ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินการเรื่องเพื่อนผู้คลอด: วิจัยเชิงคุณภาพระยะก่อรูปในประเทศไทย



Factors influencing the implementation of labour companionship: formative qualitative research in Thailand
ตีพิมพ์ที่ BMJ Open Access ฉบับ May 2022 – Volume 12 – 5

บทนำ

องค์การอนามัยโลกมีข้อเสนอแนะว่าผู้หญิงทุกคนควรได้รับโอกาสให้มีทางเลือกที่จะมีเพื่อนช่วยคลอดตลอดระยะเวลาเจ็บครรภ์คลอดจนถึงเด็กคลอดออกมา ทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของการมีเพื่อนช่วยคลอดอย่างชัดเจน เช่น ประสบการณ์การคลอดที่ดี ลดอัตราการผ่าตัดคลอด แต่พบว่าการมีเพื่อนช่วยคลอดกลับไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย สำหรับประเทศไทยการมีเพื่อนช่วยคลอดยังไม่ถูกนำมาใช้กำหนดเป็นนโยบายสำหรับโรงพยาบาลในสัง กัดกระทรวงสาธารณสุข การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้เพื่อนช่วยคลอดในประเทศไทย

วิธีการ

การวิจัยเชิงคุณภาพระยะก่อรูปนี้เพื่อใช้ในการให้ข้อมูล สำหรับ“โครงการวิจัยการตัดสินใจของผู้หญิงและผู้ให้บริการสุขภาพอย่างมีคุณภาพต่อการใช้วิธีการผ่าตัดคลอด” (QUALI-DEC) study เพื่อนำมาใช้ออกแบบ การปรับวิธีการ และการลงปฏิบัติเพื่อให้การผ่าตัดคลอดมีประโยชน์สูงสุด การศึกษานี้ใช้การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การประเมินความพร้อม เพื่อทำความเข้าใจ การรับรู้ของผู้ให้บริการ ผู้หญิงและผู้ที่มีโอกาสเป็นเพื่อนช่วยคลอดเกี่ยวกับการมีเพื่อนช่วยคลอดจากโรงพยาบาลของรัฐ แปดโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ประเด็น และการพรรณนาวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำใช้เพื่อนช่วยคลอดตามกรอบ ความสามารถ โอกาส แรงจูงใจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (COM-B)

ข้อค้นพบ

ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ได้มาจากการสัมภาษณ์จำนวน 127 คน และจากแบบประเมินความพร้อมจากแปดโรงพยาบาล ข้อค้นพบจากงานวิจัยเชิงคุณภาพแบ่งออกได้เป็นสี่ประเด็น ดังนี้ ประโยชน์การมีเพื่อนช่วยคลอด บทบาทเพื่อนช่วยคลอด การฝึกอบรมเพื่อนช่วยคลอดและปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติ ข้อค้นพบแสดงให้เห็นว่า ผู้ให้บริการทางการแพทย์ผู้หญิงและญาติของพวกเธอ มีทัศนคติทางบวกต่อการมีเพื่อนช่วยคลอดข้อมูลจากการประเมินความพร้อมและข้อมูลเชิงคุณภาพมีความสอดคล้องกันที่แสดงให้เห็นความท้าทายในการให้มีเพื่อนช่วยคลอดได้ คือ การฝึกอบรมเพื่อนช่วยคลอด ข้อจำกัดพื้นที่ทางกายภาพ ความแออัด และนโยบายของโรงพยาบาล

การอภิปรายผล

หากเพื่อนช่วยคลอดได้รับการฝึกอบรมอย่างดีเกี่ยวกับ วิธีการสนับสนุนให้กำลังใจผู้หญิง การช่วยลดความปวด และการติดต่อกับผู้ให้บริการ เป็นกิจกรรมที่สามารถนำใช้เพื่อนช่วยคลอดสำหรับโรงพยาบาลในประเทศไทยได้ แต่อุปสรรคในการนำใช้เพื่อนช่วยคลอดจะต้องคำนึงถึงโอกาสที่จะเพิ่มการประสบความสำเร็จที่มีความสัมพันธ์กับการอบรมและพื้นที่ทางกายภาพ ข้อค้นพบนี้ได้ถูกนำเสนอในยุทธศาสตร์ของโครงการ QUALI-DEC

สามารถดาวน์โหลดงานวิจัยฉบับ PDF ได้ที่นี่

อ่านงานวิจัยได้จากเว็บไซต์ BMJ OPEN ได้ที่นี่