ในฐานะบุคลากรทางการแพทย์ เราจะเลือกการดูแลที่ดีที่สุดให้ผู้คลอดอย่างไร
โครงการ QUALI-DEC เกิดขึ้นมาจากความต้องการของแพทย์และนักวิจัยที่จะให้การดูแลแบบมืออาชีพ ด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยให้ผู้คลอดได้ตัดสินใจได้อย่างดีที่สุดเรื่องการคลอด
หลังจากที่ได้ศึกษาผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ทั่วโลกมากมายหลายชิ้น โครงการ QUALI-DEC ได้ศึกษาถึงข้อดีและข้อเสียของการคลอดที่มีการวางแผนไว้แล้วทั้งสองรูปแบบก่อนถึงวันคลอดจริง คือจะโดยวิธีการพยายามคลอดทางช่องคลอดหรือการวางแผนผ่าตัดคลอดราวสัปดาห์ที่ 39 ของการตั้งครรภ์ แม้ว่าการผ่าคลอดในปัจจุบันนี้จะเป็นการผ่าตัดที่ไม่ได้มีความเสี่ยงสำคัญ แต่ก็ยังมีอาการและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดคลอดอยู่ดี
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในเชิงลึก ให้อ่านเพิ่มเติมได้ที่เอกสารภาษาอังกฤษชื่อ “Benefits and Risks / Inconveniences of Planned Vaginal Birth versus Planned Caesarean: Evidence update report for QUALI-DEC Booklet Table (Torloni 2020)” โดยดาวน์โหลดได้จากปุ่มข้างล่างนี้
ช่วยผู้คลอดเลือกวิธีการคลอดการให้คำแนะนำที่เหมาะสมที่เหมาะสม
โครงการ QUALI-DEC เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้คลอดมีกระบวนการตัดสินใจและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการคลอดที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการคลอดทางช่องคลอดหรือการผ่าตัดคลอด โดยโครงการนี้ได้สร้างเครื่องมือเพื่อช่วยในกระบวนการตั้งสินใจนี้ เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์ ญาติสนิทของสตรีตั้งครรภ์ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ ได้ใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นนี้ในการช่วยตัดสินใจเลือกวิธีการคลอดที่เหมาะสม โดยเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยนำไปสู่การตั้งคำถามและการหารือกันระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้คลอดก่อนจะถึงกำหนดคลอด และเครื่องมือดังกล่าวยังสร้างขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของการคลอดในแต่ละรูปแบบต่อสตรีตั้งครรภ์อีกด้วย
คู่มือสำหรับสตรีตั้งครรภ์ ที่สามารถดาวน์โหลดไปอ่านได้ ที่นี่ สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก การคลอดอาจจะเป็นเรื่องที่น่ากังวลเนื่องจากยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน จึงอาจจะยังเกิดความลังเลสงสัยบางประการ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์จะมีบทบาทอย่างยิ่งในการสร้างความเชื่อมั่นและส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมให้คุณแม่เหล่านี้ได้ใช้ในการพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับการคลอดของตนเอง
คู่มือนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยกัน คือ (1) ส่วนข้อมูล ในส่วนนี้จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของการคลอดแต่ละรูปแบบ ทั้งการคลอดทางช่องคลอดและการผ่าตัดคลอด และในส่วนที่ (2) แรงจูงใจ ในส่วนนี้จะเป็นแบบทดสอบและเปิดโอกาสให้คุณแม่ได้ทบทวนตัวเองถึงความต้องการในการคลอดของตนเองผ่านคำถามที่เป็นแนวทางการตัดสินใจ
โครงการขอให้บุคลากรทางการแพทย์ช่วยแนะนำการใช้คู่มือนี้แก่สตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะการฝากครรภ์ และการนัดตรวจครรภ์ในแต่ละครั้ง โดยสตรีตั้งครรภ์สามารถนำคู่มือกลับไปอ่านและแบ่งปันให้กับญาติพี่น้องของตนได้อ่านเพื่อสร้างความเข้าใจ หรืออาจจะดาวน์โหลดผ่านทางเว็บไซต์ “คลอดปลอดภัย” นี้ ดาวน์โหลดคู่มือ หรือจะใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่นมือถือที่ชื่อว่า “QUALI-DEC” ก็ได้เช่นเดียวกัน โดยในปัจจุบันสามารถเลือกอ่านภาษาได้ถึงสี่ภาษา คือ อังกฤษ ไทย ฝรั่งเศส และ เวียดนาม
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ได้ที่หน้า ‘เอกสารที่เกี่ยวข้อง‘ และหากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้จากโครงการ QUALI-DECประจำประเทศไทยผ่านทาง ‘ติดต่อเรา‘
ทบทวนข้อบ่งชี้เรื่องการผ่าตัดคลอด
จะวิเคราะห์ข้อบ่งชี้ได้อย่างไร
หากว่าท่านเป็นแพทย์หรือผดุงครรภ์ และกำลังเกิดข้อสงสัยว่าว่าการผ่าตัดคลอดที่โรงพยาบาลหรือสถาบันสุขภาพของท่านเป็นไปตามแนวทางที่เหมาะสมหรือไม่ อัตราการผ่าตัดคลอดที่ทำงานของท่านแปรผันตามลักษณะของผู้ป่วย (สตรีตั้งครรภ์) หรือไม่ และการผ่าตัดคลอดนั้นได้กระทำโดยสอดคล้องกับแนวปฏิบัติแล้วหรือไม่
เปรียบเทียบอัตราการผ่าตัดคลอด
องค์การอนามัยโลกกำลังพัฒนาฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อบันทึกข้อมูลอัตราการผ่าคลอดของโรงพยาบาลแต่ละโรงพยาบาลทั่วโลก เพื่อสร้างฐานข้อมูลระดับโลก หากท่านต้องการทราบอัตราการผ่าคลอดของโรงพยาบาลเพื่อเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลอื่น ๆ ทั่วโลก ลิงค์เพื่อเข้าดูฐานข้อมูลดังกล่าวจะนำมาแจ้งไว้ที่หน้าเว็บไซต์นี้ในอีกไม่ช้า
เครื่องมือ “ตรวจสอบและให้ผลสะท้อนกลับ”(Audit & Feedback)
การตรวจสอบและการให้ผลสะท้อนกลับเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะทำโดยทีมงานตรวจสอบ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมในการผ่าตัดคลอดแต่ละครั้ง โดยการที่มีกรรมการตรวจสอบนี้ จะทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความแม่นยำเหมาะสมมากขึ้น เพราะต้องทำงานร่วมกันกับคณะทำงานในแผนกของตน
วัตถุประสงค์ของการมีกระบวนการตรวจสอบและให้ผลสะท้อนกลับนี้ ก็เพื่อให้เพื่อนร่วมงานที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ของท่าน ได้ช่วยตรวจสอบอย่างมีหลักเกณฑ์ผ่านแนวทางการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสม (care protocols) เพื่อที่ท่านจะสามารถตัดสินใจเลือกรูปแบบการคลอดที่เหมาะสมกับสตรีตั้งครรภ์ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการคลอดทางช่องคลอดหรือการผ่าตัดคลอด โดยทั้งหมดทั้งมวลจะขึ้นอยู่กับสุขภาพและความปลอดภัยของแม่และทารกเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
การตรวจสอบเรื่องข้อบ่งชี้ของการผ่าตัดคลอดนี้ มีอยู่ด้วยกัน 5 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
- ข้อบ่งชี้กรณีผ่าตัดคลอดในกลุ่มสตรีที่มีความเสี่ยงต่ำ (กลุ่ม 1-4 ตามเกณฑ์ของ Robson’s classification) ซึ่งสภาพการณ์เหมาะแก่การคลอดทางช่องคลอด
- แหล่งข้อมูลทางการแพทย์ผ่านทางกรณีศึกษาที่ได้คัดเลือกมาแล้ว
- การวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเหมาะสมของข้อบ่งชี้ในการตัดสินใจผ่าตัดคลอด ที่ปรากฏอยู่ในแนวเวชปฏิบัติ
- ข้อแนะนำในการหลีกเลี่ยงการผ่าตัดคลอด ในกรณีที่ไม่ได้มีสถานการณ์จำเป็น หรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
- การประเมินการปฏิบัติงาน ผ่านทางการให้คำแนะนำ
เพื่อช่วยทบทวนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในฐานะบุคลากรทางการแพทย์ โครงการ Quali-Dec จึงได้นำเอาแนวปฏิบัติที่เสนอโดยองค์การอนามัยโลกมาให้ไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน โดยท่านสามารถดาวน์โหลดได้จากปุ่มด้านล่างนี้ แนวปฏิบัตินี้มีเรื่องเกี่ยวกับรูปแบบ algorithms การฟังจังหวะการเต้นของเสียงหัวใจทารก การบีบตัวของมดลูก ซึ่งจะเป็นแนวทางที่บุคลากรทางการแพทย์จะใช้เป็นเกณฑ์ในตัดสินใจให้การผ่าตัดคลอดที่เหมาะสม
หลังจากการตรวจสอบแล้ว ควรมีการแจ้งให้ทีมบุคลากรทางการแพทย์ทั้งทีมได้ทราบผลการประเมินนี้ด้วย เพื่อให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงวิธีการให้บริการทางการแพทย์ที่ดีขึ้นต่อไปอย่างยั่งยืน