที่รอคลอดและช่วงที่คลอด
การมีคนที่สามารถพึ่งพา ให้ความช่วยเหลือได้ในระหว่างที่คุณแม่อาจไม่สามารถรับมือกับความเจ็บปวดได้ดี สร้างความเชื่อมั่นว่าคุณแม่อยู่ในที่ที่ปลอดภัย รายล้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญที่สามารถช่วยได้หากมีปัญหา จะช่วยให้การคลอดราบรื่นมากขึ้น
Source: https://www.latrobe.edu.au/…/childbirth-coping…
ซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เกิดโรคหัวใจในอนาคตได้
24 มิถุนายน 2567
ผลการศึกษาชี้ว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าในช่วงเวลาใกล้คลอด มีแนวโน้มที่จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจในอนาคต
คุณแม่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าในช่วงตั้งครรภ์ หรือหลังคลอด อาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ยาวนานถึง 20 ปีหลังการคลอด
นักวิจัยชาวสวีเดนได้เผยแพร่ผลการศึกษาติดตามผู้หญิงนานกว่าทศวรรษ พบว่า ความเชื่อมโยงระหว่างภาวะซึมเศร้ารอบช่วงเวลาคลอดกับความเสี่ยงระยะยาวของโรคหัวใจและหลอดเลือด
การศึกษาซึ่งตีพิมพ์ใน European Heart Journal ได้ตรวจสอบข้อมูลของผู้หญิงเกือบ 56,000 คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าในช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอดระหว่างปี 2544 ถึง 2557 และเปรียบเทียบข้อมูลกับผู้หญิงเกือบ 546,000 คนที่คลอดบุตรในช่วงเวลาเดียวกันแต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า
งานวิจัยได้ติดตามคุณแม่เหล่านี้โดยเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 10 ปี โดยบางรายได้รับการตรวจติดตามนานถึง 20 ปีหลังจากการวินิจฉัย พบว่า คุณแม่ที่เป็นโรคซึมเศร้าในช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอด ประมาณ 6.4% ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในระหว่างการติดตามผล เทียบกับ 3.7% ของคุณแม่ที่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า
นักวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าในช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอด มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 36% ในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนั้นพบได้ในโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของผู้หญิงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภาวะหัวใจล้มเหลว และความดันโลหิตสูง
ภาวะซึมเศร้าในช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอดนั้นสามารถป้องกันและรักษาได้ หากคุณแม่เริ่มรู้สึกถึงภาวะนี้ในระหว่างตั้งครรภ์ ควรรีบปรึกษาแพทย์นะคะ
Source: https://www.independent.co.uk/…/academics-swedish-mind…
สิ่งที่คุณแม่ควรทราบก่อนการผ่าคลอด
20 มิถุนายน 2567
สิ่งที่คุณแม่ควรทราบก่อนผ่าคลอด
การผ่าตัดคลอดอาจไม่ใช่ทางเลือกแรกในการคลอดเสมอไป
การที่คุณแม่ไม่สามารถคลอดเองตามธรรมชาติได้ไม่ใช่ความผิดของคุณแม่
การผ่าตัดคลอดไม่ใช่ทางเลือกที่ง่ายกว่า สะดวกกว่า หรือปลอดภัยกว่าในการคลอด
หลังการผ่าตัด 6 ชั่วโมง คุณแม่จะต้องพยายามขยับตัวหรือลุกขึ้นให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันภาวะเลือดอุดตัน
การคลอดของคุณแม่แต่ละคนแตกต่างกัน ตามสภาพร่างกายและเงื่อนไขแวดล้อม
การผ่าตัดคลอดมีไว้เพื่อช่วยชีวิตแม่และลูก และอาจมีผลข้างเคียงต่าง ๆ ตามมา
การผ่าตัดคลอดคือการผ่าตัดใหญ่ ที่ต้องอาศัยการผ่าเปิดชั้นผิวหนังเข้าไปอย่างน้อย 5 ชั้น
เช่นเดียวกับการผ่าตัดใหญ่ทุกประเภท การผ่าคลอดอาจเพิ่ม
ความเสี่ยงและปัญหาได้ในบางกรณี
คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด แบบไหนเหมาะกับเรา
19 มิถุนายน 2567
วันนี้ขอแชร์คลิป “คลอดธรรมชาติกับผ่าคลอด แบบไหนเหมาะกับเรา?” โดย พญ.เขมณัฎฐ์ สงวนวงษ์ทอง จากช่อง PWS Clinic ค่ะ
ความแตกต่าง ข้อดี-ข้อเสีย ของการคลอดแต่ละวิธีเพิ่อที่คุณแม่จะได้ตัดสินใจเลือกแบบที่เหมาะสมกับตัวเองได้มากที่สุด
องค์การอนามัยโลกย้ำ ผ่าตัดคลอดเฉพาะที่จำเป็น
17 มิถุนายน 2567
คำแนะนำขององค์การอนามัยโลก เรื่องการลดการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็น โดย non-clinical intervention (วิธีที่ไม่ใช่วิธีทางการแพทย์) เช่น การมีเพื่อนผู้คลอด การให้ข้อมูลความรู้อย่างรอบด้านเพื่อร่วมกันตัดสินใจเลือกวิธีการคลอดอย่างมีข้อมูล การให้มีการตรวจสอบกันเองภายในโรงพยาบาลว่าเป็นการผ่าตัดคลอดที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์หรือไม่
เพราะการผ่าตัดคลอดมีความเสี่ยงหลายอย่าง และยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของแม่และลูกทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว การผ่าตัดแต่ละครั้งจึงควรมีการพิจารณาความเหมาะสมอย่างถี่ถ้วน
ที่มา: chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://iris.who.int/…/275377/9789241550338-eng.pdf…
คลอดในน้ำปลอดภัยพอ ๆ กับการคลอดปกติ
13 มิถุนายน 2567
ผลวิจัยเผยการคลอดในน้ำไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงมากกว่าการคลอดปกติ โดยเฉพาะกับแม่ตั้งครรภ์ที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำ
ในหลาย ๆ ประเทศ การคลอดในน้ำถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความสนใจจากคุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คน แต่บางส่วนก็ยังคงมีความสงสัยอยู่ด้วยว่าจะมีความปลอดภัยเหมือนกับการคลอดแบบปกติทั่วไปหรือไม่
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์ดีฟ ประเทศอังกฤษได้ทำการศึกษาการคลอดในน้ำของผู้คลอดจำนวน 73,229 คน จากโรงพยาบาลทั้งในอังกฤษและเวลล์กว่า 26 แห่งในช่วงระหว่างปี 2015 – 2022 พบว่า การคลอดในน้ำไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อทารกและแม่ผู้คลอด
โดยการศึกษานี้ได้ให้ความสำคัญที่อัตราการเกิดแผลฉีกขาดระหว่างการคลอดของแม่ ไปจนถึงจำนวนของทารกแรกคลอดที่มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับยาปฏิชีวนะ ทารกที่มีปัญหาเรื่องการหายใจ และทารกที่เสียชีวิตหลังคลอด
การศึกษาพบว่าแม่และทารกที่คลอดในน้ำ ไม่ได้มีอัตราภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้สูงกว่าการคลอดแบบปกติ ดังนั้นในกลุ่มคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ การคลอดในน้ำจึงอาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่คุณแม่สามารถพิจารณาได้ในการเลือกวิธีคลอดของตนเอง
ที่มา: https://www.theguardian.com/lifeandstyle/article/2024/jun/11/water-births-do-not-increase-risk-of-complications-study?fbclid=IwY2xjawE41TxleHRuA2FlbQIxMQABHahGoYb6ZMVsNwKNMmHkTFBGNizfHBCJEebLjPB-8wk5MJiM83sH9X_Yrg_aem_Y1Qx-HKHShSqX9tPBrMdpA
การใช้ “คู่มือผู้คลอด” ประสบการณ์การของคุณแม่ชาวเวียดนาม
12 มิถุนายน 2567
ประสบการณ์ของคุณแม่ชาวเวียดนามในการใช้ “คู่มือผู้คลอด” (DAT) ในการทำความเข้าใจเพื่อเลือกวิธีการคลอดอย่างมีข้อมูล การศึกษาจากหนึ่งในโรงพยาบาลประเทศเวียดนามที่ได้เข้าร่วมโครงการวิจัย Quali-Dec (คลอดปลอดภัย)
คุณแม่ชาวเวียดนามท่านนี้ได้ใช้ข้อมูลจากคู่มือผู้คลอด ผ่านทางแอพพลิเคชั่นชื่อ QualiDec (สามารถดาวน์โหลดได้ผ่าน App Store และ Playstore) ในการตัดสินใจเลือกวิธีการคลอดที่เหมาะสมกับเงื่อนไขการตั้งครรภ์ของตนเอง
สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นได้ ในหลากหลายภาษา รวมทั้งภาษาไทยด้วยค่ะ
คุณพ่อคุณแม่ชาวต่างชาติเข้าร่วมโครงการ “เพื่อนผู้คลอด”
10 มิถุนายน 2567
ขอแสดงความยินดีกับอีกหนึ่งคู่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ได้เข้าร่วมโครงการ “เพื่อนผู้คลอด” ที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี หนึ่งในแปดโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการวิจัย Quali-Dec (คลอดปลอดภัย) ในประเทศไทย
คุณพ่อรัตนะ จำเริญ (RATANA CHAMROEUN) และคุณแม่กนิษฐา แซท (KANITHA SAT) เป็นคุณพ่อคุณแม่ชาวกัมพูชา ที่ได้เข้าร่วมโครงการ “เพื่อนผู้คลอด” ที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เป็นโครงการที่สนับสนุนให้คุณพ่อสามารถเข้าไปให้ความช่วยเหลือและให้กำลังใจคุณแม่ในระหว่างที่รอคลอดได้ เพื่อให้คุณแม่สามารถคลอดธรรมชาติได้อย่างปลอดภัยและราบรื่น
ขอแสดงความยินดีกับคุณพ่อคุณแม่ที่ได้คลอดทารกน้อยสมบูรณ์แข็งแรง และขอขอบคุณบุคลากรการแพทย์ แผนกห้องคลอด โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีทุกท่าน ที่ให้ความสำคัญกับการผลักดันโครงการเพื่อนผู้คลอดให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืน
WHO สนับสนุนการสร้างประสบการณ์คลอดเชิงบวก
5 มิถุนายน 2567
แม้ว่าความรู้ทางการแพทย์ในปัจจุบันในเรื่องเกี่ยวกับการคลอดจะก้าวหน้าไปมากแล้ว แต่ในหลาย ๆ ครั้งความรู้ความเข้าใจเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถช่วยให้คุณแม่ผู้คลอดรู้สึกปลอดภัย คลายกังวล และสร้างประสบการณ์ในเชิงบวกเกี่ยวกับการคลอดได้
องค์การอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนการดูแลทางด้านจิตใจและอารมณ์ของคุณแม่ผู้คลอด
เนื่องด้วยในหลาย ๆ ครั้ง คุณแม่อาจจะรู้สึกไม่ปลอดภัยเนื่องจากมีการแทรกแซงทางการแพทย์ระหว่างการคลอดมากจนเกินความจำเป็น และการแทรกแซงทางการแพทย์เหล่านี้บางครั้งก็เกิดขึ้นเร็วกว่าที่ควรจะเป็น
องค์การอนามัยโลกเป็นหนึ่งในองค์กรที่สนับสนุนให้มีการพิจารณาการผ่าตัดคลอดก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นทางการแพทย์ และสนับสนุนให้คุณแม่ผู้คลอดได้มีโอกาสร่วมตัดสินใจในการวางแผนการคลอดของตัวเอง
นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้ลดความเหลื่อมล้ำทางการแพทย์ระหว่างผู้มีรายได้สูงและรายได้น้อย และปฏิเสธการลดทอนเกียรติศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคุณแม่ผู้คลอดในระหว่างการคลอดด้วย
เพื่อให้คุณแม่คลอดทารกที่มีสุขภาพดี ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยความช่วยเหลือของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเห็นอกเห็นใจ และมีความเป็นมืออาชีพในการให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมปลอดภัย
ที่มา: https://www.who.int/…/making-childbirth-a-positive…
โครงการ Quali-Dec เก็บข้อมูลวิจัยที่โรงพยาบาล
อัตราผ่าคลอดพุ่งสูงในแอฟริกาใต้
1 มิถุนายน 2567
การผ่าตัดคลอดมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยชีวิตแม่และทารกในกรณีการคลอดที่เสี่ยงและซับซ้อน แต่ในประเทศแอฟริกาใต้กลับมีการใช้การผ่าตัดคลอดมากเกินไป โดยมีอัตราสูงกว่า 10-15% ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำอย่างมาก
ในโรงพยาบาลของรัฐในแอฟริกาใต้ อัตราการผ่าตัดคลอดอยู่ที่ 28.8% และในโรงพยาบาลเอกชนอยู่ที่ 75% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 21%
อัตราการผ่าตัดคลอดที่สูงมากในแอฟริกาใต้ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญต่อแม่และทารก ทั้งอัตราการเสียชีวิต ปัญหาสุขภาพในระยะยาว และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
การพึ่งพาการผ่าตัดคลอดเกินไปมาจากการรับรู้ผิด ๆ เรื่องความปลอดภัย ความสะดวกในการจัดตารางเวลา และความกลัวการฟ้องร้องคดีความทางการแพทย์
อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดคลอดมีความเสี่ยงที่มากกว่า เช่น อาการปวดท้องนาน ตกเลือด และการติดเชื้อ และยังมีความเสี่ยงที่สูงกว่าในอนาคต เช่น ภาวะรกเกาะต่ำและภาวะรกเกาะแน่น
นอกจากนี้ การคลอดธรรมชาติมีประโยชน์สำคัญ เช่น การหลั่งฮอร์โมนสำหรับการสร้างสายสัมพันธ์แม่-ลูก และการให้นมลูก การได้รับแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันและสมองของเด็ก
เพื่อแก้ไขปัญหานี้ เราจึงจำเป็นต้องเน้นถึงความเสี่ยงของการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็นและเผยแพร่ความรู้เรื่องประโยชน์ของการคลอดธรรมชาติ เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความปลอดภัยของการผ่าตัดคลอด
ที่มาของข่าว: https://theconversation.com/caesarean-births-south…
การบล็อกหลังอาจช่วยลดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดได้
28 พฤษภาคม 2567
งานวิจัยเเผย การบล็อกหลังด้วยยาชาเหนือช่องไขสันหลังระหว่างคลอดอาจช่วยลดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดได้
(ที่มาของข่าว: https://www.cbsnews.com/…/epidural-labor-bmj…/ )
แหล่งข่าว CBSnews บอสตัน รายงานข้อสรุปจากงานวิจัยใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร BMJ ( https://www.bmj.com/content/385/bmj-2023-077190 ) พบว่าการบล็อกหลังด้วยยาชาเหนือช่องไขสันหลังระหว่างการคลอด อาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนได้
เนื่องจากอัตราการเสียชีวิตของมารดาเพิ่มสูงขึ้นในทุกกลุ่มเชื้อชาติและชาติพันธุ์ทั่วโลก งานวิจัยชิ้นใหม่นี้เก็บข้อมูลในสหราชอาณาจักรจากกลุ่มตัวอย่างของสตรีตั้งครรภ์มากกว่าครึ่งล้านคน โดยได้ชี้ให้เห็นว่า การให้ยาชาบล็อกหลังอาจช่วยลดจำนวนการเสียชีวิตของมารดาลงได้
นักวิจัยพบว่า สตรีผู้คลอดที่ได้รับการบล็อกหลังมีโอกาสน้อยกว่าถึง 35% ที่จะมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือการผ่าตัดมดลูกในช่วงสองสามสัปดาห์แรกหลังคลอด และจะยิ่งลดโอกาสภาวะแทรกซ้อนอันตรายในกลุ่มสตรีที่คลอดก่อนกำหนด หรือผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคอ้วนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
โดยกลไกที่ทำให้การบล็อกหลังอาจลดอัตราการเสียชีวิตของแม่ได้นั้น อาจอธิบายได้ในหลายแง่มุม โดยส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการที่จะต้องมีการติดตามดูแลการแพทย์อย่างใกล้ชิดมากกว่าหลังการให้ยาชา ทำให้แพทย์สามารถจัดการกับภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ได้เร็วกว่า ดังนั้นจึงอาจไม่สามารถแยกอิทธิพลโดยตรงของการให้ยาชาบล็อกหลังกับการติดตามดูแลทางการแพทย์อย่างใกล้ชิดได้
จริงหรือไม่? คลอดตามธรรมชาติ ดีกว่าผ่าคลอด
27 พฤษภาคม 2567
จริงหรือไม่? คลอดตามธรรมชาติ ดีกว่าผ่าคลอด
ที่มา: รายการ Doctor Tips โดย ผศ.ดร.นพ.สกิทา ม่วงไหมทอง ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
บทบาทคุณพ่อเพื่อช่วยสนับสนุนการให้นมแม่ให้มีประสิทธิภาพ
24 พฤษภาคม 2567
คุณพ่อสามารถช่วยสนับสนุนคุณแม่เรื่องการให้นมแม่ได้นะคะ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ …
ช่วยแบ่งเบาเรื่องงานบ้าน
ช่วยเลี้ยงลูกที่นอกเหนือจากการให้นม เช่น ช่วยอุ้มเรอ อาบน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม อุ้มเดิน เป็นต้น
ให้คุณแม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ดูแลให้ได้ทานอาหารครบหมู่และดื่มน้ำเยอะ ๆ
ที่มา: https://www.facebook.com/photo?fbid=859800419512683&set=a.627139002778827
ทารกที่เกิดโดยการผ่าคลอดจำเป็นต้องได้รับวัคซีนโรคหัดมากกว่าทารกที่เกิดโดยการคลอดธรรมชาติ
15 พฤษภาคม 2567
ทารกที่เกิดโดยการผ่าคลอดจำเป็นต้องได้รับวัคซีนมากกว่าทารกที่เกิดโดยการคลอดธรรมชาติ
ข่าวจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ คลิกที่นี่เพื่ออ่าน เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2567 ให้ข้อมูลว่าทารกที่เกิดโดยการผ่าคลอดจำเป็นต้องได้รับวัคซีนโรคหัดสองเข็ม เนื่องจากเข็มแรกมีแนวโน้มที่จะไม่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอ เมื่อเทียบกับมากกว่าทารกที่เกิดโดยการคลอดธรรมชาติที่ต้องการวัคซีนเพียงเข็มเดียว
งานวิจัยพบว่าการได้รับวัคซีนหัดเพียงเข็มเดียวมีแนวโน้มที่จะไม่มีประสิทธิภาพถึง 2.6 เท่าในทารกที่เกิดโดยการผ่าตัดคลอด เพราะระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขาไม่สามารถผลิตแอนติบอดีได้เพียงพอ อย่างไรก็ตาม การได้รับวัคซีนเข็มที่สองจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงต่อโรคหัดได้ดีขึ้น
ความแตกต่างในประสิทธิภาพของวัคซีนในทารกที่เกิดโดยวิธีแตกต่างกันนี้ เกิดจากความแตกต่างในจุลินทรีย์ในลำไส้ของทารก ทารกที่เกิดโดยการคลอดธรรมชาติจะได้รับจุลินทรีย์จากช่องคลอดแม่โดยตรง ซึ่งช่วยในการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า ในขณะที่ทารกที่เกิดโดยการผ่าคลอดจะไม่ได้รับจุลินทรีย์เหล่านี้ในลักษณะเดียวกัน ทำให้การพัฒนาของจุลินทรีย์ในลำไส้และระบบภูมิคุ้มกันของทารกที่เกิดจากการผ่าคลอดช้าลงกว่าทารกคลอดธรรมชาติ
โรคหัดเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้ง่ายและอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง แม้จะมีความพยายามระดับโลก แต่ก็มีความกังวลเกี่ยวกับการลดลงของอัตราการฉีดวัคซีนหัด ทำให้การได้รับวัคซีนเข็มที่สองสำหรับทารกที่เกิดจากการผ่าคลอดนี้มีความสำคัญยิ่งขึ้นเพื่อการป้องกันที่เพียงพอสำหรับทารก
“เพื่อนผู้คลอด” เป็นใครได้บ้าง
2 พฤษภาคม 2567
ทำไมคุณแม่จึงควรมีเพื่อนผู้คลอด
ผลการวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่า การมีเพื่อนผู้คลอดให้ประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่คุณแม่ผู้คลอดจะได้รับกำลังใจและการสนับสนุนทางด้านอารมณ์ เช่น การคอยอยู่เป็นเพื่อน การสร้างความเชื่อมั่น และการแสดงความชื่นชม
เพื่อนผู้คลอดยังสามารถช่วยทำให้คุณแม่ผู้คลอดรู้สึกสบายขึ้น เช่น การสัมผัสอย่างปลอบโยน การนวด การช่วยให้ได้เปลี่ยนอิริยาบถ ช่วยให้ได้ดื่มน้ำเพียงพอและช่วยเหลือเวลาต้องปัสสาวะ และยังช่วยสื่อสารแทนคุณแม่ยามที่ต้องการ
นอกจากนี้งานวิจัยยังพบว่าคุณแม่ผู้คลอดที่ได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนผู้คลอดมีความเป็นไปได้สูงกว่าที่จะคลอดทางช่องคลอดโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเช่น คีม เครื่องดูดสุญญากาศ หรือใช้การผ่าตัดคลอด ลดการใช้ยาช่วยบรรเทาอาการปวด และลดระยะเวลาการคลอดให้สั้นลงได้อีกด้วยค่ะ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.xn--42c6aa1a0amqc3ed0c.com/?page_id=388
“หนึ่งชั่วโมงทอง”หลังการคลอด คืออะไร
25 เมษายน 2567
คุณแม่เคยได้ยินคำว่า “ชั่วโมงทอง” (the Golden Hour) กันไหมคะ
ในทางสูติศาสตร์นั้น เรารู้จัก Golden Hour ว่าหมายถึงช่วงเวลาหนึ่งชั่วโมงทันทีหลังคลอดค่ะ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญมากสำหรับคุณแม่และทารกแรกคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่คุณแม่ได้สัมผัสอุ้มกอดลูกน้อยและได้ให้นมทันทีหลังคลอด
เว็บไซต์ขององค์การยูนิเซฟ ได้อธิบายถึงประโยชน์ในทางวิทยาศาสตร์ของการที่คุณแม่ได้อุ้มกอดสัมผัสลูกทันทีหลังคลอดไว้หลายประการ คือ
1. ช่วยให้แม่และทารกน้อยรู้สึกสบายใจและสงบขึ้น
2. ช่วยให้การหายใจและการเต้นของหัวใจทารกมีจังหวะที่สม่ำเสมอเร็วขึ้น ปรับตัวกับโลกนอกมดลูกของแม่ได้ไวขึ้น
3. กระตุ้นระบบย่อยอาหาร ทำให้ทารกต้องการนมแม่เร็วขึ้น
4. ทำให้อุณหภูมิร่างกายปรับสู่สภาพปกติได้เร็วขึ้น
5. ผิวเนื้อทารกที่สัมผัสกับร่างกายแม่จะได้สัมผัสกับแบคทีเรียที่ดี กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ดีขึ้น
6. แม่จะได้รับการกระตุ้นฮอร์โมนที่ช่วยให้น้ำนมมาเร็วขึ้นและยังกระตุ้นสัญชาตญาณความเป็นแม่ได้ชัดเจนขึ้น
การคลอดทางช่องคลอด หรือการคลอดธรรมชาติ จะได้เปรียบตรงที่คุณแม่มีโอกาสได้ตักตวงชั่วโมงทองนี้ได้ทันทีหลังคลอดเลยนะคะ หากว่าคุณแม่และทารกน้อยไม่ได้มีภาวะฉุกเฉินใด ๆ หลังการคลอด
ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับการผ่าตัดคลอด เพราะการผ่าคลอดส่วนใหญ่จะพลาดโอกาสสำคัญนี้ได้ เนื่องจากคุณแม่และทารกมักจะไม่พร้อม เนื่องจากอยู่ในสภาวะการผ่าตัด คุณแม่ยังเจ็บแผลผ่าตัดหรือยังไม่หมดฤทธิ์ยาจากการผ่าตัดค่ะ
อ่านต่อได้ที่เว็บไซต์ยูนิเซฟ https://www.unicef.org.uk/…/imple…/skin-to-skin-contact/
ความในใจของคุณพ่อคุณแม่ที่เข้าร่วมโครงการ “เพื่อนผู้คลอด”
24 เมษายน 2567
ความในใจของอีกหนึ่งคู่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ที่เข้าร่วมโครงการเพื่อนผู้คลอด ที่รพ. นพรัตนราชธานี หนึ่งในแปดโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการวิจัยคลอดปลอดภัย (Quali-Dec)
การให้มี “เพื่อนผู้คลอด” (Labour Companion, Birth Partner) ที่คุณแม่ไว้ใจและเลือกให้เข้าไปช่วยเหลือในระหว่างการคลอด เป็นหนึ่งในวิธีการที่จะช่วยลดอัตราการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็นและสนับสนุนให้คุณแม่สามารถคลอดธรรมชาติได้อย่างราบรื่น
เพราะการคลอดเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากและเจ็บปวด คุณแม่ผู้คลอดส่วนใหญ่มักจะมีความกังวลหวาดกลัวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
การที่มีเพื่อนผู้คลอด ซึ่งเป็นบุคคลที่คุณแม่รักและไว้ใจเข้าไปให้กำลังใจ และให้ความช่วยเหลือระหว่างเจ็บท้องรอคลอดด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น คอยนวดเบา ๆ เปิดเพลง พาไปเข้าห้องน้ำ คอยช่วยพยุงให้เปลี่ยนท่าทาง สิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายและมีกำลังใจที่จะคลอดเองได้อย่างปลอดภัย
เลือกคลอดอย่างมีข้อมูลทำอย่างไร
23 เมษายน 2567
การตัดสินใจเลือกรูปแบบการคลอด คุณแม่ควรจะต้องมีข้อมูลให้ครบถ้วนรอบด้าน (Informed decision-making) โดยตัดสินใจจากเงื่อนไขด้านสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์เป็นหลัก
การตัดสินใจของคุณแม่ในการเลือกวิธีการคลอด มีผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยนะคะ เพราะฉะนั้นศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ ปรึกษาแพทย์อย่างละเอียดเพื่อจะได้ตัดสินใจร่่วมกัน และเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจให้ดีก่อนคลอดนะคะ
และสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ www.คลอดปลอดภัย.com
นมแม่ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้กับทารก
22 เมษายน 2567
นมแม่เป็นวิธีที่สุดในการสร้างเสริมสุขภาพและเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้กับทารก
การให้นมแม่สามารถช่วยชีวิตทารกได้กว่า 820,000 คนต่อปี น่าเสียดายที่ในปัจจุบันนี้มีทารกเพียง 40% เท่านั้นที่ได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกของชีวิต
องค์การอนามัยโลกส่งเสริมและสนับสนุนให้เลี้ยงทารกด้วยนมแม่แต่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อยเป็นเวลา 6 เดือน เพราะนมแม่เป็นแหล่งอาหารที่ดีที่สุดตามธรรมชาติของลูก
อย่างไรก็ตาม การให้นมแม่ต้องอาศัยการเรียนรู้และแม่หลายคนมักจะประสบปัญหาในช่วงเริ่มต้น การปฏิบัติหลังคลอดหลายอย่าง เช่น การแยกแม่และลูกหลังคลอดทันที การใช้ห้องเด็กอ่อน และการเสริมนมผงสำหรับทารก จริง ๆ แล้วยิ่งเป็นการลดโอกาสการให้นมแม่ที่ประสบความสำเร็จ
การผ่าตัดคลอดก็เป็นสาเหตุหนึ่งเช่นกันที่ลดโอกาสความสำเร็จของการให้นมแม่ เนื่องจากทารกไม่สามารถดูดนมได้ทันทีหลังคลอด อันเนื่องมาจากแผลผ่าตัดและฤทธิ์ของยาชาหรือยาสลบที่ต้องให้กับแม่ซึ่งอาจส่งผลต่อลูกได้
ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ: เว็บไซต์องคการอนามัยโลก World Health Organization (WHO) – https://www.who.int/…/facts-in…/detail/breastfeeding
การใช้ “คู่มือผู้คลอด” ในอาร์เจนติน่า
19 เมษายน 2567
สัมภาษณ์คุณแม่ผู้เข้าร่วมโครงการ Quali-Dec (คลอดปลอดภัย) จากประเทศอาร์เจนติน่า ถึงประสบการณ์ของการศึกษาข้อมูลจากคู่มือผู้คลอดเพื่อการตัดสินใจเลือกการคลอดที่เหมาะสมกับสภาวะด้านสุขภาพของคุณแม่ค่ะ
The Quali-Dec team would like to share an Argentinian experience with you: in this video, discover Aylén and her adorable baby This young mum explains how the Quali-Dec Decision analysis Tool helped her during her prenatal visits.
Every birth is unique. The choice of delivery route depends on a number of factors such as your baby’s weight, size and position, as well as your medical history. This tool is designed to provide you with information and help you reveal your preferences when it comes to mode of delivery….
Follow @informacionparanacimientos to know more about our project in Argentina
Ready to be inspired? Download our app in the link in our bio
“พังผืดจากการผ่าตัดคลอด เจอบ่อยหรือไม่”
17 เมษายน 2567
พังผืดในช่องท้องมักเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัดประเภทต่าง ๆ โดยโอกาสเกิดพังผืดอาจแบ่งได้ดังนี้
– จากการขูดมดลูก 20%
– จากการผ่าตัดผ่านกล้อง 40%
– จากการผ่าตัดใหญ่ 90%
เกิดพังผืดในช่องท้องแล้ว จะมีปัญหาอะไร
– 1ใน 3 ของผู้ป่วยจะต้องได้กลับมารักษาที่รพ. จากสาเหตุพังผืด ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังได้ โดยอันตรายจากพังผืดอาจก่อให้เกิดภาวะต่าง ๆ ได้เช่น
75% เกิดภาวะลำไส้อุดตัน
25% เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดซ้ำ
40% เกิดภาวะมีบุตรยาก
โอกาสของการเกิดพังผืดจากการผ่าตัดคลอด
– ผ่าตัดคลอดครั้งแรก มีโอกาสเกิดพังผืด 43%
– ผ่าตัดคลอดครั้งที่ 2 มีโอกาสเกิดพังผืด 67%
พังผืดเกิดขึ้นได้แม้แต่กับคนที่มีโอกาสน้อยก็ตามหากผ่าตัดซ้ำหลายครั้ง ดังนั้นจึงควรผ่าตัดคลอดอย่างมีข้อบ่งชี้ที่จำเป็นทางการแพทย์
ที่มา: เพจการแพทย์แปดนาที https://fb.watch/rtXM5fh0M0/
1 ใน 8 ของแม่ผู้คลอดรู้สีกว่าได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีในระหว่างการคลอด
16 เมษายน 2567
จากการศึกษาของคณะสาธารณสุข Columbia University Mailman School of Public Health ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ศึกษาสตรีผู้คลอดจำนวนกว่า 4,500 คนพบว่า สตรีผู้คลอดถึง 1 ใน 8 คน รู้สึกว่าตนเองได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีในระหว่างการคลอด
โดย 7.6% ของแม่ผู้คลอดรู้สึก “ถูกเพิกเฉย” “ไม่ได้รับการตอบสนองต่อคำร้องขอ” หรือ “ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างทันท่วงที” จากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ อีก 4.1% “ถูกดุหรือตะคอกใส่” และอีก 2.3% บอกว่าตน “โดนขู่ว่าจะไม่ได้รับความช่วยเหลือ จนกว่าจะยินยอมรับการรักษาแบบที่ไม่ได้ต้องการ”
โดยการได้รับการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องนี้จะเพิ่มจำนวนขึ้นในกลุ่มแม่ที่เป็น LGBTQ+ มีประวัติติดยา เป็นโรคอารมณ์แปรปรวน กลุ่มที่ไม่ได้แต่งงาน และมีประวัติอยู่ในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรง รวมไปถึงกลุ่มแม่ที่ต้องผ่าตัดคลอดแบบที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้าด้วย
ประสบการณ์ในการคลอดเชิงลบนี้จะส่งผลระยะยาวต่อความเครียดหลังคลอดของแม่ เกิดความรู้เชิงลบต่อสภาพร่างกายตนเอง และเกิดความกลัวที่จะตั้งครรภ์ครั้งต่อไปได้
โดยคำแนะนำของการศึกษาครั้งนี้คือการเรียกร้องให้มีการวางนโยบายให้มีการวางโครงสร้าง “การดูและระหว่างการคลอดแบบให้เกียรติ” โดยอาจสามารถวางแนวปฏิบัติที่เหมาะสมได้ในหลากหลายรูปแบบ
ที่มาของข่าว: https://www.cbsnews.com/…/mistreatment-during…/
อากาศร้อนจัดอาจเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดบุตรได้ถึง 2 เท่า
10 เมษายน 2567
อากาศร้อนจัดอาจเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดบุตรได้ถึง 2 เท่า
รายงานข่าว BBC Thai ได้นำเสนอรายงานการวิจัยล่าสุดในอินเดียพบว่า การทำงานในสภาวะอากาศที่ร้อนจัดเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดบุตรของหญิงตั้งครรภ์ได้มากเป็น 2 เท่า รวมถึงการแท้งลูกด้วย
อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นเกือบ 3 องศาเซลเซียสในช่วงสิ้นสุดของศตวรรษนี้เมื่อเทียบกับช่วงยุคก่อนอุตสาหกรรม ส่งผลต่อมนุษย์ในทุกรูปแบบ และองค์การอนามัยโลกได้ออกมาเตือนถึง “ภัยคุกคามที่มีอยู่จริง และส่งผลต่อพวกเราทุกคน” โดยเฉพาะที่หญิงตั้งครรภ์ต้องเผชิญกับ “ผลที่มาตามมาที่ร้ายแรงที่สุดบางประการ”
งานวิจัยหลายชิ้นก่อนหน้านี้ซึ่งส่วนใหญ่เก็บข้อมูลในประเทศที่มีรายได้สูงอย่างสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ระบุว่าหญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 15% ต่อการคลอดก่อนกำหนดหรือการคลอดในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์คลื่นความร้อน แต่การค้นพบล่าสุดจากอินเดียเป็นการศึกษาที่มีความสมบูรณ์และน่ากังวล รวมทั้งมีผลกระทบเป็นวงกว้าง
ณ ปัจจุบัน ไม่มีคำแนะนำที่เป็นสากลว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องทำงานควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนไม่เกินระดับใด แต่มีคำแนะนำต่อหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องทำงานในสภาพอากาศร้อนจัดว่า
– หลีกเลี่ยงการอยู่ที่ที่อากาศร้อนเป็นเวลานาน
– หมั่นเข้าที่ร่มเมื่อต้องทำงานกลางแจ้งในวันที่อากาศร้อน
– เลี่ยงการออกกำลังกายหรืออาบแดดเป็นเวลานานในช่วงที่ร้อนที่สุดของวัน
– อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ ด้วยการดื่มน้ำสม่ำเสมอ
ที่มา: https://www.bbc.com/thai/articles/cpv076z9719o
ผ่าคลอดมีผลทำให้โลกร้อนมากกว่าคลอดธรรมชาติ
9 เมษายน 2567
ปีนี้ประเทศไทยร้อนหนักกว่าที่เคย จนรู้สึกได้เลยใช่ไหมคะ
ภาวะโลกร้อนที่คนหลายคนเพิกเฉย คิดว่าไกลตัว น่าจะส่งผลกระทบจนเราทุกคนเริ่มตระหนักชัดกันแล้ว
ภาวะโลกร้อนเป็นผลจากการเลือกกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่สิ้นเปลือง ที่ไม่จำเป็น เพียงเพื่อเลือกความสะดวกสบายกับตัวเอง มากกว่าที่จะช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม
การผ่าตัดคลอดโดยที่ไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์ ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโลกร้อนด้วยค่ะ จากผลการวิจัยเปรียบเทียบจากประเทศสหรัฐอเมริกา ชี้ให้เห็นว่าการผ่าตัดคลอดกับการคลอดทางช่องคลอดตามธรรมชาตินั้น มีผลที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนมากกว่ากันครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว อันเกิดจากสาเหตุที่การผ่าตัดคลอดจะต้องสิ้นเปลืองกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่มากกว่า รวมไปถึงใช้ทรัพยากรบุคคลมากกว่าด้วย
ที่มา: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3563327/…
8 วิธีง่าย ๆ เพื่อช่วยส่งเสริมการคลอดธรรมชาติ
4 เมษายน 2567
8 วิธีง่าย ๆ เพื่อช่วยส่งเสริมการคลอดธรรมชาติ ลดโอกาสที่จะต้องผ่าตัดคลอด
1. ศึกษาหาความรู้เรื่องการคลอด จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
2. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอที่เหมาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์
5. หลีกเลี่ยงการกระตุ้นการคลอด
6. ทำใจให้สบาย พยายามไม่เครียด
7. มีเพื่อนผู้คลอดที่ไว้วางใจอยู่ด้วยระหว่างการคลอด
8. เลือกโรงพยาบาลหรือแพทย์ที่มีอัตราการผ่าตัดคลอดต่ำ
ที่มา: Sorce: “8 Wonderful Tips To Avoid C-Section And Ensure Normal Delivery!”, https://www.lybrate.com/…/15dd0a56e17e5ad057f84a2d8eabb860
ผ่าคลอด มีผลต่อน้ำนมแม่หลังคลอดไหม
2 เมษายน 2567
“ผ่าคลอด มีผลต่อน้ำนมแม่หลังคลอดไหม” โดย พญ. ปนัดดา บรรยงวิจัย สูตินรีแพทย์
ที่มา: YouTube ช่อง DrNoon Channel ( https://www.youtube.com/watch?v=fGxFYfWMxDM&list=WL&index=26 )
การผ่าคลอดโดยส่วนใหญ่จะมีผลต่อการมาของน้ำนมแม่ ที่จะมาช้ากว่าการคลอดธรรมชาติ
เพราะกลไกการพัฒนาของเต้านมเพื่อผลิตน้ำนม จะมีการพัฒนาสูงสุดในช่วงระหว่างการเจ็บครรภ์คลอด เพราะฮอร์โมนที่หลั่งออกมาในช่วงที่เจ็บครรภ์คลอดจะไปกระตุ้นเต้านมตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้นคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติทางช่องคลอดจะได้รับฮอร์โมนตัวนี้ตั้งแต่ช่วงระยะเจ็บครรภ์คลอด คุณแม่คลอดธรรมชาติส่วนใหญ่จึงจะสามารถให้นมลูกได้เลยทันทีหลังคลอด
ในขณะที่คุณแม่ผ่าคลอดอาจจะใช้เวลาช้ากว่าถึงสองสามวันกว่าน้ำนมจะมา โดยสามารถทำการกระตุ้นได้ด้วยการให้ลูกดูดนมจากเต้า (เข้าเต้า) เพื่อช่วยกระตุ้นฮอร์โมน แม้ว่าในช่วงสองสามวันแรกน้ำนมจะยังไม่มา แต่ก็ต้องให้ลูกเข้าเต้าบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้น้ำนมมาเร็วขึ้น
การเพิ่มขึ้นของ “แม่ตั้งครรภ์สูงอายุ”
1 เมษายน 2567
คำว่า “geriatric mother” หรือในปัจจุบันทางการแพทย์นิยมใช้คำว่า “advanced maternal age” หมายถึงสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุเกิน 35 ปี ซึ่งถือว่าเป็นแม่ที่ตั้งครรภ์สูงอายุ ซึ่งการตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมากขึ้นนี้จะมาพร้อมกับความเสี่ยงหลายประการ
ในปัจจุบันแม้ว่าสังคมจะมีความรู้มากขึ้นเรื่องการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง จนทำให้หลายคนยังดูอ่อนเยาว์แม้ว่าจะมีอายุเข้าวัยเลข 3 หรือเลข 4 แต่หากเป็นเรื่องของการตั้งครรภ์แล้ว ความแข็งแรงของไข่ในสตรีที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปนั้น มีแนวโน้มจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด
และยิ่งเป็นเรื่องการคลอดด้วยแล้วแม่ที่สูงวัยจะมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะต้องผ่าตัดคลอด เนื่องจากมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อท้องน้อยไม่มากพอที่จะเบ่งคลอดเอง อัตราการผ่าตัดคลอดที่สูงขึ้นส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากสาเหตุที่สตรีในยุคปัจจุบันตั้งครรภ์เมื่ออายุมากขึ้น
BBC World Service (ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=ciUAQ0yaJIo&list=WL&index=26 ) ได้อภิปรายถึงสาเหตุว่าทำไมในโลกยุคปัจจุบัน ผู้หญิงหลายคนจึงเลือกที่จะมีลูกคนแรกเมื่อมีอายุเกิน 35 ปีไปแล้ว พบว่ามีสาเหตุหลายประการที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมไปถึงการศึกษาที่สูงขึ้นของผู้หญิง การมีความรู้มากขึ้นเรื่องการคุมกำเนิด และการเจริญเติบโตของสังคมเมือง ปัจจัยเหล่านี้มีผลกระทบโดยตรงต่อการเลือกที่จะมีบุตรช้าหรือไม่มีบุตรเลยของคนในยุคปัจจุบัน
‘ชี้ฤกษ์คลอด’ เพื่อลูก ‘ตามธรรมชาติ’ การแพทย์ย้ำ ‘ดีที่สุด!’
18 มีนาคม 2567
ที่มา สำนักข่าวเดลินิวส์ออนไลน์ (15 มีนาคม 2567)
“มีครอบครัวจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับการเลือกวิธีคลอด และไม่ทราบว่าวิธีการคลอดสัมพันธ์กับสุขภาพเด็ก ตลอดจนคุณภาพชีวิตของลูก ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว”
นี่เป็นส่วนหนึ่งจากที่มีการระบุไว้ในชุดข้อมูลเรื่อง “ลบล้างความเชื่อพ่อ-แม่ ฤกษ์คลอดที่ดีที่สุดต่อสุขภาพลูกน้อย คือฤกษ์คลอดตามธรรมชาติ” ที่จัดทำโดย โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ซึ่งได้สะท้อนไว้เกี่ยวกับผลกระทบทางสุขภาพ หลังจากพบปัญหา “เด็กไทยเติบโตโดยไม่แข็งแรงเพิ่มขึ้น!!” โดยที่ “มีปัจจัยส่วนหนึ่งเกิดจากความเชื่อฤกษ์คลอด”
ในชุดข้อมูลโดย HITAP ที่ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” นำมาสะท้อนต่อในวันนี้ ระบุไว้ว่า… ปัจจุบันหลายครอบครัวกำลังเป็นทุกข์เนื่องจากลูกเติบโตขึ้นโดยมีสุขภาพไม่แข็งแรง ซึ่งมีการศึกษาพบว่ามีครอบครัวไม่น้อยที่ยังขาดองค์ความรู้ในการเลือกวิธีคลอดลูก และไม่รู้ว่าวิธีคลอดสัมพันธ์โดยตรงกับสุขภาพเด็กทั้งระยะสั้นและระยะยาว ทำให้พ่อแม่ยุคใหม่ “ใช้วิธีผ่าคลอด” โดยที่ “ไม่มีความจำเป็น หรือไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์” โดยส่วนหนึ่งนั้น สาเหตุที่หลายครอบครัวเลือกตัดสินใจใช้วิธีนี้ มาจากเรื่อง “ความเชื่อเกี่ยวกับฤกษ์ผานาที” ขณะที่บางส่วนเลือกผ่าคลอดก็เพราะ “กลัวความเจ็บปวดขณะคลอด”
อย่างไรก็ตาม การที่เลือกใช้วิธี “คลอดลูกด้วยการผ่าตัด” ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นหรือข้อบ่งชี้ในทางการแพทย์ กรณีนี้ได้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ หลายด้าน ทั้งกับตัวเด็ก ทั้งตัวมารดาของเด็ก รวมไปถึงระบบสาธารณสุขด้วย
สำหรับ “ผลกระทบต่อคุณแม่” ที่คลอดโดยผ่าตัด คือ มักมีปัญหาการฟื้นตัวล่าช้า กว่าวิธีคลอดแบบธรรมชาติอีกทั้งยัง เพิ่มความเสี่ยงเมื่อตั้งครรภ์ในครั้งถัดไป จากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น การแท้ง การตั้งครรภ์นอกมดลูก การเกิดพังผืดในช่องท้อง และการเกิดรกฝังตัวลึกในมดลูก จากรอยแผลผ่าตัดเดิมอีกด้วย
ส่วน “ผลกระทบต่อทารก” ในชุดข้อมูลได้อ้างอิงบทความต่างประเทศที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Epidemiology ปี 2554 ที่ระบุว่า การผ่าคลอดอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อทารกได้ตั้งแต่แรกคลอด แบ่งเป็น ระยะสั้น ที่ทำให้ทารก มีความเสี่ยงปัญหาการหายใจ ปัญหาการทำงานของหัวใจ ปัญหาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง มากกว่าเด็กที่คลอดตามธรรมชาติ ขณะที่ ระยะยาว นั้น เมื่อเด็กโตขึ้นจะ มีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหืด โรคอ้วน ได้มากกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ
อินเดียเผชิญปัญหาการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการผ่าตัดคลอด
4 มีนาคม 2567
สำนักข่าว The Times of India รายงานข่าววันที่ 4 มีนาคม ว่าที่รัฐกรณาฏกะทางตอนกลางของอินเดีย มีการเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วของการผ่าตัดคลอดเห็นได้อย่างชัดเจน จากราว ๆ 30% ในช่วงปี 2018-19 มาเป็น 41% ในปี 2023-24
การผ่าตัดคลอดส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งคุณหมอในโรงพยาบาลมักอ้างถึงสาเหตุความจำเป็นในการผ่าตัดคลอดว่าเป็นเพราะโรคประจำตัวของแม่ เช่น ความดันสูง เบาหวาน และแม่มีอายุมาก
แต่เมื่อลงลึกถึงสาเหตุที่แท้จริงแล้วจะพบว่า ในโรงพยาบาลเอกชนของอินเดียจะมีอัตราการผ่าตัดคลอดสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐ โดยมักเป็นการร้องขอให้ผ่าตัดคลอดโดยสตรีตั้งครรภ์เอง เนื่องจากกลัวความเจ็บปวด ต้องการให้คลอดตามฤกษ์ (Mahurat C-sections) และความเข้าใจผิดว่าการผ่าตัดคลอดนั้นปลอดภัย โดยการผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลเอกชนนี้จะเกิดขึ้นในกลุ่มของสตรีตั้งครรภ์ที่คอนข้างมีฐานะ
การผ่าตัดคลอดที่เกิดขึ้นในอินเดียนั้น คล้ายกับหลาย ๆ ประเทศที่มีวัฒนธรรมความเชื่อที่คล้ายคลึงกัน โดยมักเป็นการผ่าตัดคลอดโดยที่ไม่ได้มีเหตุจำเป็นทางการแพทย์ แต่มีความเกี่ยวข้องกับแรงจูงใจทางการทำกำไรของโรงพยาบาล
Read more at: http://timesofindia.indiatimes.com/artic…/108189991.cms…
จุลินทรีย์ที่ดีได้ฟรีตั้งแต่คลอด
29 กุมภา 2567
ของขวัญที่ดีที่สุดที่แม่จะมอบให้แก่ลูกน้อยได้คือจุลินทรีย์ที่ดีจากช่องคลอดของแม่
สารคดีสั้นเรื่อง “Let them eat dirt” (ปล่อยลูกเล่นดินเล่นทรายบ้าง) จากช่อง Microbial Movie (https://www.youtube.com/watch?v=yHIc2ZBxaK8) พูดเรื่องประโยชน์ของการคลอดธรรมชาติที่มีต่อทารกน้อยตั้งแต่แรกเกิด เพราะจะเป็นการให้จุลินทรีย์ตัวดีผ่านช่องคลอดของแม่ เสริมภูมิคุ้มกันและปกป้องลูกน้อยตั้งแต่กำเนิด จากความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคอ้วน โรคหอบหืด
แนวโน้มการผ่าคลอดในไทยเพิ่มสูง: ถึงเวลาต้องพูดคุยอย่างจริงจังแล้วหรือไม่?
12 กุมภาพันธ์ 2567
รู้ไหมว่าจำนวนการผ่าคลอดวันธรรมดาสูงกว่าวันศุกร์เสาร์อาทิตย์อย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับคลอดธรรมชาติที่อัตราการคลอดแต่ละวันใกล้เคียงกัน
นั่นเป็นการแสดงให้เห็นถึงการนัดผ่าเอา (ฤกษ์) สะดวก โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่สมควรหรือไม่?
จากข้อมูลจากฐานข้อมูล e-Claim ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แสดงให้เห็นรูปแบบที่น่าสนใจของการผ่าคลอดในช่วงปี พ.ศ. 2562 ถึง ปี พ.ศ. 2564 ว่าการคลอดธรรมชาติโดยเฉลี่ยในแต่ละวันมีปริมาณใกล้เคียงกัน แต่การผ่าคลอดมีจำนวนมากในช่วงวันทำการของโรงพยาบาล และระดับการทำหัตถการลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์
ปริมาณการผ่าคลอดที่สูงอย่างชัดเจนในช่วงวันทำการนั้น ชวนให้เกิดข้อสงสัยว่าประเทศไทยมีการผ่าคลอดโดยไม่จำเป็นหรือไม่ (Unnecessary Caesarean Section) เช่น การเลือกวันคลอดตามฤกษ์มงคล และตามความพร้อม ความสะดวกของทั้งหญิงตั้งครรภ์และแพทย์ที่ทำการผ่าคลอด
ในโลกยุคใหม่ที่เน้นความรวดเร็ว ความสะดวก แต่กลับละเลยที่จะพิจารณาถึงผลที่จะตามมาต่อสุขภาพในระยะยาว
ข้อมูลจาก: Policy Brief ฉบับที่ 139 แนวโน้มการผ่าคลอดในไทยเพิ่มสูง: ถึงเวลาต้องพูดคุยอย่างจริงจังแล้วหรือไม่? ( https://www.hitap.net/documents/184063 ) โดย HITAP โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
คุณแม่เคยผ่าตัดคลอด ถ้าหากตั้งครรภ์อีกครั้ง จะเพิ่มความเสี่ยงอะไรบ้าง
8 กุมภาพันธ์ 2567
ผลการวิจัยที่รวบรวมโดยองค์การอนามัยโลก (แหล่งข้อมูล: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6611838/ ) ได้คำนวณความเสี่ยงที่อาจจะเกิดเพิ่มขึ้นต่อทั้งคุณแม่และทารกในด้านต่าง ๆ
ข้อมูลเหล่านี้เพื่อให้คุณแม่ตระหนักไว้ เพื่อจะได้ติดตาม ป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดอย่างใกล้ชิด และในท้องแรก หากไม่ได้มีความจำเป็นในทางการแพทย์ คุณแม่ควรตัดสินใจเลือกคลอดธรรมชาติเองทางช่องคลอด เพื่อความปลอดภัยในระยะยาวของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ถัด ๆ ไปนะคะ
ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของคุณแม่ที่เคยผ่าคลอด ต่อการตั้งครรภ์ครั้งถัดไป
– มดลูกแตก 7.74 เท่า
– รกเกาะลึกรุนแรง 2.60 เท่า
– มารดาเกือบเสียชีวิต 1.91 เท่า
– อาการรุนแรงอื่น ๆ 1.80 เท่า
– รกเกาะต่ำ 1.76 เท่า
ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อทารกในครรภ์ถัดไป
– เข้ารักษาตัวใน NICU 1.31 เท่า
– ทารกเกือบเสียชีวิต 1.19 เท่า
– คลอดก่อนกำหนด 1.07 เท่า
– ลดความเสี่ยงทารกตายคลอด 0.80 เท่า : decreased risk of macerated stillbirth (aOR 0.80; 95% CI 0.67, 0.95)
งานวิจัยยืนยันผ่าคลอดเสี่ยงภาวะทารกตายคลอด
5 กุมภาพันธ์ 2567
งานวิจัยล่าสุดเผยว่า แม่ที่เคยผ่าคลอดมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าที่ทารกจะเสียชีวิตในการตั้งครรภ์ครั้งถัดไป
งานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสารสูตินรีศาสตร์ชื่อดัง BJOG (ที่มา: https://obgyn.onlinelibrary.wiley.com/…/1471-0528.17760) เรื่อง ความเสี่ยงของภาวะทารกตายคลอดหลังจากการผ่าตัดคลอด การศึกษาจากการเก็บข้อมูลทั่วประเทศของสวีเดน (Risk of stillbirth after a previous caesarean delivery: A Swedish nationwide cohort study)
เป็นงานวิจัยที่มีจำนวนเคสการศึกษากว่าหนึ่งล้านเคส ซึ่งนับว่าเป็นการศึกษาที่มีกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่มาก เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราความเสี่ยงของการที่ทารกจะเสียชีวิตในครรภ์ โดยได้ศึกษาเปรียบเทียบในกลุ่มแม่ที่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อน เปรียบเทียบกับแม่ที่คลอดธรรมชาติทางช่องคลอด
ผลการศึกษาพบว่าจากการเก็บข้อมูลการคลอดในครรภ์ทารกเดี่ยว (ไม่ใช่การตั้งครรภ์แฝด) จำนวนถึง 1,771,700 เคส จากจำนวนสตรีตั้งครรภ์ถึง 885,850 คน พบว่ามีความเสี่ยงที่ทารกจะเสียชีวิตในครรภ์เพิ่มขึ้นถึง 37% ในกลุ่มแม่ที่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อนหน้านี้เมื่อเปรียบเทียบกับแม่ที่คลอดธรรมชาติทางช่องคลอด
ประโยชน์ของการมีเพื่อนผู้คลอด
2 กุมภาพันธ์ 2567
แอนนิเมชั่นซีรีย์ “เพื่อนผู้คลอด” ตอนที่ 3 – ประโยชน์ของการมีเพื่อนผู้คลอด
การมีเพื่อนผู้คลอดมีประโยชน์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของคุณแม่ผู้คลอดเลยนะคะ ผลการวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า การมีเพื่อนผู้คลอดเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงของการผ่าตัดคลอด ทั้งยังช่วยส่งเสริมให้การคลอดธรรมชาติทางช่องคลอดราบรื่นมากขึ้นด้วย นั่นเป็นเพราะคุณแม่ได้รับกำลังใจและการดูแลอย่างใกล้ชิดจากบุคคลที่ไว้ใจที่สุด จึงทำให้ลดความกลัวความวิตกกังวลจากการคลอดลงได้ค่ะ
สำหรับคุณแม่ที่กำลังเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญที่สุดในชีวิต กำลังใจสำคัญมาก ๆ เลยนะคะ
บทบาทของเพื่อนผู้คลอด
29 มกราคม 2567
แอนนิเมชั่นซีรีย์ “เพื่อนผู้คลอด” ตอนที่ 2 – บทบาทของเพื่อนผู้คลอด
เพื่อนผู้คลอดไม่ได้มีแค่หน้าที่ช่วยเหลือคุณแม่ระหว่างคลอดเท่านั้นนะคะ แต่ยังมีบทบาทสำคัญทั้งในตอนตั้งครรภ์และหลังคลอดอีกด้วย เพื่อนผู้คลอดจึงควรเป็นบุคคลที่คุณแม่ไว้ใจที่สุดและได้เลือกเองเพื่อให้มาทำหน้าที่นี้ โดยอาจจะเป็นสามี คู่ชีวิต ญาติสนิท หรือเพื่อนสนิทก็ได้
รู้จักการวางแผนผ่าตัดคลอด (Elective C-section)
5 มกราคม 2567
การวางแผนผ่าตัดคลอด (Elective Cesarean Section) มีความจำเป็นเมื่อแม่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงในสภาวะการตั้งครรภ์ จนไม่อาจคลอดทางช่องคลอดเองได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัวผ่าตัดคลอด
อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดคลอดเป็นการผ่าตัดใหญ่ ที่ย่อมมีความเสี่ยงสูงกว่าในหลาย ๆ ด้าน แม่ตั้งครรภ์จึงควรศึกษาและตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างและภายหลังการผ่าตัดคลอดค่ะ
เนื้อหาข้อมูลจากข้อแนะนำเรื่องการให้ความยินยอมก่อนการผ่าตัดคลอด โดยสหพันธ์สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยานานาชาติ (International Federation of Gynecology and Obstetrics หรือ FIGO)
การกลัวการคลอดสามารถนำไปสู่การขอผ่าตัดคลอดโดยไม่มีความจำเป็นได้
29 ธันวาคม 2566
อาการกลัวการคลอด (Tokophobia) อาจเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งกับคุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์การคลอดมาก่อน โดยส่วนใหญ่มักจะกลัวความเจ็บปวด กลัวว่าตนเองจะไม่สามารถคลอดเองได้ กังวลเรื่องสวัสดิภาพความปลอดภัยทั้งของตนเองและลูกน้อย
การกลัวการคลอดจึงอาจนำไปสู่การขอผ่าตัดคลอดทั้งที่ไม่ได้มีความจำเป็นทางการแพทย์ได้ คุณแม่จึงควรปรึกษากับแพทย์หรือพยาบาลเพื่อขอคำแนะนำและศึกษาหาความรู้กระบวนการขั้นตอนการคลอด รวมไปถึงเข้าคลาสเตรียมการคลอด
ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการขั้นตอนการคลอดตามธรรมชาติอย่างถูกต้อง รวมถึงประโยชน์และความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการคลอด จะทำให้คุณแม่ไม่ตื่นตระหนกหรือวิตกกังวลจากความไม่รู้
งานวิจัยเผยผ่าคลอดมาก่อนทำให้ตั้งท้องได้ยากขึ้น
18 ธันวาคม 2566
งานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร American Journal of Obstetrics and Gynecology เรื่อง The relationship between cesarean delivery and fecundability: a population-based cohort study (ที่มา: https://www.ajog.org/article/S0002-9378(23)00759-7/fulltext ) ชี้ถึงความสัมพันธ์ของการผ่าตัดคลอดที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ครั้งถัดไปที่จะยากมากขึ้น
ผลสำรวจของการเก็บข้อมูลการตั้งครรภ์ของสตรีกว่าสี่หมื่นคนในการศึกษาจากประเทศนอร์เวย์พบว่า แม่ที่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อนมีแนวโน้มที่จะปฏิสนธิและตั้งครรภ์บุตรคนต่อไปได้ยากกว่า แม่ที่คลอดโดยวิธีธรรมชาติทางช่องคลอด
ผลการศึกษาพบว่าแม่ที่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อนจะลดโอกาสการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปลงได้ถึง 10%
ในขณะเดียวกัน ผลการวิจัยก็ยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่าสตรีที่มีปัญหาตั้งครรภ์ยาก มักจะลงเอยด้วยการผ่าตัดคลอดสูงกว่าที่จะคลอดธรรมชาติ โดยนักวิจัยพบว่าสตรีที่ใช้เวลามากกว่าหนึ่งปีในการพยายามตั้งครรภ์ จะมีแนวโน้มมากขึ้นถึง 21% ที่จะลงเอยด้วยการผ่าตัดคลอด
ทำความรู้จักกับโครงการ “เพื่อนผู้คลอด” รพ.ศิริราชกัน
12 ธันวาคม 2566
(ที่มา – รายการเพชรหอมพร้อมลุย ช่อง7HD – 9 ธันวาคม 2566)
“การมีเพื่อนผู้คลอด ควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของสตรีตั้งครรภ์”
วันนี้พาไปบุกห้องคลอดของรพ. ศิริราช หนึ่งในโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการวิจัย Quali-Dec คลอดปลอดภัย ที่ตอนนี้มีโครงการ “เพื่อนผู้คลอด” เพื่อสนับสนุนการคลอดธรรมชาติที่ปลอดภัยโดยการมีเพื่อนผู้คลอดที่คุณแม่ตั้งครรภ์เลือก เพื่อให้เข้าไปให้กำลังใจในระหว่างการคลอด
งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่ากำลังใจและการสนับสนุนทางด้านร่างกายและอารมณ์จากเพื่อนผู้คลอด ช่วยให้สตรีผู้คลอดสามารถประสบความความสำเร็จในการคลอดธรรมชาติมากขึ้นด้วย
หญิงไทยผ่าตัดคลอดสูงเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย ผลกระทบมากกว่าที่คิด!
28 พฤศจิกายน 2566
ที่มา: ข่าวค่ำมิติใหม่ Thai PBS 28 พฤศจิกายน 2566
วันนี้ (28 พ.ย. 66) วงประชุมออนไลน์ร่วมกันระหว่าง เครือข่ายสูตินรีแพทย์ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย โครงการวิจัยคลอดปลอดภัย และกรมการแพทย์ ประชุมการลดอัตราการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็น จากสถานการณ์ผ่าตัดคลอดในประเทศไทย ปัจจุบันสูงถึงร้อยละ 36 ถือเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย รองจาก เกาหลีใต้ และจีน
ศ.นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ หัวหน้าโครงการวิจัยคลอดปลอดภัย กล่าวว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่รับข้อมูลทั้งข้อดีและข้อเสีย เกี่ยวกับการผ่าตัดคลอด เข้าใจว่าปลอดภัยต่อแม่และลูก รวมทั้งสะดวกเรื่องการบริหารจัดการเวลา ทั้งแม่ และแพทย์ที่ผ่าคลอด ผลกระทบการผ่าตัดคลอด คือ ทำให้แม่เสียเลือดมาก เสี่ยงติดเชื้อ และผลกระทบระยะยาวหากตั้งครรภ์ครั้งต่อไป มีโอกาสที่รกจะฝังแน่นในกล้ามเนื้อมดลูก และเมื่อคลอดจะคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงตกเลือดหลังคลอด เป็นอันตรายต่อชีวิต
โครงการ “เพื่อนผู้คลอด” รพ. ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น
28 พฤศจิกายน 2566
รายการคุยรอบทิศ FM 103 มหาวิทยาลัยขอนแก่น สัมภาษณ์เกี่ยวกับโครงการ เพื่อนผู้คลอด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีผู้ดูแลโครงการเพื่อนผู้คลอด พว. พรพนา เกษร และพว. ลัดดาภรณ์ ชินทอง ให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566
โรงพยาบาลศิริราชหนุนหญิงท้องมี “เพื่อนผู้คลอด”
13 พฤศจิกายน 2566
ที่มา – https://www.thairath.co.th/news/local/2740163
ปัจจุบันการทำคลอดมีหลายวิธี ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้คลอดตามธรรมชาติเป็นลำดับแรก เนื่องจากลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ แต่คุณแม่หลายคนมักกังวลหรือกลัวในระหว่างกระบวนการเจ็บครรภ์คลอด ถึงแม้จะมีแพทย์อยู่ด้วยก็ตาม
WHO จึงให้ความเห็นว่า การมี “เพื่อนผู้คลอด” (Companion of choice during labor) ควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมีที่คุณแม่สามารถเลือกบุคคลที่ไว้วางใจเข้าไปในห้องคลอดได้ อาทิ สามี ญาติ เพื่อนสนิท เป็นต้น
จากงานวิจัยพบว่า การมีเพื่อนผู้คลอดช่วยเพิ่มผลลัพธ์ด้านร่างกายและจิตใจให้อยู่ในสภาวะที่พร้อมต่อการคลอด ลดความตึงเครียด ความกังวลและลดปริมาณการใช้ยาแก้ปวด เพิ่มความพึงพอใจในการรับบริการ รวมถึงอาจช่วยลดการผ่าคลอดที่ไม่จำเป็นลงได้
แต่ปัจจุบันการมีเพื่อนผู้คลอดยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ทั้งนี้ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ได้จัดทำโครงการ “เพื่อนผู้คลอด” ได้พัฒนาระบบให้สอดคล้องความประสงค์การเข้าร่วมโครงการของคุณแม่และญาติ ซึ่งดำเนินการตั้งแต่เดือน ม.ค.2566 จนถึงปัจจุบันได้รับเสียงตอบรับที่ดี
ผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่วางแผนจะคลอดเองตามธรรมชาติที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง สามารถร่วมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงแต่สตรีตั้งครรภ์และเพื่อนผู้คลอดต้องผ่านการอบรมกฎกติกาความรู้ที่จำเป็น และการปฏิบัติตนระหว่างการเป็นเพื่อนผู้คลอด
สตรีตั้งครรภ์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการติดต่อหน่วยฝากครรภ์ รพ.ศิริราช โทร. 0-2419-8815 หรือ 0-2419-7367 สำหรับ รพ.ที่มีความประสงค์จัดทำโครงการ “เพื่อนผู้คลอด” สอบถาม โทร. 0-2419-7000 ต่อ 4666, 4777, 4888 หรือ 4999.
ประสบการณ์การคลอดอันเจ็บปวด (Traumatic childbirth) เกิดขึ้นได้กับคุณแม่มือใหม่ถึง 45%
26 ตุลาคม 2566
สส. หญิงชาวอังกฤษร่ำไห้เมื่อพูดถึงประสบการณ์การคลอดอันเจ็บปวดของตนเอง
นางเธโอ คลาก สส. จากพรรคอนุรักษ์นิยมของอังกฤษ ถึงกับร่ำไห้เมื่อต้องเล่าถึงประสบการณ์การคลอดที่เกือบคร่าชีวิตเธอจากการตกเลือดหลังการคลอด “ฉันคิดว่าฉันจะต้องตายแน่ ๆ ” คลากได้แชร์ประสบการณ์อันเจ็บปวดในฐานะผู้หญิงและแม่คนหนึ่ง ในการกล่าวปาฐกถาเพื่อสนับสนุนการรณรงค์ให้มีการดูแลหลังการคลอดที่ดีขึ้น
ประสบการณ์การคลอดอันเจ็บปวด (Traumatic childbirth) เกิดขึ้นได้กับคุณแม่มือใหม่ถึง 45% ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงการก่อให้เกิดความเครียดหลังการคลอดด้วย โดยงานวิจัยกล่าวไว้ว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในเรื่องนี้มาจากสุขภาพจิตก่อนคลอดของแม่เอง และคุณภาพในการให้บริการทางการแพทย์ที่ไม่เพียงพอ (Simpson & Catling, 2016)
โดยสาเหตุของ trauma นี้ อาจเกิดจาก
– การคลอดไม่ได้เป็นดังที่หวังและตั้งใจไว้
– เกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น การตกเลือด และการฉีกขาดของช่องคลอด
– การต้องเข้ารับการผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน หรือการต้องใช้เครื่องมือแพทย์ในการช่วยคลอด เช่น เครื่องดูดสุญญากาศ คีมคีบ
– ทั้งแม่และทารกเกิดบาดเจ็บในระหว่างการคลอด
– ทารกต้องเข้ารับการดูแลทางการแพทย์เป็นพิเศษหลังคลอด
– ไม่ได้รับการบริการและการสนับสนุนที่ดีจากโรงพยาบาล
ที่มา – บีบีซี ( https://www.bbc.com/news/av/uk-politics-67163350 )
แม่ชาวแคนาดามีอัตราการบาดเจ็บจากการคลอดโดยใช้เครื่องมือแพทย์ช่วยคลอด “สูงเกินปกติ”
25 ตุลาคม 2566
ที่มา – https://www.cbc.ca/news/health/forceps-injury-1.7002212
แม่ชาวแคนาดามีอัตราการบาดเจ็บที่รุนแรงและยาวนานจากการคลอดโดยใช้เครื่องมือแพทย์ช่วย เช่น คีมคีบ และเครื่องดูดสุญญากาศ
งานวิจัยล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2566 (https://www.bmj.com/content/383/bmj-2022-073991) จากมหาวิทยาลัย McMaster ประเทศแคนาดา เผยให้เห็นอัตราการบาดเจ็บรุนแรงของคุณแม่ผู้คลอดที่เกิดจากการใช้เครื่องมือแพทย์ในการช่วยคลอด สูงถึง 16% จากค่าเฉลี่ยปกติเพียงแค่ 5% เท่านั้น
ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่ามีแม่ผู้คลอด 1 ใน 4 คน ที่ต้องใช้เครื่องมือแพทย์ช่วยในระหว่างการคลอด และ มีแม่ถึง 1 ใน 8 คน ที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงจากการใช้เครื่องมือนี้ ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในกลุ่ม 24 ประเทศที่มีรายได้สูง ซึ่งในประเทศแคนาดามีการใช้เครื่องมือแพทย์ช่วยในการคลอดในภาพรวมถึง 15%
ในการป้องกันอุบัติเหตุเช่นนี้ จึงควรมีการเตรียมตัวและมีการฝึกอบรมการใช้หัตถการทางการแพทย์ เช่น การตัดฝีเย็บ (episiotomies) อย่างเชี่ยวชาญและเหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดการบาดเจ็บที่รุนแรงจากการคลอดได้
นอกจากนี้แพทย์ยังแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์หมั่นออกกำลังกายโดยเน้นการบริหารเพื่อช่วยขยายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนคลอดด้วย
5 ข้ออันตรายจากการ “ผ่าคลอด”
3 ตุลาคม 2566
ที่มา: MGR online (https://mgronline.com/qol/detail/9600000076503)
5 ข้ออันตรายจากการ “ผ่าคลอด” ทั้งภาวะแทรกซ้อนจากยาสลบ เสียเลือดมากกว่าคลอดธรรมชาติ ติดเชื้อง่าย เสี่ยงผ่าตัดถูกอวัยวะอื่น เจ็บแผลนานกว่า ย้ำการคลอดควรเป็นกระบวนตามธรรมชาติ ผ่าตัดกรณีมีความจำเป็น
จากกรณี รศ.นพ.เอกชัย โควาวิสารัช นายแพทย์ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรม สาขาสูตินรีเวชกรรม กลุ่มงานสูตินรีเวชศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี ในฐานะประธานอนุกรรมการกิจการพิเศษ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ออกมาระบุว่า อัตราการผ่าคลอดของไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ซึ่งกลายเป็นค่านิยมใหม่ทั้งที่ไม่จำเป็น เนื่องจากการผ่าคลอดมีอันตรายมากกว่าทางช่องคลอด
รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เขียนบทความเรื่อง “จะคลอดธรรมชาติ หรือ ผ่าคลอดดีนะ?” ในเว็บไซต์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล โดยระบุว่า แม้จะยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การผ่าตัดคลอดในปัจจุบันมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง แต่ไม่ได้หมายความว่า การผ่าตัดคลอดจะไม่มีอันตรายอะไรเลย และเมื่อเปรียบเทียบกับการคลอดทางช่องคลอดแล้ว การผ่าตัดคลอดก็ยังคงมีอันตรายมากกว่าการคลอดทางช่องคลอดอยู่ดี โดยอันตรายจากการผ่าตัดคลอดเมื่อเปรียบเทียบกับการคลอดทางช่องคลอดที่ควรทราบมีหลายประการ ได้แก่
1. การผ่าตัดคลอดจะทำได้ คุณแม่ต้องได้รับยาระงับความรู้สึกหรือยาสลบ ซึ่งบางครั้งอาจมีภาวะแทรกซ้อนจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น การมีความดันโลหิตลดต่ำลงทันทีจากการบล็อกหลัง การสำลักน้ำหรืออาหารเข้าไปในหลอดลมจากการดมยาสลบ นอกจากปัญหาที่แม่แล้ว ลูกที่คลอดออกมาจากแม่ที่ได้รับยาสลบอาจเกิดการขาดออกซิเจนและตัวเขียวได้
2. การผ่าคลอดต้องใช้มีดกรีดทั้งที่หน้าท้องและมดลูกเป็นแผลขนาดใหญ่ ทุกครั้งที่กรีดมีด
จะมีการเสียเลือดจำนวนไม่น้อยตามมา ในขณะที่การคลอดทางช่องคลอดมีแผลที่ช่องคลอดเพียงเล็กน้อยและเสียเลือดน้อยกว่ากันมาก ถ้าคุณแม่ที่มีปัญหาเลือดจางอยู่แล้ว ถ้าต้องรับการผ่าคลอดอาจเกิดอันตรายได้ง่าย
3. การผ่าตัดคลอดมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าการคลอดทางช่องคลอด และมักเป็นการติดเชื้อที่รุนแรงในช่องท้อง บางรายอาจเสียชีวิตได้
4. การผ่าตัดคลอดมีโอกาสลงมีดไปโดนอวัยวะอื่น เช่น ลำไส้หรือ กระเพาะปัสสาวะได้ โดยเฉพาะในรายที่เป็นการผ่าตัดคลอดท้องหลังซึ่งการผ่าตัดครั้งแรกมีพังผืดในช่องท้องค่อนข้างมาก
5. การผ่าตัดคลอดจะทำให้คุณแม่เจ็บแผลหลังคลอดมากและนานกว่าการคลอดทางช่องคลอด บางคนผ่ามา 3 – 5 วันแล้วยังเดินไม่ค่อยไหว ให้ลูกกินนมแม่ยังไม่ได้เพราะปวดแผลก็มี แต่ถ้าคลอดทางช่องคลอดหลังคลอดวันเดียวก็เดินได้แล้ว
เคยผ่าคลอดแล้วต้องผ่าอีกหรือไม่นั้น รศ.นพ.วิทยา ระบุในบทความว่า ภายหลังการผ่าตัดคลอด มดลูกของคุณแม่จะมีแผลที่เกิดจากการผ่าตัด ซึ่งจะทำให้มดลูกไม่แข็งแรง คล้ายแก้วที่เคยร้าวและใช้กาวเชื่อมติดไว้ เมื่อมีการตั้งท้องครั้งใหม่มดลูกของคุณแม่อาจแตกได้ตอนใกล้ๆ คลอดหรือตอนเจ็บท้องคลอด ดังนั้น คุณหมอส่วนมากจึงมักแนะนำให้คุณแม่ที่เคยผ่าคลอดมาแล้วรับการผ่าตัดคลอดซ้ำ โดยการผ่าตัดครั้งหลังนี้ไม่จำเป็นต้องรอให้คุณแม่เจ็บท้องก่อน มีคุณแม่บางรายที่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อนและคุณหมอแนะนำให้คลอดทางช่องคลอดได้ รายเช่นนี้คุณหมอต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างละเอียดว่าต้องไม่เสี่ยงต่อการแตกของมดลูก เช่น ลูกต้องตัวไม่ใหญ่มาก แม่มีแรงเบ่งดี เป็นต้น ในขณะดูแลคุณแม่ตอนเจ็บท้องคลอดก็ต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถดูแลคุณแม่อย่างดี มีอุปกรณ์ดูแลพร้อมเพรียงและถ้าจำเป็นสามารถผ่าตัดคลอดได้ทันที
“การคลอดเป็นขบวนการตามธรรมชาติ จึงควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ การผ่าตัดคลอดโดยไม่มีเหตุผลและความจำเป็นที่เพียงพอ อาจทำให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์เสี่ยงอันตรายโดยไม่จำเป็นได้ ขอให้คุณแม่คลอดลูกโดย “ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย” กันทุกคนนะครับ” รศ.นพ.วิทยา ระบุในบทความ
งานวิจัยออสเตรเลียเผยแม่รู้สึกผิดที่เตรียมตัวไม่พร้อม
26 กันยายน 2566
กว่า 85% ของคุณแม่ชาวออสเตรเลียเผยว่าตนเองจะเลือกตัดสินใจเรื่องการคลอดอีกแบบหากตั้งครรภ์อีกครั้ง
สตรีชาวออสเตรเลียจำนวน 6,101 คนได้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามที่จัดโดยโครงการการศึกษาการคลอดออสเตรเลีย (the Australian Birth Experience Study – BESt)
คุณแม่ส่วนมากโทษตัวเองว่าหาข้อมูลเรื่องการคลอดไม่เพียงพอ และมีจำนวนมากกล่าวว่าหากตั้งครรภ์ในครั้งต่อไปต้องการจะเลือกคลอดทางช่องคลอดแบบธรรมชาติแบบที่มีการแทรกแซงทางการแพทย์น้อยที่สุด และบางส่วนต้องการการสนับสนุนที่ดีเพื่อให้สามารถเลือกคลอดที่บ้านได้
39.2% ของคุณแม่ให้ความเห็นว่าในการคลอดครั้งถัดไปตนเองจะเตรียมตัวให้พร้อมกว่านี้ อีก 25.5% กล่าวว่าต้องการประสบการณ์การคลอดที่เฉพาะเจาะจง และ 17.8% บอกว่าต้องการการดูแลในรูปแบบเฉพาะ
โดยคุณแม่ชาวออสเตรเลียกว่า 80% คลอดที่โรงพยาบาล โดยมี 59.2% คลอดโดยวิธีธรรมชาติ และ 26.7% ที่คลอดโดยวิธีผ่าตัดคลอด
ที่มา: “What women want if they were to have another baby: the Australian Birth Experience Study (BESt) cross-sectional national survey” – https://bmjopen.bmj.com/content/13/9/e071582
ผลกระทบของการผ่าตัดคลอดต่อแม่และลูก โดย Quali-Dec ร่วมกับ Thai PBS
18 กันยายน 2566
โครงการคลอดปลอดภัยจับมือกับ Thai PBS ให้ความรู้เรื่องผลกระทบของการผ่าตัดคลอดต่อสุขภาพของมารดาและทารก ผ่านรายการ “รู้สู้โรค ตอน ผลกระทบของการผ่าตัดคลอดต่อสุขภาพมารดาและทารกในอนาคต” โดยมีผู้ประสานงานโครงการ Quali-Dec คลอดปลอดภัย ผศ. นพ. เกียรติศักดิ์ คงวัฒนกุล ร่วมเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ในครั้งนี้
รกเกาะลึก…ฝันร้ายของคนไข้และหมอสตูิ
15 กันยายน 2566
รกเกาะลึก…ฝันร้ายของคนไข้และหมอสตูิ
โดย อนุกรรมการจริยธรรม ราชวิทยาลัยสตูินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
ปัจจุบันการผ่าตัดคลอดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้มีโรครกเกาะลึกพบมากขึ้นตามมาด้วย
โรคนี้มีอันตรายเพราะเพิ่มการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในสตรีตั้งครรภ์หากไม่ได้รับการวินิจฉัย การดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมและทำให้เกิดการฟ้องร้องสตูิแพทย์ตามมา
รกเกาะลึก (Placenta accrete spectrum, PAS) เป็นความผิดปกติที่เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของตัวอ่อนฝังตัวเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก ซึ่งแบ่งตามความรุนแรงได้เป็น รกเกาะชิดกับกล้ามเนื้อมดลูก (placenta accreta) รกเกาะลึกลงไปในกล้ามเนื้อมดลูก (placenta increta) และ รกกินทะลุออกมานอกมดลูก (placenta percreta)
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของรกเกาะลึก คือ การผ่าตัดคลอด มีแผลผ่าตัดที่ตัวมดลูก เคยขูดมดลูกหรือผ่าตัดโดยการทำลายเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrial ablation) มาก่อน นอกจากนี้พบว่าการตั้งครรภ์ด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ART) ก็เพิ่มความเสี่ยงของรกเกาะลึกด้วย
อุบัติการณ์ของรกเกาะลึกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.3 ในรายที่เคยผ่าตัดคลอดครั้งเดียว เป็นร้อยละ 6.74 ถ้าเคยผ่าตัดคลอด 5 ครั้งขึ้นไป
รกเกาะต่ำเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงของรกเกาะลึก ซึ่งพบร้อยละ 3 ในรายที่มีรกเกาะต่ำแต่ไม่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อน และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11, ร้อยละ 40, ร้อยละ 61 และร้อยละ 67 ในรายที่มีรกเกาะต่ำและผ่าตัดคลอดเป็นครั้งที่ 2, 3, 4, และ 5 ขึ้นไป ตามลำดับ
ดังนั้นสตรีตั้งครรภ์ที่สงสัยว่ามี หรือมีรกเกาะลึก ถ้าไม่มีเลือดออกมากหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ควรให้คลอดช่วงอายุครรภ์ 34-35 6/7สัปดาห์ ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีความพร้อม มีเลือดและส่วนประกอบของเลือดปริมาณมากเพียงพอ ใน ICU มีสูตูินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการผ่าตัดคลอดและทีมแพทย์สหสาขาได้แก่ วิสัญญีแพทย์ ศัลยแพทย์ ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ ศัลยแพทย์ระบบหลอดเลือด แพทย์รังสีร่วมรักษา เพื่อให้ผลลัพธ์ของการรักษาดี คือ ทั้งมารดาและทารกปลอดภัย
ที่มา: อนุกรรมการจริยธรรม ราชวิทยาลัยสตูินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
Myanmar DAT Audiobook is now Available! หนังสือเสียงคู่มือผู้คลอดฉบับภาษาเมียนมาร์ พร้อมให้บริการแล้ว
8 กันยายน 2566
For Myanmar pregnant ladies, this audiobook is exclusively for YOU!
คู่มือผู้คลอด (DAT) หนังสือเสียงฉบับภาษาเมียนมาร์ พร้อมให้บริการแล้วค่ะ
ในโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการ Quali-Dec คลอดปลอดภัยกับเราหลาย ๆ แห่ง มีคุณแม่ชาวเมียนมาร์ที่มาทำงานในประเทศไทยมาใช้บริการมากมาย แน่นอนว่าหลาย ๆ คนก็ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้
คู่มือผู้คลอดจึงได้ผลิตออกมาเป็นเวอร์ชั่นภาษาเมียนมาร์ ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ (คลิ๊กที่นี่ https://online.anyflip.com/fylla/hmro/mobile/ ) และหนังสือเสียง
สธ. หนุนคลอดธรรมชาติ หลังพบอัตราการผ่าคลอดเพิ่ม ย้ำแพทย์ต้องมีจริยธรรม
22 สิงหาคม 2566
กระทรวงสาธารณสุขหนุนคลอดธรรมชาติ หลังพบอัตราการผ่าคลอดเพิ่ม ย้ำแพทย์ต้องมีจริยธรรม
แหล่งข่าว – PPTV ( https://www.pptvhd36.com/health/news/3883 )
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนให้หญิงท้องคลอดธรรมชาติ รวมทั้ง ขอให้สถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ยึดหลักการผ่าตัดคลอดของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย หลังพบอัตราการผ่าตัดคลอดมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ย้ำแพทย์ชักจูงให้ผ่าตัดคลอดโดยไม่มีข้อบ่งขี้ทางการแพทย์ ถือว่าผิดจริยธรรมทางการแพทย์
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากการศึกษาและการประมวลผลขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) พบว่า การผ่าตัดคลอดในประเทศไทยและนานาชาติมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อมารดาและทารกทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อีกทั้ง ยังมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงขึ้น สำหรับในประเทศไทย พบว่า อัตราการผ่าตัดคลอดในสถานพยาบาลของรัฐอยู่ในเกณฑ์สูงเช่นเดียวกัน คือ ร้อยละ 30 – 50
รายละเอียดข้อบ่งชี้ของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย มีดังนี้
1) การผ่าตัดคลอด ควรทำในรายที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ คือ เมื่อทารกไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้อย่างปลอดภัย หรือมารดามีภาวะแทรกซ้อนขั้นรุนแรงที่จะทำให้การคลอดทางช่องคลอดมีความเสี่ยง
2) ประชาชนควรทราบว่า การผ่าตัดคลอดมีความเสี่ยงต่อทั้งแม่มารดาและทารกมากกว่าการคลอดทางช่องคลอด ซึ่งอาจจะเป็นผลที่เกิดจากการผ่าตัดหรือการให้ยาระงับความรู้สึกก่อนการผ่าตัดคลอด
3) สตรีครรภ์ทุกราย ควรได้รับข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง ครบถ้วนและเหมาะสมเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของการผ่าตัดคลอดจากบุคลากรทางการแพทย์จนเข้าใจดี และลงนามยินยอมเข้ารับการผ่าตัด
4) การผ่าตัดคลอดตามคำร้องขอของมารดา (maternal request) เป็นการผ่าตัดคลอดที่เกิดจากความต้องการของสตรีตั้งครรภ์ หรือญาติโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ สูตินรีแพทย์ควรสอบถามเหตุผลรับฟังความต้องการ อภิปรายความเสี่ยงและประโยชน์ของการผ่าตัดคลอดให้สตรีตั้งครรภ์รับทราบจนเข้าใจดีแล้ว หากยังยืนยันที่จะทำผ่าตัดคลอด ให้ลงนามในเอกสารแสดงความจำนง และใบยินยอมรับการผ่าตัดกรณีที่สูตินรีแพทย์ไม่เห็นด้วยที่จะทำผ่าตัดคลอด ให้แนะนำหรือส่งต่อสตรีตั้งครรภ์ไปพบสูตินรีแพทย์ท่านอื่น
5) การผ่าตัดคลอดแบบวางแผนล่วงหน้า (scheduled elective cesarean section) เป็นการทำผ่าตัดที่มีการเตรียมการและระบุวัน เวลาไว้ชัดเจน แนะนำให้ทำผ่าตัดที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 39 สัปดาห์เป็นต้นไป
6) การที่แพทย์แนะนำหรือชักจูงให้สตรีตั้งครรภ์มาผ่าตัดคลอดโดยไม่มีข้อบ่งขี้ทางการแพทย์ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดถือเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรมทางการแพทย์
7) อัตราการผ่าตัดคลอดที่เหมาะสมของแต่ละสถานพยาบาลอาจแตกต่างกัน ขึ้นกับบริบทและสถานการณ์ที่รับผิดชอบ
8) สถานพยาบาล หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องควรเก็บข้อมูลการคลอดแบบ Robson classification เพื่อประโยชน์ในการประเมินและติดตามข้อมูลสำหรับการวางแผนการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานเพื่อลดการผ่าตัด
ทั้งนี้ การดำเนินงานตามหลักการดังกล่าว ก็เพื่อดูแลปกป้องสุขภาพมารดาและทารก และให้เกิดความปลอดภัยอย่างสูงสุด” ผู้อำนวยการกองอนามัยมารดาและทารกกล่าว
มุมมองแม่มือใหม่กับการคลอดธรรมชาติ | ข่าวเที่ยงไทยพีบีเอส
13 สิงหาคม 2566
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ ออกประกาศแสดงจุดยืนเรื่องการผ่าตัดคลอด หลังพบอัตราการผ่าตัดคลอดในไทยอยู่ในเกณฑ์สูงและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ คุณแม่หลายคนไม่รู้ว่าถ้าไม่มีข้อบ่งชี้ ไม่ควรผ่าตัดคลอด มีผลศึกษาว่าการผ่าคลอดไปเพิ่มความเสี่ยงให้ทั้งแม่และเด็ก แต่ก็ยังมีคุณแม่มือใหม่หลายคนที่กำลังตัดสินใจเพื่อหาวิธีดี ปลอดภัยที่สุดสำหรับแม่และลูก
ติดตามข่าวสำคัญ สถานการณ์เด่นในรายการ #ข่าวเที่ยงไทยพีบีเอส ได้ที่ www.thaipbs.or.th/program/catchup/106658#ThaiPBS
อัตราการเกิดในปัจจุบันก็ลดน้อยลงมากอยู่แล้ว ทำไมจึงจะไม่เลือกให้ทารกเกิดอย่างปลอดภัยและมีคุณภาพมากที่สุด?
7 สิงหาคม 2566
อัตราการผ่าตัดคลอดที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก เป็นเรื่องที่องค์กรอนามัยโลกให้ความความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ และจับตาดูแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น พร้อมทั้งได้รวบรวมคณะวิจัยจากหลากหลายองค์กรระดับนานาชาติมาร่วมระดมความคิดเพื่อหาวิธีการลดแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นของการผ่าตัดคลอด
ทำไมเรื่องการคลอดจึงเป็นประเด็นสำคัญที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญถึงขนาดนี้
เพราะการคลอดธรรมชาติทางช่องคลอด เป็นสิ่งที่ธรรมชาติได้ออกเเบบมาแล้วว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแม่และลูก ข้อดีที่ชัดเจนได้ศึกษาจากงานวิจัยหลายชิ้นยืนยันแล้วว่าทารกที่เกิดจากคลอดธรรมชาติจะได้รับภูมิคุ้มกันแรกคลอดดีกว่า อันจะส่งผลถึงสุขภาพในระยะยาวเมื่อเติบโตขึ้น ในขณะที่แม่เองก็จะฟื้นตัวได้เร็วกว่า สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบผลสำเร็จได้มากกว่า
ส่วนการผ่าตัดคลอดนั้นได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อไว้สำหรับช่วยชีวิตแม่และทารกในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งจะมีผลกระทบด้านสุขภาพตามมาได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวทั้งต่อแม่และทารก การนำเอาวิธีที่ใช้เพื่อช่วยชีวิตฉุกเฉินมาใช้โดยที่ไม่มีความจำเป็นนี้ ก่อให้เกิดกระทบในวงกว้างทั้งต่อสุขภาพของแม่และทารก ทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรทางการแพทย์ที่อาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่านี้ด้วย
แหล่งข้อมูล: https://www.who.int/…/16-06-2021-caesarean-section…
ร่วมเฉลิมฉลองสัปดาห์แห่งการให้นมแม่ของโลก (World Breastfeeding Week)
4 สิงหาคม 2566
ตลอดอาทิตย์ต้นเดือนสิงหาคมนี้ ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม นับเป็นสัปดาห์แห่งการให้นมแม่ของโลก (World Breastfeeding Week)
แม่ลูกอ่อนเป็นสิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์ที่ทรงพลังพิเศษ
แต่พลังพิเศษนั้นควรจะได้นำไปใช้เพื่อดูแลประชากรตัวน้อย ๆ อันทรงคุณค่าของโลกอย่างเต็มที่ ด้วยการให้นมแม่อย่างน้อย 6 เดือนเต็ม โดยไม่ต้องกังวลกับการที่จะต้องทำงานไปด้วย ให้นมลูกน้อยไปด้วย
องค์การอนามัยโลกจึงได้เรียกร้องให้คุณแม่ในทุกประเทศ
–ได้สิทธิ์ลาคลอดโดยได้รับค่าจ้างอย่างน้อย 6 เดือน
— ได้รับค่าจ้างชดเชยเมื่อคุณแม่ต้องขอใช้เวลางานเพื่อไปให้นมลูก หรือต้องใช้เวลาไปปั๊มนมในระหว่างการทำงาน
— ให้มีทางเลือกในการกลับเข้าทำงานที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของคุณแม่
งานดูแลประชากรตัวน้อย ๆ ที่จะเติบโตขึ้นมาเป็นประชากรคุณภาพของโลกเป็นงานสำคัญที่ต้องทุ่มเททั้งกำลังแรงกายและแรงใจ
มาช่วยกันสนับสนุนคุณแม่ให้สามารถให้นมลูกได้ครบอย่างน้อย 6 เดือนกันค่ะ
ที่มา: องค์การอนามัยโลก World Health Organization Facebook Page (https://www.facebook.com/photo?fbid=675241204635273&set=a.627139002778827)
WHO ชี้ ในทุก 2 นาที จะมีคุณแม่ตั้งครรภ์เสียชีวิตหนึ่งคน
24 กรกฎาคม 2566
รายงานขององค์การอนามัยโลกในปี 2563 พบว่า ในทุก ๆ วันจะมีสตรีจำนวน 800 คนเสียชีวิต อันเนื่องมาจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร นั่นหมายถึงว่าในทุก 2 นาที จะมีคุณแม่ตั้งครรภ์เสียชีวิตหนึ่งคน
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ SDG ได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะลดจำนวนคุณแม่ตั้งครรภ์ที่จะเสียชีวิตลงให้เหลือเพียง 70 ต่อ 100,000 คนภายในปี 2573
คณะทำงานนานาชาติในการประเมินอัตราการเสียชีวิตของมารดาจากองค์การสหประชาชาติ (MMEIG) ได้ร่วมมือกับองค์กรระดับนานาชาติอีกหลายองค์กร อาทิ องค์การอนามัยโลก ยูนิเซฟ ธนาคารโลก และอื่น ๆ ในการเก็บข้อมูลช่วงระหว่างปี 2543-2563 เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอัตราการตายของมารดาจากทั่วโลก
ซึ่งสามารถสรุปเป็นอัตราส่วนดังที่เห็นปรากฎในภาพ แสดงถึงจำนวนอัตราการเสียชีวิตในแต่ละภูมิภาคของโลก ในช่วงระหว่างปี 2543-2563
อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ – Trends in maternal mortality 2000 to 2020 (https://www.who.int/publications/i/item/9789240068759 )
ทานผักผลไม้เยอะ ๆ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแท้งได้
14 กรกฎาคม 2566
ทานผักผลไม้เยอะ ๆ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแท้งได้
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิ่งแฮม ได้รวบรวมข้อมูลจากผู้หญิงกว่า 60,000 คน พบว่า การรับประทานผักผลไม้ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากนม ธัญพืช ไข่ และอาหารทะเล มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแท้งในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ได้ โดยสรุปผลออกมาดังนี้
เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่บริโภคอาหารเหล่านี้น้อย ผลการวิจัยพบว่า
การรับประทานผลไม้ช่วยลดความเสี่ยงของการแท้ง 61%
การรับประทานผักช่วยลดความเสี่ยงของการแท้ง 41%
การรับประทานผลิตภัณฑ์นมช่วยลดความเสี่ยงของการแท้ง 37%
การรับประทานธัญพืชช่วยลดความเสี่ยงของการแท้ง 33%
การรับประทานไข่และอาหารทะเลช่วยลดความเสี่ยงของการแท้ง 19%
ที่มา – Diet high in fruit and vegetables linked to lower miscarriage risk https://www.sciencedaily.com/rel…/2023/04/230419095533.htm
กลัวนะ แต่ก็เลือกจะคลอดธรรมชาติ
12 กรกฎาคม 2566
กลัวนะ แต่ก็เลือกคลอดธรรมชาติ: เหตุผลที่คุณแม่ชาวจีนเลือกคลอดธรรมชาติ แม้ว่าจะมีภาวะกลัวการคลอด
งานวิจัยเรื่อง “Why do pregnant women with fear of birth prefer vaginal birth? A qualitative study in China” แหล่งข้อมูล https://doi.org/10.3389/fpsyg.2023.1110116 ตีพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่แสดงถึงเหตุผลการเลือกคลอดธรรมชาติของคุณแม่ชาวจีนที่มีภาวะกลัวการคลอด
โดยผลการเก็บข้อมูลและการสัมภาษณ์สตรีตั้งครรภ์ชาวจีนจำนวนหนึ่งสรุปว่า อาการกลัวการคลอดเป็นสภาวะอารมณ์ที่ซับซ้อน และยิ่งจะรู้สึกกลัวมากขึ้นไปอีกหากสตรีตั้งครรภ์มีสภาวะโดดเดี่ยวและรู้สึกสับสนไม่แน่ใจเกี่ยวกับการคลอด
แต่แม้จะมีภาวะกลัวการคลอด สตรีชาวจีนก็ยังเลือกที่คลอดธรรมชาติ อาจจะโดยการเลือกด้วยตัวเองหลังจากได้ศึกษาหาข้อมูลมาแล้ว หรือเลือกโดยการได้รับคำแนะนำจากแพทย์
เมื่อตัดสินใจแล้วก็จะจัดการกับอารมณ์ความคิดของตนเอง โดยการดึงสัญชาติญาณของความเป็นแม่ขึ้นมา การตั้งความหวังในทางที่ดีเกี่ยวกับการคลอด การโอบรับเอาวัฒนธรรมจีนที่เน้นเรื่องความอดทนอดกลั้น และการใช้ตัวช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดขณะคลอด
โดยทั้งหมดทั้งมวลนี้คุณแม่ชาวจีนเลือกโดยคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของทารกที่จะเกิดมาเป็นหลัก
ความพยายามในการหาวิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับทารกผ่าคลอด
26 มิถุนายน 2566
วิธีการเกิดของคนเรา โดยการคลอดตามธรรมชาติ หรือการผ่าคลอด ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราแตกต่างกัน
โดยทั่วไปแล้วเด็กที่เกิดด้วยการคลอดธรรมชาติผ่านทางช่องคลอด จะมีภูมิคุ้มกันดีกว่าตั้งแต่แรกเกิด โดยเมื่อเติบโตขึ้นจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ โรคอ้วน โรคหอบหืด และ ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน น้อยกว่าเด็กที่เกิดจากการผ่าตัดคลอด
หลายปีที่ผ่านมามีความพยายามทำงานวิจัยเกี่ยวกับการช่วยให้ทารกที่เกิดจากการผ่าคลอดมีโอกาสจะได้รับแบคทีเรียดีจากแม่ตั้งแต่แรกเกิดเช่นเดียวกันกับทารกที่เกิดจากการคลอดทางช่องคลอด ด้วยวิธีการที่เรียกว่า vaginal seeding
Vaginal seeding เป็นการใช้จุลินทรีย์จากช่องคลอดเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของทารกแรกคลอด โดยการใช้ผ้าก็อซหรือสำลีซับน้ำภายในช่องคลอด (Vaginal fluids) ของแม่ และนำไปป้ายในปากของทารก รวมทั้งจมูก รอบๆ ดวงตา และผิวหนัง
งานวิจัยล่าสุด ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 จากสหรัฐอเมริกา (ลิงค์งานวิจัย https://journals.asm.org/doi/10.1128/mbio.00491-23 ) เป็นงานวิจัยชิ้นแรก ๆ ที่ยืนยันว่า vaginal seeding สามารถช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีจากแม่สู่ทารกผ่าตัดคลอดได้
โดยวัดจากจำนวนจุลินทรีย์ที่ดีจากผิวหนังและอุจจาระของทารกเมื่อตอนที่ทารกอายุได้หนึ่งวัน และตอนที่ทารกอายุครบหนึ่งเดือน โดยพบว่าทารกผ่าคลอดที่ผ่านการทำ vaginal seeding จะมีจำนวนจุลินทรีย์ดีในร่างกายมากกว่ากลุ่มทารกผ่าคลอดที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการนี้ หรือทารกที่ผ่านกระบวนการแบบหลอก (placebo)
อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีผลการวิจัยชิ้นแรก ๆ จึงยังคงต้องมีการทำวิจัยต่อเนื่องเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลที่ชัดเจนต่อไป
ภาพประกอบจาก https://www.cambridge.org/…/8D379A9AD06529FF54F8D30DECC…
ลูกไม่กลับหัว จะคลอดอย่างไรดี
11 พฤษภาคม 2566
ทารกท่าก้น หรือ Breech presentation หมายถึง ทารกในครรภ์มารดาที่มีส่วนนำเป็นก้นหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของขาหรือร่วมกันอยู่ทางส่วนล่างของมดลูก และศีรษะอยู่ทางยอดมดลูก
ในช่วงระยะการตั้งครรภ์สองไตรมาสแรก การที่ทารกอยู่ในท่าก้นยังนับว่าเป็นเรื่องปกติเพราะทารกยังมีขนาดเล็กและมีพื้นที่ในครรภ์มากพอที่จะเคลื่อนไหว แต่เมื่อถึงช่วงระยะท้ายของการตั้งครรภ์แล้วทารกยังอยู่ในท่าก้น หรือ ยังไม่กลับเอาศีรษะลงเพื่ออยู่ในท่าพร้อมคลอด นั่นจึงจะนับว่าเป็นเหตุผิดปกติ
แม้ว่าการคลอดทารกท่าก้นโดยวิธีคลอดทางช่องคลอด หรือการคลอดธรรมชาตินั้นสามารถทำได้ แต่ก็นับว่ามีความเสี่ยงสูง ควรจะต้องมีสูติแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการทำคลอดทารกส่วนนำเป็นก้นเป็นผู้ดูแลเป็นพิเศษ
ดังนั้นวิธีการผ่าตัดคลอดสำหรับกรณีทารกอยู่ในท่าก้น จึงจะเป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่า โดยคุณแม่จะต้องมีการวางแผนและปรึกษากับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญล่วงหน้า เพื่อเลือกวิธีที่จะปลอดภัยมากที่สุดสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์ค่ะ
แหล่งข้อมูล: “Breeched Birth: Caesarean Section or Vaginal Delivery?” https://www.news-medical.net/…/Breeched-Birth-Caesarean…
“ชั่วโมงทอง” ความสำคัญของหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด
3 พฤษภาคม 2566
คุณแม่เคยได้ยินคำว่า “ชั่วโมงทอง” (the Golden Hour) กันไหมคะ
ในทางสูติศาสตร์นั้น เรารู้จัก Golden Hour ว่าหมายถึงช่วงเวลาหนึ่งชั่วโมงทันทีหลังคลอดค่ะ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญมากสำหรับคุณแม่และทารกแรกคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่คุณแม่ได้สัมผัสอุ้มกอดลูกน้อยและได้ให้นมทันทีหลังคลอด
เว็บไซต์ขององค์การยูนิเซฟ ได้อธิบายถึงประโยชน์ในทางวิทยาศาสตร์ของการที่คุณแม่ได้อุ้มกอดสัมผัสลูกทันทีหลังคลอดไว้หลายประการ คือ
1. ช่วยให้แม่และทารกน้อยรู้สึกสบายใจและสงบขึ้น
2. ช่วยให้การหายใจและการเต้นของหังใจทารกมีจังหวะที่สม่ำเสมอเร็วขึ้น ปรับตัวกับโลกนอกมดลูกของแม่ได้ไวขึ้น
3. กระตุ้นระบบย่อยอาหาร ทำให้ทารกต้องการนมแม่เร็วขึ้น
4. ทำให้อุณหภูมิร่างกายปรับสู่สภาพปกติได้เร็วขึ้น
5. ผิวเนื้อทารกที่สัมผัสกับร่ายกายแม่จะได้สัมผัสกับแบคทีเรียที่ดี กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ดีขึ้น
6. แม่จะได้รับการกระตุ้นฮอร์โมนที่ช่วยให้น้ำนมมาเร็วขึ้นและยังกระตุ้นสัญชาตญาณความเป็นแม่ได้ชัดเจนขึ้น
การคลอดทางช่องคลอด หรือการคลอดธรรมชาติ จะได้เปรียบตรงที่คุณแม่มีโอกาสได้ตักตวงชั่วโมงทองนี้ได้ทันทีหลังคลอดเลยนะคะ หากว่าคุณแม่และทารกน้อยไม่ได้มีภาวะฉุกเฉินใด ๆ หลังการคลอด
ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับการผ่าตัดคลอด เพราะการผ้าคลอดส่วนใหญ่จะพลาดโอกาสสำคัญนี้ได้ เนื่องจากคุณแม่และทารกมักจะไม่พร้อม เนื่องจากอยู่ในสภาวะการผ่าตัด คุณแม่ยังเจ็บแผลผ่าตัดหรือยังไม่หมดฤทธิ์ยาจากการผ่าตัดค่ะ
อ่านต่อได้ที่เว็บไซต์ยูนิเซฟ https://www.unicef.org.uk/…/skin-to-skin-contact/…
ภาวะทารกตัวโต (Macrosomia)
24 เมษายน 2566
Macrosomia หรือ ที่รู้จักในชื่อ ภาวะทารกตัวโต หรือทารกมีน้ำหนักตัวมากกว่า 4 กก.ขึ้นไป
ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่คุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดคลอดเพื่อความปลอดภัยของทั้งแม่และทารก
ล่าสุดเมื่อ 18 มกราคม 2566 ที่ผ่านมาที่ประเทศบราซิล ทารกน้อยเพศชายมีนามว่า แองเกอสัน ซานโตส (Angerson Santos) ถือกำเนิดขึ้นโดยการผ่าตัดคลอด โดยมีน้ำหนักแรกคลอดมากถึง 7.3 กก. ซึ่งนับว่าติดอันดับทารกตัวโตลำดับต้น ๆ ของโลก (ที่กินเนสบุ๊คได้บันทึกเอาไว้ ทารกที่เกิดมาหนักที่สุดในโลกเมื่อปี 1955 มีน้ำหนักถึง 10.2 กก.)
โดยปกติแล้วเด็กทารกชายจะมีน้ำหนักแรกเกิดประมาณ 3.3 กก. ในขณะที่เด็กทารกหญิงจะมีน้ำหนักเฉลี่ย 3.2 กก.
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะทารกตัวโตนี้ มีหลายสาเหตุด้วยกัน อาทิ คุณแม่มีน้ำหนักมาก คุณแม่มีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมาก (คุณแม่อายุมากกว่า 35 ปี จะมีอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะทารกตัวโตมากขึ้นถึง 20%) การตั้งครรภ์เกินกำหนดหรือมากกว่า 42 สัปดาห์ขึ้นไป
โดยภาวะทารกตัวโตนี้จะเกิดขึ้นกับทารกเพศชายมากกว่าทารกเพศหญิงถึง 3 เท่า
อันตรายของการคลอดทารกตัวโตมีมากมาย เช่น การคลอดผ่านทางช่องคลอดได้ลำบาก ทำให้เกิดการคลอดล่าช้า อาจเกิดการคลอดติดไหล่ทำให้ทารกหายใจได้ลำบาก แม่อาจเกิดช่องคลอดฉีกขาดจนนำไปสู่การตกเลือดได้
ดังนั้นในกรณีเช่นนี้การผ่าตัดคลอดจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและจำเป็นในทางการแพทย์ เพื่อที่จะสามารถช่วยชีวิตแม่และทารกได้อย่างปลอดภัย
แหล่งข่าว – https://theconversation.com/sixteen-pound-baby-born-in…
งานวิจัยเผยประสบการณ์การคลอดของแม่มีผลต่ออารมณ์ของทารก
19 เมษายน 2566
“ทำไมลูกเลี้ยงยากจัง?”
งานวิจัยล่าสุดพบว่าประสบการณ์การคลอดของแม่ มีผลต่ออารมณ์ของทารก
แม้ว่ายุคนี้การคลอดที่ทันสมัยจะช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตของแม่และทารกโดยเฉพาะในเคสการคลอดอันตราย แต่การคลอดที่ใช้หัตถการทางการแพทย์เข้าช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการใช้คีมคีบ เครื่องดูดสุญญากาศ ไปจนถึงการผ่าตัดคลอดต่างก็มีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของแม่และทารกเช่นกัน
งานวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2566 (https://shorturl.at/ewSZ2) เผยว่าการคลอดที่ต้องใช้หัตถการช่วยเหลือทางการแพทย์และยาแก้ปวดระหว่างคลอด มีผลสัมพันธ์กับพฤติกรรมและอารมณ์ของทารกแรกเกิด โดยเฉพาะเรื่องการร้องไห้งอแงและการเลี้ยงด้วยนมแม่ยากกว่าปกติ
ยิ่งไปกว่านั้นการใช้หัตถการเหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของแม่ และผลกระทบระยะยาวในความสัมพันธ์ของแม่และลูกด้วย
ผลจากอาการเครียดหลังคลอด และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดจากเหตุการณ์สะเทือนใจที่เกิดจากการคลอดลำบาก รวมไปถึงการที่ไม่ได้อุ้มกอดลูกเลยทันทีหลังคลอด เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของแม่และทารก รวมไปถึงกระบวนการให้นมแม่หลังคลอดด้วย
แม้ว่าผลการศึกษาอาจยังไม่สามารถยืนยันได้อย่างแน่ชัดเนื่องด้วยเป็นประสบการณ์ปัจเจกบุคคล แต่ก็พบความเกี่ยวข้องว่าความเครียดที่เกิดกับแม่ระหว่างการคลอดอาจส่งผลให้เกิดความเครียดต่อทารกด้วย
ในเชิงจิตวิทยาพบว่าระดับฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงระหว่างการรอคลอดส่งผลถึงทารกด้วย และพบระดับฮอร์โมนความเครียดที่สูงกว่าในสายสะดือของทารกที่คลอดโดยต้องใช้หัตถการทางการแพทย์เข้าช่วยเหลือ
อ่านรายงานข่าวเพิ่มเติมได้ที่ https://shorturl.at/wxCHI
ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของแม่และทารก
18 เมษายน 2566
ร้อนไหมคะ?
สงกรานต์ผ่านไปอย่างสนุกสนานชุ่มฉ่ำ แต่ก็เชื่อแน่ว่าทุกคนที่เล่นสงกรานต์อยู่ที่เมืองไทย คงจะรู้สึกได้ชัดเจนว่าอากาศช่วงเดือนเมษายนของเราปีนี้ร้อนมาก ๆ ร้อนอย่างต่อเนื่อง ร้อนจนแทบต้องร้องขอชีวิตกันแล้ว
ใช่ค่ะ นี่คือผลกระทบโดยตรงที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ที่เกิดจากฝีมือของ มนุษย์อันเกิดจากการใช้ทรัพยากรโลกอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น
ในทางการแพทย์ก็มีความความสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็นเช่นเดียวกันนะคะ อาทิ การผ่าตัดคลอดโดยไม่จำเป็น ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนได้เช่นเดียวกันค่ะ
เพราะอะไร?
ศ. นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ หัวหน้าโครงการคลอดปลอดภัย ได้ให้สัมภาษณ์ไว้กับนิตยสารวิจัย KKU Outreach ฉบับเดือนเมษายน 2566 ไว้ว่า “ผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็นทำให้โลกร้อนขึ้นได้ เพราะการผ่าตัดต้องใช้ยาสลบจำนวนมากกว่าปกติ ต้องใช้เครื่องมือ เสื้อผ้า ห้องผ่าตัด และยาอีกมากมาย เหล่านี้ทำให้ใช้ทรัพยากรของโลกเพิ่มขึ้น และมีหลายอย่างเลยที่เป็นเหตุให้โลกร้อนครับ”
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเมื่อเกิดภาวะโลกร้อนทำให้คุณภาพชีวิตทั้งของแม่และเด็กลดลง ทำให้คลอดก่อนกำหนดมากขึ้น มีผลให้น้ำหนักแรกคลอดลดลง รวมไปถึงภาวะแท้งคุกคามก็เพิ่มมากขึ้นด้วย
เราต้องเริ่มลงมือช่วยกันอย่างเป็นรูปธรรมในทุกรูปแบบที่เราทำได้แล้วค่ะ ไม่ว่าจะเป็นลดการใช้พลังงานอย่างไม่จำเป็นในรูปแบบต่าง ๆ (เช่น การเปิดแอร์ให้เฟอร์นิเจอร์ที่บ้านทั้งวัน 😝😝😝) ลดการใช้ถุงพลาสติก ลดการสร้างขยะ ลดความฟุ่มเฟือยที่ไม่ก่อประโยชน์ ลดการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็นก็ช่วยได้นะคะ 😄😁😆
รณรงค์หญิงไทยคลอดธรรมชาติ รายการ คนสู้โรค ThaiPBS
WHO เผยในทุก ๆ 2 นาที จะมีแม่เสียชีวิตอันเหตุเกิดจากการตั้งครรภ์และการคลอด
27 มีนาคม 2566
ในโลกยุคปัจจุบัน ทุก ๆ 2 นาที ยังคงจะมีแม่ที่เสียชีวิตจากเหตุที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์และการคลอดอยู่
ในเว็บไซต์ของ WHO เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 แสดงข้อมูลล่าสุดที่ได้เก็บรวบรวมจากทุกภาคพื้นทวีปทั่วโลก เพื่อใช้เป็นมาตรวัดอัตราส่วนการตายของมารดาต่อการเกิดมีชีพแสนคน (a global maternal mortality ratio, MMR) พบว่า ในปี 2020 ยังมีอัตราการเสียชีวิตของแม่สูงถึง 223 ต่อหนึ่งแสนคน หรือคิดเป็นจำนวน 287,000 คนทั่วโลก
โดยตัวเลขนี้ยังห่างจากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ที่ได้ตั้งเอาไว้ว่าภายในปี 2030 จะมีอัตราส่วนการเสียชีวิตของมารดา 70 คน ต่อหนึ่งแสนคนเท่านั้น
การตายของมารดา ได้ให้คำนิยามไว้ว่าเป็นการเสียชีวิตด้วยสาเหตุจากอาการแทรกซ้อนอันเกี่ยวเนื่องมาจากการตั้งครรภ์หรือการคลอดบุตร ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์หรือภายใน 6 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์
พื้นที่ที่มีการเสียชีวิตของแม่ จะเกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้ต่ำกว่าประเทศที่มีรายได้สูง โดยมีสาเหตุหลักเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการและทรัพยากรทางการแพทย์ที่เหลื่อมล้ำกันอยู่ในประเทศที่ร่ำรวยและยากจน
ข้อมูลตัวเลขแสดงให้เห็นว่า ในปี 2020 มีอัตราส่วนการเสียชีวิตของแม่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำมีจำนวนถึง 430 รายต่อหนึ่งแสนคน เมื่อเทียบกับประเทศที่มีรายได้สูงจำนวนเพียง 12 ราย ต่อหนึ่งแสนคนเท่านั้น
โดยสาเหตุของการเสียชีวิตนี้ บางส่วนมาจากสาเหตุที่สามารถป้องกันได้หากได้รับการดูแลและสามารถเข้าถึงทรัพยากรทางการแพทย์ได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึงทั้งช่วงก่อนการคลอด ระหว่างการคลอด และหลังการคลอด โดยสาเหตุหลัก ๆ เกิดจาก การตกเลือด การติดเชื้อ และภาวะความดันโลหิตสูงที่จำเพาะกับการตั้งครรภ์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.who.int/…/fact…/detail/maternal-mortality
ห่วงผ่าคลอดไทยสูง 50% เสี่ยงผลกระทบแม่ลูก
8 มีนาคม 2566
บทสัมภาษณ์ของคุณหมอโอ นพ.โอฬาริก มุกสิวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวช (เวชศาสตร์การเจริญพันธ์ุ) จากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร หนึ่งในแปดโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการวิจัย Quali-Dec คลอดปลอดภัย
คุณหมอเป็นอีกผู้หนึ่งที่สนับสนุนโครงการวิจัย Quali-Dec คลอดปลอดภัยแห่งประเทศไทยด้วยดีมาโดยตลอด เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้เรื่องความเสี่ยงของการผ่าตัดคลอดที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของแม่และลูก นี่คือบทสัมภาษณ์ของคุณหมอจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2566 ค่ะ
วิธีการลดการผ่าตัดคลอดจะทำได้โดยการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่คุณแม่ตั้งครรภ์ การให้มีเพื่อนผู้คลอดเข้าไปให้กำลังใจและความช่วยเหลือในห้องคลอด และการจัดการความเจ็บปวดระหว่างการคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อที่คุณแม่ผู้คลอดจะได้วางใจ อุ่นใจ และมีกำลังใจที่จะคลอดเองตามธรรมชาติได้ประสบความสำเร็จมากขึ้นค่ะ
สามารถติดตามเพจความรู้ดี ๆ ของคุณหมอได้ผ่านทางรายการ การแพทย์แปดนาที ในช่อง Facebook ด้วยนะคะ
อัตราการผ่าตัดคลอดในเกาหลีใต้พุ่งสูงเกือบ 60%
22 กุมภาพันธ์ 2566
งานวิจัยตีพิมพ์ชิ้นล่าสุด เปิดเผยอัตราการผ่าตัดคลอดในเกาหลีใต้ในปัจจุบันพุ่งสูงขึ้นเกือบ 60% แล้ว
งานวิจัยเรื่อง “Narrative Review on the Trend of Childbirth in South Korea and Feasible Intervention to Reduce Cesarean Section Rate” ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of The Korean Society of Maternal and Child Health 2023;27(1):1-13. เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 (แหล่งข้อมูล – https://www.e-mch.org/journal/view.php?doi=10.21896/jksmch.2023.27.1.1) เผยอัตราการผ่าตัดคลอดในประเทศเกาหลีที่เพิ่มสูงขึ้นรวดเร็วอย่างน่าตกใจ
ข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2565 เปิดเผยตัวเลขของสตรีที่คลอดบุตรจำนวนทั้งสิ้นในเกาหลีใต้ 249,000 คน โดย 58.7% เป็นการผ่าตัดคลอด อัตราการเกิดของทารกในเกาหลีใต้นับได้ว่าต่ำที่สุดในโลก โดยมีอัตราการเกิดเพียง 0.81 ในปี 2565 แต่การเพิ่มขึ้นของการผ่าตัดคลอดกลับสวนทางกับอัตราการเกิดอย่างรวดเร็ว และยังพบอีกด้วยว่าไม่ว่าจะเป็นแม่ท้องแรกที่มีช่วงวัยตั้งแต่ 20 ปี 30 ปี ไปจนมากกว่า 35 ปี (ซึ่งนับว่าเป็นคุณแม่อายุมากที่อาจมีความเสี่ยงในการคลอดสูงขึ้น) อัตราการเพิ่มขึ้นของการผ่าตัดคลอดก็ไม่ได้แตกต่างกัน
โดยงานวิจัยได้วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มสูงขึ้นของการผ่าตัดคลอดนี้ ออกไป 3 ปัจจัยหลัก คือ
1) คุณแม่ผู้คลอด มีความหวาดกลัวความเจ็บปวดจากการคลอด การรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการคลอดไม่เพียงพอ การรับฟังข้อมูลจากคนใกล้ชิด ความเชื่อว่าการผ่าตัดคลอดนั้นปลอดภัย ความต้องการความสะดวกและการจัดการเวลาได้ เป็นต้น
2) ผู้ให้บริการ อันได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ ต้องการหลีกเลี่ยงคดีความและการฟ้องร้องหากเกิดข้อผิดพลาดในการคลอด ต้องการจัดการเรื่องเวลา และข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากรทางการแพทย์
3) ระบบการให้บริการทางการแพทย์ของแต่ละประเทศ โดยงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าโรงพยาบาลเอกชนมักจะมีอัตราการผ่าตัดคลอดสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐในหลายประเทศเนื่องจากมีแรงจูงใจด้านรายได้ในการผ่าตัดคลอดที่สูงกว่า
คลอดธรรมชาติมีผลดีต่อการกระตุ้นภูมิของทารกโดยวัคซีน
18 มกราคม 2566
ทารกคลอดทางช่องคลอด ร่างกายจะตอบสนองกับการสร้างภูมิต้านทานจากการฉีดวัคซีนได้ดีกว่าการผ่าตัดคลอด งานวิจัยตีพิมพ์ล่าสุดเผย
งานวิจัยชิ้นล่าสุดเรื่อง “รูปแบบการคลอดมีผลต่อจุลินทรีย์ในลำไส้และส่งผลต่อการตอบสนองต่อวัคซีน” (Mode of delivery modulates the intestinal microbiota and impacts the response to vaccination) ตีพิมพ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ในวารสาร Nature Communications (แหล่งข้อมูล – https://doi.org/10.1038/s41467-022-34155-2 )
งานวิจัยชิ้นนี้ได้ชี้ให้เห็นความเกี่ยวข้องของรูปแบบการคลอด ได้แก่ การคลอดทางช่องคลอด และการผ่าตัดคลอด ว่าจะส่งผลชัดเจนเรื่องความแตกต่างของจำนวนจุลินทรีย์ในลำไส้ตามธรรมชาติของทารกอย่างชัดเจน
โดยจุลินทรีย์ดังกล่าวจะส่งผลต่อเนื่องไปที่การตอบสนองกับการสร้างภูมิต้านทานจากการฉีดวัคซีนของทารกด้วย โดยในงานวิจัยได้เผยให้เห็นว่า ในกลุ่มของทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่นั้น ทารกที่เกิดโดยการคลอดทางช่องคลอด จะตอบสนองกับการรับวัคซีนได้ดีกว่าทารกที่คลอดด้วยการผ่าตัดคลอดถึง 2 เท่า
ในขณะเดียวกัน ในกลุ่มของทารกที่คลอดทางช่องคลอดนั้น ทารกในกลุ่มนี้ที่เลี้ยงด้วยนมแม่ จะตอบสนองกับการรับวัคซีนได้ดีกว่าทารกที่เลี้ยงด้วยนมผงถึง 3.5 เท่าเลยทีเดียว
งานวิจัยเผยความเครียดของคุณแม่ส่งผลให้คลอดก่อนกำหนดได้
12 มกราคม 2566
งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน American Psychological Association (https://psycnet.apa.org/doiLanding?doi=10.1037%2Fhea0001210) เปิดเผยว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเครียด โดยเฉพาะในระหว่างการตั้งครรภ์ช่วงสามเดือนแรกและช่วงสามเดือนสุดท้าย จะมีแนวโน้มให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ โดยส่วนใหญ่อาจจะได้คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37
โดยเรื่องที่มักก่อให้เกิดความกังวลหรือความเครียดในกลุ่มคุณแม่ตั้งครรภ์นี้ มักจะเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพของทารก ความกลัวความเจ็บปวดและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการคลอด รวมไปถึงเรื่องการเลี้ยงดูบุตรด้วย
การรักษาสุขภาพจิตใจให้ดีลดอาการเครียดระหว่างตั้งครรภ์จึงมีส่วนสำคัญมากทั้งต่อสุขภาพของคุณแม่และทารก ส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดความเครียดของคุณแม่ได้ คือการหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการเตรียมตัวคลอด ทั้งจากแพทย์ พยาบาล และงานวิจัยที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพระหว่างการตั้งครรภ์
คู่มือผู้คลอด – เปรียบเทียบประโยชน์และความเสี่ยงของการคลอดทั้งสองรูปแบบ
10 มกราคม 2566
วิธีการลดอาการปวดระหว่างรอคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ (Labour Pain Reduction – the Natural Ways)
11 พฤศจิกายน 2565
ฝึกหายใจเพื่อบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอด
31 สิงหาคม 2565
“อย่าลืมหายใจ”
แปลกไหมคะที่คนเราตั้งแต่วินาทีแรกที่เกิดมาก็หายใจเป็นกันแล้วและจะต้องหายใจอยู่แบบนี้ไปจนวันสุดท้ายของชีวิต แต่การใช้ชีวิตในแต่ละวันเรากลับมักจะลืมว่าเรากำลังหายใจอยู่ และรู้ถึงประโยชน์ของการหายใจที่ถูกต้องกันน้อยเหลือเกิน
สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด การหายใจที่ถูกต้องสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดครรภ์คลอดได้นะคะ ไม่ต้องกินยา ไม่ต้องฉีดยา แค่ใช้ลมหายใจและฟังเสียงร่างกายของเราเท่านั้นก็ช่วยได้เช่นกันค่ะ
มันง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ แค่หายใจเนี่ยนะ? ง่ายขนาดนั้นเลยค่ะ
ทราบไหมคะว่าสมองคนเราจะปล่อยฮอร์โมนคอร์ติซอล เมื่อรู้สึกเครียดและกังวล เมื่อเราหายใจเข้าออกลึก ๆ หัวใจจะเต้นช้าลง และออกซิเจนจะเข้าสู่กระแสเลือด พร้อมกับสื่อสารไปที่สมองให้ผ่อนคลาย และยังช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน ซึ่งสามารถลดความรู้สึกเจ็บปวดได้ค่ะ
เคยสังเกตไหมคะว่าเวลาที่เราเครียดหรือกังวล ทำไมเราถึงได้ถอนใจบ่อย ๆ เพราะร่างกายต้องการออกซิเจนไปช่วยกระตุ้นฮอร์โมนเพื่อลดอาการกังวลนั่นเองค่ะ
การเตรียมความพร้อมและการฝึกการหายใจสำหรับคุณแม่ ควรจะฝึกไว้ตั้งแต่ก่อนวันสำคัญจะมาถึงนะคะ เพราะเมื่อถึงเวลาคุณแม่จะได้ไม่ตระหนกตกใจค่ะ
วิธีการหายใจหลัก ๆ แล้วมีสามวิธีง่าย ๆ ค่ะ
1. การหายใจล้างปอด (cleansing breath) — จะใช้เมื่อแรกเริ่มเกิดอาการเจ็บครรภ์ (หมายถึงอาการบีบตัวของมดลูก) ในแต่ละครั้ง และใช้เพื่อส่งท้ายเมื่ออาการเจ็บครรภ์คลายลง
วิธีการง่ายมาก ๆ ค่ะ แค่สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ ทางจมูก และพ่นลมออกช้า ๆ ทางปาก โดยจะออกเสียง “ฮู้วววววว” ด้วยเบา ๆ เมื่อเป่าลมออกก็ได้
คุณแม่ควรพยายามตั้งสติไว้ อย่ากรีดร้องนะคะ เพราะการออกเสียงต่ำ ๆ อย่างเช่นการถอนใจหรือการครางเสียงต่ำ ๆ จะทำให้รู้สึกเจ็บปวดน้อยลงกว่าการตะเบ็งเสียงสูง ๆ ด้วยค่ะ
2. หายใจตามปกติ (normal breathing) — คุณแม่สามารถกลับมาหายใจตื้นลงได้ตามปกติ เมื่ออาการเจ็บครรภ์คลายลงแล้ว การหายใจลึก ๆ ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาอาจทำทำให้เกิดอาการเวียนหัว หรือชารอบ ๆ ปากได้ค่ะ คุณแม่พยายามตั้งสมาธิตามเสียงจากภายในร่างกายตนเองนะคะ
3. การหายใจตื้น ๆ เร็ว ๆ (panting) — ร่างกายมักจะกระตุ้นให้คุณแม่ปรับมาใช้วิธีหายใจแบบนี้ตามธรรมชาติ เมื่ออาการเจ็บปวดบีบรัดก่อตัวขึ้นและไล่ระดับขึ้นไปจนรู้สึกเจ็บปวดสูงสุด
ในช่วงนั้นคุณแม่สามารถหายใจได้ตื้น ๆ ถี่ ๆ ตามจังหวะของความรู้สึกปวด วิธีการคือให้รู้ทำเหมือนกำลังพยายามเป่าเทียนให้ดับค่ะ นั่นคือหายใจเข้าทางจมูกตื้น ๆ และเป่าออกมาทางปาก
การหายใจแบบนี้ยังช่วยได้มากในช่วงที่ศรีษะทารกกำลังจะเคลื่อนออกมา เพราะจะช่วยลดอาการฉีกขาดของช่องคลอดได้ด้วยค่ะ
เด็กที่ผ่าคลอดเสี่ยงเป็นโรคอ้วนและโลหิตจางมากกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ
30 สิงหาคม 2565
งานวิจัยฉบับล่าสุด (ตีพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022) ในวารสาร Pubmed.gov (ดูที่นี่ –> https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/35265334/)
เป็นการทำวิจัยในประเทศจีน เพื่อติดตามข้อมูลสุขภาพของทารกที่เกิดการผ่าตัดคลอดที่แม่เป็นผู้ร้องขอ (cesarean delivery on maternal request) โดยที่เป็นกลุ่มที่ไม่ได้มีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องผ่าตัดคลอดแต่เป็นการตัดสินใจของแม่เอง เมื่อเปรียบเทียบกับทารกที่คลอดธรรมชาติ จำนวนรวม17,748 ราย เพื่อเปรียบเทียบความเสี่ยงสี่โรคในเด็กคือ โรคอ้วน โรคปอดอักเสบ โรคโลหิตจาง และโรคระบบประสาท
ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเด็กอายุได้ 1 – 5 ขวบ เด็กที่เกิดจากการผ่าตัดคลอดโดยไม่จำเป็นจะมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเป็นโรคอ้วนและโรคโลหิตจางในเด็ก เมื่อเทียบกับเด็กที่คลอดธรรมชาติ แต่ไม่พบแตกต่างที่ชัดเจนในความเสี่ยงโรคปอดอักเสบและโรคทางระบบประสาท
แนวโน้มอัตราการผ่าตัดคลอดในประเทศไทย
29 สิงหาคม 2565
แนวโน้มอัตราการผ่าตัดคลอดในประเทศไทย จากรายงานวิจัยเมื่อปี 2019 พบว่าตัวเลขคาดการณ์จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจจะเพิ่มสูงถึง 50-60% หากว่าไม่มีมาตรการใดในการจัดการ
แล้วผ่าตัดคลอดมีความผิดอะไรนักหนา ทำไมจะทำไม่ได้
การผ่าตัดคลอดจริง ๆ แล้วไม่ใช่ผู้ร้ายในวงการแพทย์ ตรงกันข้ามกลับเป็นหัตถการที่มีไว้ใช้ “ช่วยชีวิต” ทั้งแม่และลูกได้
เน้นคำว่า “ช่วยชีวิต” ในกรณีฉุกเฉินหรือมีเหตุจำเป็นทางการแพทย์เท่านั้น
จากงานวิจัยขององค์การอนามัยโลกยืนยันว่า การผ่าตัดคลอดนั้นต่อให้เพิ่มจำนวนขึ้นมากเท่าไหร่ ถึงจุดหนึ่งก็ไม่ได้ช่วยลดจำนวนการเสียชีวิตของแม่และทารกลงได้ นั่นหมายถึง ความเสี่ยงในการเสียชีวิตไม่ได้ลดจำนวนลง
การผ่าตัดคลอดคือการผ่าตัดใหญ่ ดังนั้นจึงไม่อาจการันตีความปลอดภัยได้ อาจเกิดสิ่งไม่คาดฝันได้ตลอดเวลา ทั้งยังส่งผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการตกเลือด การติดเชื้อ การเกิดพังผืด หรือไปจนกระทั่งการต้องตัดมดลูก
ผลกระทบที่เกิดกับทารกก็อาจเกิดได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาวเช่นเดียวกัน ทั้งความเสี่ยงที่จะเป็นโรคภูมิแพ้และโรคอ้วนเมื่อโตขึ้น
นี่ยังไม่รวมผลกระทบที่เกิดต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับมหัพภาคด้วย ทั้งการสูญเสียเม็ดเงินโดยไม่จำเป็น การใช้ทรัพยากรทั้งบุคคลและเครื่องมืออย่างสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น จนอาจก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ด้วย
ฉะนั้นหากไม่ได้มีความจำเป็นทางการแพทย์แล้ว …. ให้การคลอดธรรมชาติเป็นของขวัญชิ้นแรกกับลูกน้อยของคุณเถอะนะคะ
การใช้ Sophrology เพื่อลดความเจ็บปวดระหว่างการคลอดแบบญี่ปุ่น
25 สิงหาคม 2565
Sophrology คือการออกกำลังกายสำหรับร่างกายและจิตใจ โดยผสมผสานการหายใจ การผ่อนคลาย การสร้างมโนภาพและการเคลื่อนไหว
นพ. เคียวสุเกะ ยามาดะ (Kyosuke Yamada) และคณะแพทย์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Jikei University ประเทศญี่ปุ่น ได้รายงานถึงผลการใช้วิธีการ Sophrology เพื่อช่วยลดอาการเจ็บปวดระหว่างการคลอด โดยได้รายงานผลในการประชุมวิชาการ AOFOG 2022 เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา
ประเทศญี่ปุ่นมีความพยายามที่จะหาวิธีการลดความเจ็บปวดในระหว่างการคลอด แบบวิธีธรรมชาติโดยไม่ใช้ยา ซึ่งปัจจุบันได้มีการแนะนำให้ใช้วิธีการ sophrology ซึ่งได้คิดค้นขึ้นมาโดย นพ. Alfonso Caycedo จิตแพทย์ชาวสเปนตั้งแต่ช่วงปี 1960
Sophrology เป็นวิธีการเพื่อหาสมดุลระหว่างร่างกายและจิตใจของแม่ผู้คลอด เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจให้กับคุณแม่เพื่อเตรียมพร้อมกับการคลอด โดยในประเทศญี่ปุ่นนั้นตั้งแต่ปี 1987 เป็นต้นมาได้ผนวกเอาวิธีการใช้ดนตรีบำบัดมาใช้ร่วมด้วย
หลักสำคัญของ sophrology คือการหาวิธีช่วยลดความตึงเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจของคุณแม่ผู้คลอด ด้วยการพยายามกระตุ้นให้คุณแม่เกิดจินตนาการในเชิงบวกในระดับของจิตใต้สำนึก โดยทั่วไปมักจะทำแบบฝึกหัดนี้ก่อนที่จะหลับ เพื่อช่วยกำจัดความคิดเชิงลบเกี่ยวกับการคลอด อย่างเช่น อาการหวาดกลัว เพื่อให้คุณแม่ผู้คลอดเปิดรับและเชื่อมโยงกับร่างกายของตนเองได้ดีขึ้น จะได้ลดอาการโฟกัสเฉพาะเรื่องความเจ็บปวด และเสริมสร้างความมั่นใจให้กับคุณแม่ว่าจะสามารถคลอดเองได้ตามธรรมชาติ
การใช้วิธี Sophrology นี้ จะฝึกฝนกันในช่วงก่อนการคลอด โดยกระทำอย่างสม่ำเสมอในห้องเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมให้คุณแม่ พร้อมกับการฟังดนตรีบำบัด
วิธีการที่ใช้เพื่อกระตุ้นจินตภาพของคุณแม่ เช่น การคุยกับลูกน้อยในครรภ์ ตั้งชื่อและเรียกชื่อลูก โฟกัสความสำคัญไปที่ลูก แทนที่จะโฟกัสไปที่ความหวาดกลัวการคลอด เช่น พูดกับลูกอย่างสม่ำเสมอว่า “แม่แทบจะรอไม่ไหวแล้วที่จะได้เจอลูก” “แม่อยากให้ถึงเวลาคลอดเร็ว ๆ เพื่อที่เราจะได้พบกัน”
นอกจากนี้ยังร่วมด้วยกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแบบโยคะง่าย ๆ เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย การฝึกการหายใจอย่างถูกต้อง (คล้ายกับการนั่งสมาธิ) และการฟังดนตรีและฝึกการสร้างจินตนาการเชิงบวก โดยดนตรีที่ใช้ควรจะเป็นดนตรีแบบเรียบง่าย ฟังสบาย ๆ โดย ไม่จำเป็นต้องไพเราะมากหรือแสดงอารมณ์ความรู้สึกมาก
ผลวิจัยเผยว่าแม่ที่อายุมากกว่า 35 ปี มีความเสี่ยงจากการผ่าตัดคลอดสูงกว่าการคลอดธรรมชาติ
17 สิงหาคม 2565
งานวิจัยฉบับล่าสุดจาก American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) ตีพิมพ์เดือนสิงหาคม 2022 ฉบับที่ 11 (https://www.acog.org/…/pregnancy-at-age-35-years-or-older) เปรียบเทียบโอกาสความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดเพราะการผ่าตัดคลอด เมื่อเทียบกับการคลอดทางช่องคลอดในกลุ่มของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี
ผลการวิจัยพบว่าการผ่าตัดคลอดจะมีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าในหลาย ๆ ด้าน เช่น ภาวะหัวใจหยุดเต้น การตกเลือด การต้องผ่าตัดมดลูก การติดเชื้อในกระแสเลือด หรือแม้แต่การเสียชีวิตของคุณแม่ได้
ดังนั้นหากไม่ได้มีความจำเป็นทางการแพทย์แล้ว อยากให้คุณแม่พยายามดูแลร่างกายเตรียมความพร้อมไว้ช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ เพื่อที่จะสามารถเพิ่มโอกาสคลอดเองได้ทางช่องคลอด ซึ่งจะปลอดภัยมากกว่า
ทำไมจีนจึงสามารถลดอัตราการผ่าตัดคลอดลงได้อย่างต่อเนื่อง
21 กรกฎาคม 2565
สำนักข่าว BBC ได้รายงานทิศทางการลดอัตราการผ่าตัดคลอดในประเทศจีน ซึ่งในช่วงปี 2010 เคยติดอันดับประเทศที่มีอัตราการผ่าตัดคลอดสูงที่สุดในโลกถึงเกือบ 50% ในขณะที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ไม่ควรเกิน 15% เท่านั้น
จากช่วงปี 2010 เป็นต้นมา อัตราการผ่าตัดคลอดของประเทศจีน ค่อย ๆ ลดระดับลงมาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ที่เคยมีอัตราการผ่าตัดคลอดสูงมากพอ ๆ กันกับจีน เช่น บราซิล ไม่อาจทำได้สำเร็จ
ความสำเร็จนี้เกี่ยวเนื่องมาจากปัจจัยแวดล้อมหลายประการประกอบกัน คือ
1. การขานรับนโยบายลดการผ่าตัดคลอดจากโรงพยาบาลต่าง ๆ โดยการวางนโยบายจากกระทรวงสาธารณสุขของจีน ที่นำเอาแผนการลดการผ่าตัดคลอดให้เป็นหนึ่งในนโยบายสุขภาพหลัก บรรจุในแผนพัฒนา 10 ปีของประเทศ
2. การยกเลิกนโยบายลูกคนเดียว ให้ครอบครัวสามารถมีบุตรได้สองคน ซึ่งการคลอดธรรมชาติจะดีและปลอดภัยต่อสุขภาพแม่มากกว่าหากวางแผนที่จะมีบุตรหลายคน
3. การจัดให้มีห้องเรียนพ่อแม่ก่อนการคลอด เพื่อเตรียมความพร้อมและให้ความรู้กับคุณแม่เรื่องการคลอดทางช่องคลอดและการให้นมบุตร
4. การฝึกอบรมเรื่องการคลอดเพิ่มเติมให้กับบุคลากรการแพทย์และเพิ่มจำนวนการผลิตพยาบาลผดุงครรภ์ จึงทำให้มีบุคลากรเพียงพอที่จะดูแลสตรีตั้งครรภ์ได้อย่างใกล้ชิด
5. การก่อกำเนิดวัฒนธรรม “เพื่อสุขภาพที่ดี” คุณแม่มือใหม่ในประเทศจีนเริ่มหันมาใส่ใจหาข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อการคลอดมากขึ้น โดยจะให้ความสำคัญของสุขภาพทารกมาเป็นอันดับหนึ่ง การตื่นตัวเรื่องการคลอดธรรมชาติจึงกลายมาเป็นทางเลือกแรกของคุณแม่เนื่องจากพบแล้วว่ามีข้อดีต่อทารกมากกว่า
อย่างไรก็ตามเนื่องจากความเคร่งครัดเรื่องการลดจำนวนการผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลของจีน จึงก่อให้เกิดนโยบายการลงโทษโรงพยาบาลที่มีอัตราการผ่าตัดคลอดสูง โดยมีการแข่งขันกันระหว่างโรงพยาบาลและอาจนำไปสู่การตัดงบประมาณโรงพยาบาล เป็นต้น ซึ่งวิธีการนี้ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลกมองว่าอาจจะไม่ก่อให้เกิดผลดีได้จริง เนื่องจากอาจจะมีจำนวนแม่และทารกที่มีข้อบ่งชี้จำเป็นทางการแพทย์ และต้องการได้รับการช่วยชีวิตจากการผ่าตัดคลอดนี้รวมอยู่ด้วย จนอาจเกิดความเสี่ยงให้ไม่สามารถเข้าถึงการรับบริการการผ่าตัดคลอดที่จำเป็นได้
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่นี่ https://www.bbc.com/news/world-asia-china-46265808
บทความ “ผ่าคลอดโดยไม่จำเป็น: เรื่องใหญ่ใต้คมมีดหมอ” จากเว็บไซต์ Hfocus.org
วันที่ 12 กรกฎาคม 2565
เว็บไซต์ Hfocus.org ได้นำเสนอบทความเรื่อง “ผ่าคลอดโดยไม่จำเป็น: เรื่องใหญ่ใต้คมมีดหมอ” โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล โดยได้นำเสนอสถิติการผ่าตัดคลอดโดยไม่จำเป็นในประเทศไทยว่า ประเทศไทยมีอัตราการผ่าท้องคลอดสูงมากคือประมาณร้อยละ 35-40 หรือ 1 ใน 3 ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด และสูงเป็นอันดับ 2 ของเอเชียรองจากประเทศจีน ขณะที่องค์การอนามัยโลกกำหนดว่าการผ่าท้องคลอดที่มีความจำเป็นตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ไม่ควรเกินร้อยละ 15
บทความได้สรุปถึงสาเหตุที่ทำให้การผ่าคลอดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งตามข้อมูลระบุว่าเป็นเหตุผลทางสูติกรรม ปัญหาการฟ้องร้องทางกฎหมายเกี่ยวกับทุรเวชปฏิบัติ การบริหารเวลาของแพทย์ รวมไปถึงความต้องการผ่าคลอดของผู้ตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นจากการกลัวเจ็บ กลัวทารกมีปัญหา กลัวช่องคลอดฉีกขาด คำนึงถึงความสะดวกสบาย และฤกษ์ยามงามดี
นอกจากนี้การขาดแคลนสูตินรีแพทย์และพยาบาลที่เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลเล็ก อาจจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลหลักที่ทำให้คนไข้ไม่มั่นใจ จนต้องไปฝากพิเศษที่คลินิกและพากันไปคลอดในโรงพยาบาลใหญ่ๆ ส่งผลไปถึงการผ่าตัดคลอดที่เพิ่มขึ้น
ผลการวิจัยเกี่ยวกับการลดความเจ็บปวดในระหว่างการเจ็บครรภ์คลอด
เชื่อว่าคุณแม่ใกล้คลอดเกือบทุกท่านมักจะมีความกังวลเดียวกัน นั่นคือ กังวลเรื่องความเจ็บปวดในการคลอด
นิตยสารออนไลน์ The Conversation (คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่นี่) ประเทศออสเตรเลีย ได้รายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับการลดความเจ็บปวดของคุณแม่ในระหว่างการเจ็บครรภ์คลอด
การช่วยลดอาการเจ็บครรภ์คลอดแบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลัก ๆ คือ การใช้ยาช่วย และการไม่ใช้ยาช่วย (วิถีธรรมชาติ)
ความแตกต่างของสองกลุ่มนี้อยู่ที่จุดประสงค์ของการปฏิบัติ นั่นคือ การใช้ยาก็เพื่อช่วย “บรรเทา” อาการเจ็บปวด ในขณะที่วิถีธรรมชาติแบบที่ไม่ใช้ยา เพื่อให้คุณแม่เชื่อมต่อกับร่างกายของตนเองและสามารถ “จัดการ” ความเจ็บปวดของตนเองได้
งานวิจัยหลายชิ้นได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ของคุณแม่ที่ผ่านการใช้วิธีช่วยลดความเจ็บปวดในรูปแบบต่าง ๆ และสำรวจว่าวิธีการต่าง ๆ ที่กล่าวมาช่วยลดความเจ็บปวดได้จริงไหม และมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
จากการศึกษาพบว่าคุณแม่ที่เลือกใช้ยาในการช่วยลดความเจ็บปวด โดยอาจจะตัดสินใจเอาไว้ตั้งแต่ก่อนคลอด อันเนื่องมาจากประสบการณ์ทางบวกหรือทางลบที่ผ่านมาจากการคลอดครั้งที่แล้ว โดยอาจจะเลือกให้ใช้ยาลดความเจ็บปวดเมื่อรู้สึกเจ็บปวดจนทนไม่ไหว หรือรู้สึกเหนื่อยล้ามากเกินไปจนอาจไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ในการคลอดได้ อย่างไรก็ตามคุณแม่ในกลุ่มนี้มักจะแสดงออกถึงความ “รู้สึกผิด และรู้สึกล้มเหลว” ในภายหลังได้มากกว่า
คุณแม่อีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มที่ตั้งใจว่าจะเลือกคลอดทางช่องคลอดตามธรรมชาติ โดยหลีกเลี่ยงการใช้ยาช่วยบรรเทาความเจ็บปวด โดยในกลุ่มนี้มักจะตั้งใจไว้แล้วตั้งแต่ก่อนคลอด และได้มีการเตรียมความพร้อมโดยการเข้าเรียนเกี่ยวกับวิธีการคลอดตั้งแต่ในช่วงที่ฝากครรภ์
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การใช้ยาจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้จริง แต่ก็อาจจะไม่ช่วยให้หายเจ็บไปได้เลยทั้งหมด โดยอาจจะยังหลงเหลือความเจ็บปวดแทรกเข้ามาได้เป็นระยะ ๆ และการใช้ยานี้อาจนำพาผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น ความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือแพทย์ในการช่วยทำคลอด เช่นการใช้คีมหรือเครื่องดูดสุญญกาศ นอกจากนี้การใช้ยาสลบในรูปแบบอื่น ๆ อาจจะก่อให้เกิดอาการเวียนหัวและคลื่นไส้ตามมาได้
ในการศึกษาวิธีลดความเจ็บปวดโดยรูปแบบธรรมชาติ เช่นการแช่น้ำอุ่น การประคบร้อน การนวด พบว่าช่วยสร้าง “ความพึงพอใจ” ให้คุณแม่ได้มากกว่า และจะลดอัตราการแทรกแซงทางการคลอด (เช่นการต้องใช้เครื่องมือแพทย์ช่วยคลอด) ลงไปได้น้อยกว่า แต่สำหรับคุณแม่หลายคนก็พบว่าวิธีธรรมชาติไม่ได้ผลชัดเจนในการลดความเจ็บปวดอย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม การศึกษาได้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า การใช้ยาช่วยลดความเจ็บปวดอาจทำให้คุณแม่สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ ในห้องคลอดได้ แต่การคลอดโดยวิถีธรรมชาติแบบไม่ใช้ยานั้น จะทำให้คุณแม่สามารถสื่อสารและเชื่อมโยงกับร่างกายของตนเองได้ดีกว่า
และการศึกษายังแสดงให้เห็นด้วยว่า การที่เจ็บปวดน้อยลงเพราะการใช้ยาไม่ได้สร้างความพึงพอใจให้คุณแม่มากกว่าแต่อย่างใด
เพราะความพึงพอใจในการคลอดของคุณแม่ มักเกิดจากความรู้สึกว่าตนเองนั้นปลอดภัย ได้รับความช่วยเหลืออย่างเพียงพอ และได้รับการดูแลอย่างให้เกียรติในขณะคลอด
ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นโดยความไว้วางใจระหว่างคุณแม่ผู้คลอดและบุคลากรที่ช่วยทำคลอดนั่นต่างหากที่จะช่วยให้การคลอดราบรื่น โดยอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องว่าจะเกิดความเจ็บปวดมากหรือน้อยต่างกันมากเพียงใด
ดังนั้นความเข้าใจและการให้ความสนับสนุนช่วยเหลือด้วยความเคารพ จึงสำคัญอย่างยิ่งต่อการดูแลคุณแม่ระหว่างการคลอดให้ปลอดภัย
คุณแม่ชาวออสเตรเลียมักจะได้ผ่าตัดคลอดแบบไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า หากคลอดในโรงพยาบาลเอกชน
สตรีตั้งครรภ์ชาวออสเตรเลียมักจะได้ผ่าตัดคลอดแบบไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าหากคลอดในโรงพยาบาลเอกชน
ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย University of Technology Sydney พบว่าคุณแม่ผู้คลอดมักจะได้ผ่าตัดคลอดแบบไม่ได้วางแผนล่วงหน้าในโรงพยาบาลเอกชนเพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบกับการคลอดโรงพยาบาลรัฐ
และสำหรับคุณแม่ท้องแรก เปอร์เซ็นต์ที่จะได้ผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลเอกชนจะเพิ่มขึ้นถึง 7.7%
การศึกษาได้ชี้ให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องของประเภทของโรงพยาบาลและอัตราการผ่าตัดคลอด
การศึกษานี้เก็บข้อมูลจากสตรีผู้คลอดจำนวนเกือบสามแสนคนตั้งแต่ปี 2007-2012 ที่รัฐนิวเซาส์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นกลุ่มสตรีที่มีความเสี่ยงต่ำในการตั้งครรภ์และเป็นกลุ่มที่ไม่ได้วางแผนที่จะมีการผ่าตัดคลอดตั้งแต่แรก
ในโรงพยาบาลเอกชนในออสเตรเลียนั้น ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดคลอดจะอยู่ที่ประมาณ A$11,782 เมื่อเทียบกับการคลอดทางช่องคลอดที่ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ A$8,388
ในการศึกษานี้ยังพบอีกว่ามีเคสคุณแม่ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดกว่า 3,200 เคสในโรงพยาบาลเอกชน ที่ประเมินโดยสภาวะด้านสุขภาพแล้วคุณแม่อาจจะสามารถคลอดเองทางช่องคลอดได้หากคลอดในโรงพยาบาลของรัฐ
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมจากข่าวต้นฉบับได้ ที่นี่
การจัดบรรยาย WEBINAR ครั้งที่ 3 “คลอด (อย่างไรให้) ปลอดภัย”
วันที่ 23 มิถุนายน 2565
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โครงการ QUALI-DEC ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล ได้ร่วมกันจัด Webinar ครั้งที่ 3 ในหัวข้อเรื่อง “คลอด (อย่างไรให้) ปลอดภัย” โดยมีท่านวิทยากรคือ ศ. นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ เป็นผู้บรรยาย
ในการจัด Webinar ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้ว โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายในครั้งนี้เป็นนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2-4 รวมถึงนิสิตที่กำลังฝึกงานในโรงพยาบาลต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล จำนวนประมาณ 240 คน
การบรรยายในครั้งนี้ ศ. นพ. ภิเศก ได้แสดงให้เห็นถึงหลักฐานงานวิจัยทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผลกระทบของการผ่าตัดคลอดที่ไม่ได้มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ รวมถึงเน้นย้ำถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการคลอดแบบต่าง ๆ และยังได้ฝากให้นิสิตพยาบาลได้ส่งต่อความรู้เหล่านี้ต่อไปถึงสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวต่อไปด้วยในอนาคต เพื่อจะช่วยลดอัตราการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็นต่อไป
การจัดการบรรยายนี้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ออกไปในวงกว้าง สถาบันการศึกษาใดที่สนใจให้มีการจัดการบรรยายในหัวข้อนี้สามารถติดต่อโครงการ QUALI-DEC ได้ทาง FB เพจ หรืออีเมล์ safebirththailand@gmail.com โทรศัพท์ 0622185385 หรือติดต่อผ่านทางเว็บไซต์ www.คลอดปลอดภัย .com โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ
ดูล่า (Doula) กับบทบาทของอาชีพ “เพื่อนผู้คลอด”
วันที่ 20 มิถุนายน 2565
ดูล่า (Doula) อาจจะเป็นอาชีพที่ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักคุ้นเคยนักในวงกว้างโดยเฉพาะในแถบเอเชีย แต่อาชีพดูล่าเป็นที่แพร่หลายอย่างมากในยุโรปและอเมริกาเหนือ อาชีพดูล่าคืออะไรและมีบทบาทอย่างไรในการคลอด วันนี้เราจะมาทำความรู้จักอาชีพนี้กันค่ะ
ดูล่า หรือ ผู้ช่วยคุณแม่ คือผู้เชี่ยวชาญในการให้ความช่วยเหลือคุณแม่เพื่อเตรียมตัวคลอด ระหว่างคลอด ไปจนกระทั่งหลังคลอด ผู้ที่จะทำอาชีพนี้จะต้องผ่านการฝึกอบรมและได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนก่อนจึงจะสามารถประกอบอาชีพได้ แต่ดูล่าไม่ใช่หมอ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ หน้าที่หลักของดูล่าคือการให้ความช่วยเหลือคุณแม่ที่กำลังเตรียมคลอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสนับสนุนทางด้านอารมณ์ โดยจะคอยอยู่เป็นเพื่อน ให้กำลังใจ สร้างความเชื่อมั่น และให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ แก่คุณแม่ในระหว่างการคลอด เช่น การนวด การหาอาหารเครื่องดื่มเล็ก ๆ น้อย ๆ ช่วยสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์ เป็นต้น
ช่วงเวลาคลอดเป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งความเปราะบางทางด้านอารมณ์ คุณแม่ผู้คลอดจะต้องเผชิญทั้งกับความเจ็บปวด ความหวาดกลัว การมี “เพื่อนผู้คลอด” (Labour Companion) ที่จะคอยเติมเต็มอารมณ์ความรู้สึกในช่วงเวลาอันเปราะบางอย่างยิ่งนั้น จะช่วยทำให้การคลอดประสบความสำเร็จได้มากขึ้น หน้าที่ของดูล่าคือการคอยให้การสนับสนุนทางด้านอารมณ์แก่ผู้คลอดในช่วงเวลาที่สำคัญนั้น แต่การมี “เพื่อนผู้คลอด” นี้ อาจทดแทนได้โดยบุคคลอันเป็นที่รักและไว้ใจของคุณแม่ผู้คลอดได้เช่นกัน เช่น สามี แม่ พี่น้อง หรือเพื่อนสนิท เพียงแต่ผู้ที่จะมาทำหน้าที่นี้จะต้องตระหนักรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจนผ่านการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อน จึงจะสามารถทำงานสอดประสานกับบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสม
สารคดีสั้นเรื่องใหม่ล่าสุดจากช่อง NHK สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศญี่ปุ่น (ออกอากาศวันที่ 20 มิถุนายน 2565) ได้นำเสนอมุมมองอาชีพและหน้าที่อันสำคัญของ ดูล่า (เพื่อนผู้คลอด) อาชีพที่อาจจะยังไม่ได้เป็นรู้จักมากนักในประเทศญี่ปุ่น แต่กำลังเริ่มมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนการคลอดให้ราบรื่น
ผู้สนใจสามารถดูสารคดีได้จากลิงค์ด้านล่างนี้นะคะ
https://www3.nhk.or.jp/nhkworld/en/ondemand/video/2087066/
รายการเสวนากับหมอ มข. ตอน “คลอด (อย่างไรให้) ปลอดภัย”
วันที่ 17 มิถุนายน 2565
รับฟังมุมมองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับคำถามที่ยังคาใจเรื่องการคลอด ในรายการเสวนากับหมอ มข. ตอนที่ 30 เรื่อง “คลอด (อย่างไรให้) ปลอดภัย” ไลฟ์ผ่านทาง Facebook Live โดยแขกรับเชิญพิเศษ ศ. นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ ผศ. พญ. รัตนา คำวิลัยศักดิ์ ดำเนินรายการโดย ผศ. นพ. เกียรติศักดิ์ คงวัฒนกุล
การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารที่เหมาะสมในระหว่างการคลอด
วันที่ 16 มิถุนายน 2565
“ภาษาที่ใช้สำคัญมาก ๆ แค่การเปลี่ยนภาษาที่ใช้เพียงแค่เล็กน้อย อาจสามารถก่อให้เกิดผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้เลย” (The language is so vital – a small change can make such a massive impact”
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 สำนักข่าว BBC ประเทศอังกฤษได้รายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ภาษาที่เหมาะสมระหว่างการทำคลอด โดยการสำรวจความคิดเห็นของสตรีที่ผ่านการคลอดภายใน 5 ปีที่ผ่านมากว่า 1,500 คน พบว่าพวกเธอรู้สึกอ่อนไหวกับภาษาที่ใช้ในระหว่างการคลอดบุตร และการที่บุคลากรทางการแพทย์เลือกใช้ภาษาที่ไม่สื่อให้สตรีผู้คลอดรู้สึกว่าตนเองกำลังถูกตัดสินว่าทำถูกหรือทำผิด ใช้คำที่ชัดเจนถูกต้อง จะช่วยสร้างขวัญกำลังใจ ประสบการณ์เชิงบวกให้กับผู้คลอดได้ดีกว่า
จิล วอลตัน ผู้อำนวยการ Royal College of Midwives กล่าวว่าแนวทางที่วางไว้เพื่อเป็นแนวปฏิบัติใหม่คือ “ให้ความสำคัญที่สุดกับทางเลือกของสตรีผู้คลอด โดยเฉพาะเมื่อเป็นเรื่องของการใช้คำพูดเพื่ออธิบายการเจ็บครรภ์คลอดและการคลอด ต้องให้สตรีผู้คลอดเป็นผู้กำหนดทิศทาง” (“puts women’s choices at its heart, so that they are in the driving seat when it comes to how their labour and birth are described”.)
คำที่สตรีผู้คลอดชาวอังกฤษเห็นเหมาะสมว่าควรใช้มากที่สุด คือคำว่า “การคลอดแบบที่เกิดขึ้นเองทางช่องคลอด” (spontaneous vaginal birth) มากกว่าจะใช้คำว่า “การคลอดแบบปกติ” “การคลอดธรรมชาติ” หรือ “การคลอดโดยไม่มีการให้ความช่วยเหลือ” (“normal birth”, “natural birth” or “unassisted birth”)
และคำที่สมควรจะต้องหลีกเลี่ยงที่สุด คือ คำว่า “ความผิดพลาด” “ไร้สมรรถภาพ” หรือ “ขาดความพยายามของมารดา” (“failure”, “incompetence” or “lack of maternal effort”)
การใช้คำศัพท์ทางการแพทย์ที่ฟังดูเย็นชาโหดร้ายและอาจก่อให้เกิดความคลุมเครือหรือความเข้าใจผิดแก่ผู้คลอด ก็เป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ควรจะต้องระมัดระวังในการใช้สื่อสารเช่นกัน เช่น คำว่า incompetent cervix (ภาวะปากมดลูกหลวม) เป็นต้น
อ่านรายละเอียดต่อได้ที่ https://www.bbc.com/news/health-61765667
สัมภาษณ์ “คลอดปลอดภัย” ในรายการวิทยุ Chula Radio
วันที่ 13 มิถุนายน 2565
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ศ. นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ หัวหน้าโครงการ Quali-Dec คลอดปลอดภัย ประเทศไทย ได้รับเชิญจากสถานวิทยุ Chula Radio ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับโครงการคลอดปลอดภัย และตอบข้อซักถามต่าง ๆ เกี่ยวกับการคลอด ในรายการ “สนทนาสถาบัน” ที่ออกอากาศสดไปทั่วประเทศ
ในการให้สัมภาษณ์ในครั้งนี้ ศ. นพ. ภิเศก ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของผลกระทบของการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็นที่มีสุขภาพองค์รวมของมารดาและทารก ตลอดจนผลกระทบที่มีต่อระบบสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ผู้สนใจสามารถรับฟังได้ผ่านช่องทาง YouTube ช่อง “คลอดปลอดภัย Safe Birth Thailand” ที่ได้รวบรวมวิดีโอกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับโครงการ Quali-Dec คลอดปลอดภัย ไว้ด้วยกันค่ะ
สถานการณ์และผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขจากการผ่าตัดคลอด
วันที่ 9 มิถุนายน 2565
เมื่วันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา ศ. นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ หัวหน้าโครงการ Quali-Dec ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการ การคลอดมาตรฐานผ่านสื่ออิเล็กโทรนิกส์ (ออนไลน์) ปีงบประมาณ 2565 [Reduction of Unnecessary Caesarean Section: a Better Way for Improving Labour Care] จัดโดยโรงพยาบาลราชวิถี โดยอาจารย์ได้บรรยายเรื่อง “สถานการณ์และผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข จากการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็น” เพื่อให้เห็นภาพรวมถึงผลกระทบในมุมมกว้างของการผ่าตัดคลอดที่ไม่ได้มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขได้
ผู้สนใจสามารถรับฟังการบรรยายนี้ และสื่อมัลติมีเดียอื่น ๆ ได้จาก YouTube ช่อง คลอดปลอดภัย Safe Birth Thailand ซึ่งจะมีการอัพเดทวีดีโอ รวมทั้งสื่อโชเชี่ยลมีเดียต่าง ๆ ทั้ง Facebook, Instagram, Twitter ช่อง “คลอดปลอดภัย” Safe Birth Thailand โดยทุกช่องทางจะมีการนำเสนอความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการคลอดอย่างสม่ำเสมอ
การคลอดปลอดภัย รายการวิทยุ ‘จิตอาสาชีวาศิลป์’
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 รายการวิทยุ ‘จิตอาสาชีวาศิลป์’ สถานีวิทยุ KKU Raido 103 MHZ ได้เรียนเชิญ ศ. นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ หัวหน้าโครงการ Quali-Dec ประเทศไทย ไปให้สัมภาษณ์ในรายการเกี่ยวกับเนื้อหาการคลอดอย่างปลอดภัย โดยสามารถรับฟังย้อนหลังได้จากคลิปด้านล่างนี้
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติ
บทความโดย : พญ. เยาวลักษณ์ รพีพัฒนา สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการคลอดธรรมชาติ รพ. สมิติเวช สุขุมวิท
ที่มา — ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 > https://www.thairath.co.th/lifestyle/mom-and-kids/2310117
• การคลอดธรรมชาติ (Natural birth) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า active birth เป็นการคลอดบุตรด้วยการเบ่งคลอดเองทางช่องคลอด อายุครรภ์ประมาณ 37 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 42 สัปดาห์
• คลอดแบบธรรมชาติเป็นการคลอดที่มีความปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูก ไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ หรือฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง โอกาสติดเชื้อในมดลูกน้อย และเสียเลือดน้อยกว่าการผ่าตัดคลอด
• หากการคลอดแบบธรรมชาติไม่สำเร็จ แพทย์จะทำการผ่าคลอดแบบฉุกเฉินให้กับคุณแม่ โดยจะดูจากปัจจัยจำเป็นต่างๆ ที่ทำให้ไม่สามารถคลอดแบบธรรมชาติได้การคลอดธรรมชาติคืออะไร มีข้อดีอย่างไร จะเจ็บอย่างที่คิดหรือไม่ มีอะไรที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ และจะต้องเตรียมให้พร้อมสำหรับการคลอดเองแบบธรรมชาติบ้าง
การทำความเข้าใจกับกระบวนการคลอดธรรมชาติในบทความนี้จะช่วยตอบคำถามสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ต้องการ “คลอดแบบธรรมชาติ” ได้
การคลอดธรรมชาติ และ กำหนดคลอด
การคลอดธรรมชาติ (Natural birth) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า active birth คือ การคลอดบุตรแบบปกติโดยคุณแม่จะทำการให้กำเนิดบุตรด้วยการเบ่งคลอดเองทางช่องคลอด โดยไม่ทำการผ่าตัด หลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลาของอายุครรภ์ประมาณ 37 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 42 สัปดาห์ โดยทารกจะอยู่ในท่ากลับศีรษะแล้วจะค่อยๆ เคลื่อนตัวมายังอุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมคลอดแบบธรรมชาติข้อดีของการคลอดธรรมชาติข้อดีของการคลอดแบบธรรมชาตินั้นส่งผลดีต่อทั้งตัวคุณแม่และลูก ดังนี้
• ความปลอดภัย — การคลอดแบบธรรมชาติเป็นวิธีการคลอดที่แพทย์มักแนะนำ เนื่องจากมีความปลอดภัยต่อทั้งตัวคุณแม่และลูกที่คลอดออกมา เพราะไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ หรือฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง มีโอกาสติดเชื้อในมดลูกน้อย และมีการเสียเลือดน้อยกว่าการคลอดแบบผ่าตัด
• แผลมีขนาดเล็ก — การคลอดธรรมชาติโดยเฉพาะการคลอดในท้องแรกนั้น ปากช่องคลอดจะมีความยืดหยุ่นไม่เยอะเท่าคนที่เคยคลอดมาแล้ว จึงทำให้มีแผลฝีเย็บเพื่อช่วยเปิดช่องทางคลอดให้ลูกน้อยคลอดออกมาได้ง่าย ซึ่งส่วนใหญ่แผลจะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 2-4 เซนติเมตรเท่านั้น (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสรีระของคุณแม่และขนาดของลูกน้อยด้วย)
• ฟื้นตัวได้รวดเร็ว — เนื่องจากมีแผลเย็บที่เล็กและไม่ได้ผ่านการดมยาสลบ ส่งผลให้คุณแม่มีอาการเจ็บไม่นาน จึงสามารถเคลื่อนไหว ลุก นั่ง เดินได้หลังการคลอด และใช้เวลาในการพักฟื้นไม่นาน คุณแม่ที่คลอดธรรมชาติจะมีเวลาอยู่กับลูกน้อยได้เร็วขึ้น และกลับบ้านได้เร็วอีกด้วย
• เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกได้ — โดยทารกได้ภูมิคุ้มกันจากเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดของมารดา และได้รับ Probiotic มากกว่าการผ่าคลอดทางหน้าท้อง จึงเป็นเหมือนการเสริมสร้างภูมิของทารกในครรภ์ที่เมื่อคลอดแล้วก็จะมีภูมิอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยใดที่ส่งผลให้ไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้
หากมีสัญญาณหรือปัจจัยจำเป็นเหล่านี้ อาจทำให้แพทย์พิจารณาเปลี่ยนจากการคลอดธรรมชาติเป็นการผ่าตัดคลอด เช่น
• ภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งส่งผลถึงสุขภาพของคุณแม่และลูกในท้องจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
• รกเกาะต่ำ โดยอาจเกิดขึ้นได้ในคุณแม่ที่มีประวัติรกเกาะต่ำมาก่อน เคยผ่าตัดมดลูก หรือเคยผ่าตัดคลอดทารกตัวโต หรืออยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมต่อการคลอดแบบธรรมชาติ เช่น เด็กไม่กลับหัว
• คุณแม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้คลอดธรรมชาติไม่ได้
การคลอดธรรมชาติเจ็บหรือไม่ จำเป็นต้องบล็อกหลังหรือไม่
อาการเจ็บปวดระหว่างคลอดธรรมชาตินั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับการบีบตัวของมดลูก ท่าทางของทารกและความอดทนต่อความเจ็บของคุณแม่ ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการระงับความเจ็บระหว่างคลอดได้หลายวิธี เช่น การฉีดยาลดปวดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ การฉีดยาชาเข้าที่ฝีเย็บ หรือแม้กระทั่งการบล็อกหลังโดยวิสัญญีแพทย์ ซึ่งวิธีการบล็อกหลังนี้จะช่วยลดความเจ็บได้ตั้งแต่ระยะรอคลอด ไปจนถึงการตัดฝีเย็บเลยทีเดียว
ท้องแรกผ่าคลอด ท้องสองคลอดธรรมชาติเองได้หรือไม่
หากท้องแรกทำการผ่าคลอด คุณแม่สามารถคลอดธรรมชาติเองได้ในท้องที่สอง ด้วยวิธีการที่เรียกว่า VBAC (Vaginal Birth After Cesarean) เหมาะสำหรับคุณแม่ที่วางแผนจะมีลูกหลายคน ต้องการลดความเสี่ยงต่างๆ เช่น การรับยา การติดเชื้อ การตกเลือด เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะช่วยประเมินความเสี่ยงต่างๆ เช่น ประเมินขนาดตัวของทารกในครรภ์ สุขภาพของคุณแม่และทารกแข็งแรงหรือไม่ และประเมินปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ คุณแม่จึงควรฝากครรภ์กับแพทย์ผู้ชำนาญการ ที่จะสามารถให้คำแนะนำได้ว่าควรทำตามขั้นตอนอย่างไรจึงจะปลอดภัย
การคลอดธรรมชาติ กี่วันแผลหาย แล้วส่งผลกับการให้นมลูกหรือไม่
โดยทั่วไปแล้ว อาการปวดแผลจะน้อยลงหลังจากคลอดแล้วประมาณ 3 – 4 วัน และอาการปวดจะหายไปภายเวลา 1 สัปดาห์หลังคลอด และไม่ส่งผลกับการให้นมลูก เนื่องจากหลังทำการคลอดคุณแม่สามารถให้นมลูกเองได้เนื่องจากแผลไม่ใหญ่เท่ากับการผ่าคลอด ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นการผลิตน้ำนมที่ดี
การเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ
• ศึกษาข้อมูล เกี่ยวกับการคลอดแบบธรรมชาติถึงข้อควรรู้ วิธีการปฏิบัติตัว และการดูแลตนเอง รวมถึงลูกน้อย ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่คลายกังวลใจและสามารถใช้เป็นตัวช่วยในการดูแลลูกได้อีกด้วย
• เตรียมสมุดฝากครรภ์ ที่มีการบันทึกระหว่างฝากครรภ์ ไปเพื่อให้แพทย์ที่ดูแลทราบถึงประวัติต่างๆ ได้โดยไม่ต้องคอยซักถามใหม่
• เตรียมของใช้ที่จำเป็นหลังคลอด โดยจะต้องเตรียมให้ทั้งคุณพ่อ คุณแม่ และลูกน้อยที่กำลังจะเกิดมา
• รู้ถึงสัญญาณเตือนต่างๆ เช่น มีมูกปนเลือดออกทางช่องคลอด มีน้ำไหลโชกออกมาทางช่องคลอด อาการเจ็บท้องจริง เจ็บท้องลวงต่างกันอย่างไร เป็นต้น
ขนาดของปากมดลูกที่เปิด และเวลาที่ใช้ในการคลอดธรรมชาติสำหรับการคลอดธรรมชาติในท้องแรก ปากมดลูกจะเปิดประมาณ 1.2 เซนติเมตร/ชั่วโมง โดยปากมดลูกจะเปิดทั้งหมดในระยะเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ส่วนในท้องที่สอง ปากมดลูกจะเปิดประมาณ 1.5 เซนติเมตร/ชั่วโมง โดยปากมดลูกจะเปิดทั้งหมดในระยะเวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง และเมื่อปากมดลูกเปิดถึง 10 เซนติเมตร เท่ากับความกว้างของศีรษะเด็ก คุณแม่จะเกิดความรู้สึกอยากเบ่ง โดยระยะเบ่งนี้โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที ลูกน้อยถึงจะออกมาลืมตาดูโลก
การผ่าคลอดแบบฉุกเฉิน
เมื่อไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้หากทำการคลอดแบบธรรมชาติไม่สำเร็จ แพทย์จะทำการผ่าคลอดแบบฉุกเฉินให้กับคุณแม่ โดยจะดูจากปัจจัยจำเป็นต่างๆ ที่ทำให้ไม่สามารถคลอดแบบธรรมชาติได้ เช่น
• อัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติของลูกทำให้ไม่สามารถคลอดด้วยวิธีการธรรมชาติได้
• ปากมดลูกเปิดออกช้าหรือไม่ยอมเปิด
• กระดูกเชิงกรานเล็กเกินไปจนทารกไม่สามารถผ่านออกมาได้
• คุณแม่ตั้งครรภ์ลูกแฝด หรือแฝดสามที่ทำให้คลอดแบบธรรมชาติได้ยาก
• มีอาการเจ็บครรภ์คลอดนานกว่าปกติ
• ทารกอยู่ในท่าที่ผิดปกติ เช่น เอาเท้าลงมาทางปากช่องคลอด
• รกเริ่มหลุดออกจากผนังมดลูกและมีความเสี่ยงต่อการตกเลือดภายใน
การดูแลตัวเองหลังคลอดธรรมชาติ — จำนวนวันที่ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล
หากพบว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อน คุณแม่จะพักฟื้นหลังคลอดที่โรงพยาบาล 2 วัน โดยตลอด 2 วันนี้ แพทย์และพยาบาลจะดูแลคุณแม่และลูกน้อย โดยการตรวจสอบอาการผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น คอยสังเกตเลือดที่ออก สัญญาณชีพ การแข็งตัวของมดลูก การประเมินน้ำนม ภาวะเหลือง ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นต้น
อยากให้นมลูกหลังคลอดธรรมชาติทำได้หรือไม่
หลังจากคลอดเสร็จแล้ว คุณแม่สามารถให้นมลูกได้ทันที โดยนำลูกเข้าเต้าบ่อยๆ ทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อเป็นการกระตุ้นน้ำนม และจะช่วยทำให้คุณแม่ที่มีปัญหาผลิตน้ำนมได้ช้า สามารถผลิตน้ำนมได้ดีขึ้นอีกด้วย
หลังคลอดจะเริ่มใช้ชีวิตปกติได้เมื่อไหร่ — คลอดธรรมชาติ มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน
เพื่อเป็นการรักษาแผลที่ฝีเย็บ และป้องกันการติดเชื้อในโพรงมดลูก ควรงดการมีเพศสัมพันธ์จนกระทั่งกลับมาตรวจสุขภาพในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด เนื่องจากในช่วงแรกหลังคลอดคุณแม่บางคนอาจมีน้ำคาวปลาไหลอยู่ ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อในช่องคลอดและโพรงมดลูกได้ง่ายกว่าปกติ รวมถึงเพื่อรอให้ปากมดลูกปิด เลือดหยุดไหล และแผลฉีกขาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการคลอดนั้นฟื้นฟูและหายดีเสียก่อน
หลังคลอดกี่เดือนออกกําลังกายได้
คุณแม่ที่ทำการคลอดแบบธรรมชาติสามารถออกกำลังกายได้หลังจากคลอดบุตรไปแล้วประมาณ 6 สัปดาห์ โดยให้เริ่มจากการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การยืดกล้ามเนื้อ โยคะ การเดิน ส่วนการออกกำลังกายที่หนักขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ที่ดูแล เนื่องจากร่างกายของคุณแม่แต่ละคนต้องการพักฟื้นในระยะเวลาที่แตกต่างกันไปหลังคลอดกี่วันถึงเดินได้หลังจากคลอดธรรมชาติแล้ว ไม่มีการห้ามไม่ให้คุณแม่เคลื่อนไหว โดยคุณแม่สามารถลุกขึ้นเดินไปเข้าห้องน้ำเองได้ แต่อาจจะระวังการก้าวขาที่มากเกินไป เพราะอาจทำให้ฝีเย็บที่ยังไม่หายดีปริออกจนต้องเย็บใหม่ได้ ดังนั้น แนะนำให้เดินแบบแยกขาออกจากกันเล็กน้อยประมาณ 7 วัน หลังจากนั้นแผลก็จะค่อยๆ หายเอง และสามารถกลับมาเดินในท่าปกติได้คลอดธรรมชาติ
พุงไม่ยุบ ทำอย่างไรดี
สำหรับคุณแม่ที่ทำการคลอดธรรมชาติแล้วเจอกับปัญหาพุงไม่ยุบ แนะนำให้ทำดังนี้
• บริหารร่างกายแนะนำให้ทำการแขม่วหน้าท้องเป็นประจำและต่อเนื่อง โดยการนอนหงายชันเข่าแขม่วท้อง ให้ทำครั้งละ 10-15 นาที โดยคุณแม่ที่คลอดแบบธรรมชาติสามารถทำได้ทันทีหลังคลอดในสัปดาห์แรก
• ควบคุมการรับประทานอาหารหากต้องการให้หน้าท้องยุบไว แนะนำให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมาก หรือคาร์โบไฮเดรตเกินความต้องการของร่างกาย เพราะอาหารเหล่านี้จะสะสมที่หน้าท้องและทำให้พุงยุบยาก
• ดื่มน้ำมากๆแนะนำให้คุณแม่ดื่มน้ำให้มากๆ เนื่องจากน้ำจะช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายและระบบไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้นได้
• ให้ลูกดูดนมจากเต้าการให้ลูกดูดนมจากเต้าจะเป็นการช่วยเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ทำให้หน้าท้องยุบลงและช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น จากการวิจัยพบว่า การให้นมลูกสามารถช่วยเผาผลาญพลังงานในร่างกายได้ถึง 500-800 กิโลแคลอรีต่อวัน หากให้นมลูกอย่างต่อเนื่อง 4-6 เดือน ก็จะช่วยลดขนาดส่วนเกินของสะโพก หน้าท้อง ต้นแขน ต้นขาได้เป็นอย่างดี และช่วยให้น้ำหนักกลับมาปกติได้เร็วขึ้น
คลอดธรรมชาติ ทำให้ช่องคลอดหลวมหรือไม่
หลังการคลอดธรรมชาติแล้ว ปากมดลูกจะกลับคืนสู่สภาพปกติภายใน 1 สัปดาห์ ส่วนช่องคลอดอาจจะกลับสู่สภาพปกติได้ไม่ดีนักถ้าหากขาดการออกกำลังกล้ามเนื้อบริเวณนี้ ดังนั้น คุณแม่จึงควรฝึกขมิบบ่อยๆ เพื่อเพิ่มความกระชับของบริเวณช่องคลอดให้กลับมาเหมือนเดิม และป้องกันภาวะช่องคลอดหลวมหลังคลอด
ควรรับประทาน / ห้ามรับประทานอะไรหลังจากการคลอดแล้ว
คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย รสไม่จัด รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ ตับ นม ไข่ ผักและผลไม้สด ที่จะช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอจากการคลอด และเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เพื่อป้องกันอาการท้องผูก เนื่องจากในช่วงหลังคลอดระยะแรกๆ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกยังออกฤทธิ์อยู่ รวมถึงตัวคุณแม่เองอาจไม่อยากเบ่งอุจจาระเพราะกลัวเจ็บแผล ก็ยิ่งทำให้มีโอกาสท้องผูกมากขึ้น ส่วนอาหารรสจัดก็ควรงดไปก่อน เพราะอาจทำให้คุณแม่ท้องเสียได้ง่าย
นอกจากนี้คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารปรุงไม่สุก อาหารหมักดอง และเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ ด้านการรับประทานยาหรือเครื่องดื่มสมุนไพรต่างๆ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เพราะสมุนไพรบางชนิด เช่น ไพล มีฤทธิ์ทำให้มดลูกคลายตัว ซึ่งอาจทำให้คุณแม่ตกเลือดได้ จึงควรเลี่ยงการใช้ยาและอาหารบางชนิด ส่วนน้ำเย็นสามารถดื่มได้ตามปกติ เนื่องจากไม่ได้มีข้อห้ามทางการแพทย์แต่อย่างใด
ทำไมต้องมาพบแพทย์หลังคลอด ตามนัดหมาย
คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการมาพบแพทย์หลังคลอดตามเวลานัดหมาย เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม เช่น ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือให้แพทย์ได้สอบถามความผิดปกติอื่นๆ เพื่อประเมินว่า ฮอร์โมนของคุณแม่มีความผิดปกติหรือไม่ รวมถึงเพื่อให้ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการดูแลตัวเองและบุตรได้มากขึ้นด้วย ดังนั้น จึงควรฝากครรภ์กับทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูตินรีเวช พร้อมทั้งมองหา โปรแกรมคลอด ที่จะช่วยให้มั่นใจได้ว่า จะได้รับการดูแลตั้งแต่เริ่มต้นตั้งครรภ์ไปจนถึงการตรวจสอบหลังการคลอดแบบธรรมชาติอย่างดีที่สุด
สำหรับการคลอดธรรมชาติเป็นเรื่องสำคัญต่อทั้งตัวคุณแม่และลูกน้อย จึงควรเลือกสถานพยาบาลที่ใกล้บ้านและน่าเชื่อถือตามหลักมาตรฐานสากล เพื่อให้พร้อมฝากครรภ์และช่วยดูแล ติดตาม และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตน รวมถึงสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างใกล้ชิด
“วิธีคลอดแบบไหนปลอดภัย ในสถานการณ์โควิด คลอดเองปลอดภัยหรือผ่าคลอดน่าจะดีกว่า“
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2564
การเสวนา Clubhouse เรื่อง “วิธีคลอดแบบไหนปลอดภัย ในสถานการณ์โควิด คลอดเองปลอดภัย? หรือผ่าคลอดน่าจะดีกว่า?” จัดโดยมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) วันที่ 11 พฤศจิกายน 2564
ราชวิทยาลัยสูติฯ ระบุผ่าตัดคลอดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เพิ่มความเสี่ยงจากการคลอด
วันที่ 24 สิงหาคม 2562
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ประกาศจุดยืน เรื่องการผ่าตัดคลอด ระบุการผาตัดคลอดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เป็นการกระทำที่ไม่เป็นตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม และประชาชนควรทราบว่าการผ่าตัดคลอดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เพิ่มความเสี่ยงจากการคลอดหลายอย่าง และมีความรุนแรงหลายระดับทั้งต่อมารดาและทารก มากกว่าการคลอดทางช่องคลอด อ่านต่อที่นี่
รายการนโยบายประชาชน ตอน นโยบายลดการผ่าคลอดโดยไม่จำเป็น
ในวันที่ 22 มกราคม 2561 รายการนโยบายประชาชน ช่องไทยพีบีเอส ได้นำเสนอนโยบายการลดการผ่าคลอดโดยไม่จำเป็น โดยได้เรียนเชิญให้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิเศก ลุมพิกานนท์ เข้าร่วมเป็นผู้นำเสนอนโยบายนี้ต่อสาธารณชน
การผ่าท้องคลอดไม่ใช่คำตอบสุดท้าย
“ในภาวะปกติที่ไม่มีข้อบ่งชี้ การผ่าท้องคลอดถือว่ามีอันตรายทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อทั้งแม่และลูกสูงกว่าการคลอดปกติผ่านช่องคลอด”
ศ. นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์
ไขปมความรู้และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการผ่าตัดคลอด บทสัมภาษณ์ของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิเศก ลุมพิกานนท์ เรื่องผลกระทบจากการผ่าตัดคลอดที่ไม่มีความจำเป็น จากเว็บไซต์ the 101.world สามารถ อ่านได้ที่นี่
ราชวิทยาลัยสูติฯ เตือนแม่ตั้งครรภ์อย่าหลงเชื่อ ‘ผ่าคลอด’ เหตุไม่มีความจำเป็น (ข่าวมติชนออนไลน์)
วันที่ 26 กรกฎาคม 2560
รศ.นพ.เอกชัย โควาวิสารัช นายแพทย์ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรม สาขาสูตินรีเวชกรรม กลุ่มงานสูตินรีเวชศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี และประธานอนุกรรมการกิจการพิเศษ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันหญิงตั้งครรภ์นิยมผ่าท้องทำคลอด เห็นได้จากปัญหาอัตราการผ่าท้องทำคลอดที่พุ่งสูงเฉลี่ยในโรงพยาบาลรัฐประมาณร้อยละ 35-40 ของการคลอดทั้งหมด ส่วนโรงพยาบาลเอกชนประมาณร้อยละ 70-80 ของการคลอดทั้งหมด องค์กรอนามัยโลกได้กำหนดอัตราผ่าท้องทำคลอดที่เหมาะสมไว้ที่ร้อยละ 15 ของการคลอดทั้งหมด ดังนั้น หากอัตราผ่าท้องทำคลอดที่มากกว่าองค์การอนามัยโลกกำหนดย่อมไม่ได้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น อ่านต่อที่นี่
เลิกเหอะ! ค่านิยมเสี่ยงๆ “ผ่าคลอดตามฤกษ์” แพทย์คอนเฟิร์ม “คลอดเอง” ดีที่สุด (ข่าว MRG Online)
9 เม.ย. 2562
‘ผ่าคลอดโดยไม่จำเป็น’ เรื่องใหญ่ใต้คมมีดหมอ ถูกยกมาเป็นประเด็นที่ควรระวังสำหรับบรรดาแม่ๆโดยทันที เมื่อไทยมีอัตราการผ่าท้องคลอดสูงมากประมาณร้อยละ 35-40 หรือ 1 ใน 3 ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด และสูงเป็นอันดับ 2 ของเอเชียรองจากประเทศจีน อ่านต่อที่นี่
“ปกติแล้ว ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนอะไรเราก็มักจะแนะนำคนไข้คลอดธรรมชาติ เพราะเราเชื่อว่าการคลอดธรรมชาติให้แผลเล็กกว่า เสียเลือดน้อยกว่า ค่าใช้จ่ายก็ต่ำกว่า ฟื้นตัวก็เร็วกว่า อาการเจ็บแผลหลังจากคลอด ก็เจ็บน้อยกว่า โดยทั่วไปการคลอดธรรมชาติ เรียกว่าแทบจะดีต่อคุณแม่ในทุก ๆ กรณี […] ถ้าเทียบการที่หมอช่วยคลอดทางช่องคลอด กับการผ่า ผ่าคลอดยากกว่าสำหรับหมอนะครับ หมอเรียนตรง ๆ เลย ทุกครั้งที่ช่วยคนไข้คลอดทางช่องคลอด หมอแทบจะไม่ทำอะไรเลยครับ ธรรมชาติมันคลอดอยู่แล้ว เราแค่ดูความปลอดภัย ยังไงการเบ่งก็พาลูกออกมาอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นไม่ต้องให้รักษาอะไรเลย แต่ผ่าคลอดมันอันตรายกว่า ต้องผ่าไปตรงแนวที่ถูกต้อง ต้องไม่ไปโดนเส้นเลือด ไปโดนอวัยวะสำคัญ ”
นพ.พูนศักดิ์ สุชนวณิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติ-นรีเวช
การผ่าตัดคลอดโดยไม่จําเป็น อาจเสี่ยงต่ออันตราย (ข่าวผู้จัดการออนไลน์)
27 ก.ย. 2562
ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการผ่าตัดคลอดได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่นั้นเป็นการผ่าตัดคลอดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่เหมาะสมซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยทั้งด้านคุณแม่และคุณหมอ เช่น ความเข้าใจผิดและความกลัวเกี่ยวกับการคลอดตามธรรมชาติ ความเชื่อถือเรื่องโชคลางและฤกษ์ยามในการเกิดของลูก ความสะดวกสบายในเรื่องการจัดการเวลา เป็นต้น
ถึงแม้การผ่าตัดคลอดอาจจะดูเหมือนเป็นทางเลือกที่อาจจะตอบโจทย์ของคุณแม่บางส่วนได้ แต่การผ่าตัดคลอดนั้น สามารถส่งผลเสียต่างๆ ต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยได้มากกว่าที่หลายคนคิดอย่างมากมาย อ่านต่อที่นี่
“ปัญหาความเชื่อและความเข้าใจผิดต่าง ๆ ควรต้องได้รับการแก้ไข ควรมีการให้ความรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เกี่ยวกับวิธีการคลอดที่เหมาะสม โดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและอยากให้ว่าที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อย่าเพิ่งวิตกกับวิธีการคลอดไปก่อนล่วงหน้า สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องทำ คือฝากท้องกับสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานไปพบแพทย์ตามนัดทุดครั้งเพื่อติดตามพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์”
รศ.ดร.นพ.ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ศิริราชพยาบาล
QUALI-DEC Portfolio
การจัดอบรมโครงการ QUALI-DEC นี้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้นำทางความคิด (opinion leaders) และผู้เก็บข้อมูล (data collectors) ได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการวิจัยนี้ โดยมีเนื้อหาต่าง ๆ ที่ได้จัดเตรียมไว้ในแฟ้มสะสมงานเพื่อการอบรมครั้งนี้
ถ้าท่านเป็นหนึ่งในผู้ได้เข้าร่วมในการอบรมครั้งนี้ ท่านสามารถเข้าถึงแฟ้มสะสมงานได้ ที่นี่
การสร้างพลังให้กับสตรีและการเลือกผ่าคลอดสำหรับการตั้งครรภ์เดี่ยว: การศึกษาข้อมูลประชากรและพหุตัวแปรในประเทศเวียดนาม
8 กุมภาพันธ์ 2564
ประเทศเวียดนามเป็นประเทศหนึ่งที่มีสถิติการผ่าคลอดเพิ่มขึ้นระหว่างปี 2533 – 2558 สูงที่สุดในโลก และยังเป็นประเทศที่มีการให้อิสระกับสตรีเพิ่มมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาด้วย ทีมวิจัยเวียดนาม-ฝรั่งเศสพบว่ามีความเกี่ยวข้องกันระหว่างการสร้างพลังให้กับสตรีและการเลือกการวางแผนผ่าคลอดก่อนครบกำหนดคลอด ในงานวิจัยชิ้นนี้ผู้เขียนได้วิเคราะห์ถึงเหตุผลที่เกี่ยวข้องกันระหว่างสองประเด็นนี้ เหตุผลหนึ่งที่สำคัญคือการขาดองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับอันตรายจากการผ่าคลอด ผู้สนใจสามารถคลิก ที่นี่ เพื่อดาวน์โหลดบทความวิจัย